การศึกษาโอกาสทางการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านโพนสวาง ตำบลนามะเขือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สุพิชญา บุญเสริม บ้านหนองผ้าอ้อม ตำบลหนองแวง อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

โอกาสทางการตลาด, ผลิตภัฑณ์ผ้าไหม, กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านโพนสวาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบริบทและโอกาสทางการตลาดของกลุ่มสตรีทอผ้าไหมและกลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านโพนสวาง ตำบลนามะเขือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านโพนสวาง มีจํานวน 107 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-50 ปีจบการศึกษาระดับประถมศึกษามีประสบการณ์ในการทอผ้า 11 - 15 ปี และมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท โอกาสทางการตลาดของกลุ่มคือ 1. รัฐบาลปลุกกระแสนิยมไทยและส่งเสริมการใช้ผ้าไทยทั่วประเทศไทย 2. จังหวัดกาฬสินธุ์มีนโยบายเรื่องนำผ้าไหมภูมิปัญญาชาวบ้านเข้าสู่ตลาด 3. กิจกรรมที่จัดถวายเพื่อเทิดพระเกียรติในหลวงและพระราชวงศ์ 4.นโยบายการรณรงค์ให้ประชาชนนิยมแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมืองของภาครัฐ เช่น ภาครัฐต้องเสริมสภาพคล่องทางการลงทุนให้ผู้ผลิตผ้าไหมเพื่อเสริมความแข็งแกร่งรองรับการส่งออกผ้าไหมที่ผลิตออกจำหน่ายในปัจจุบันมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของผู้ซื้อและควรผลักดันผ้าไหมของกลุ่มเข้าระบบบริหารจัดการสินค้าหม่อนไหมสู่เกษตรควรออกแบบรูปแบบและสีสันลวดลายของผ้าไหมให้ทันสมัยตรงตามรสนิยมของผู้ซื้อ และมีเทคโนโลยีใหม่ๆ แก่ผู้ผลิตผ้าไหม เพื่อให้สอดคล้องกับความนิยมของตลาด

Downloads

References

กมลลักษณ์ ชิ้นทอง, ณภัสวรรณ ศาลางาม, และ สิริวิมล ภาสุวรรณ. (2567). การต่อยอดและพัฒนาผ้าไหมของกลุ่มทอผ้าไหม บ้านป่ายาว ตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น, 3(1), 11–26. https://doi.org/10.14456/ajld.2024.2

จงกล ผิวดำ. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของข้าราชการ กรณีศึกษา: อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ธนพล คล้ายรักษ์. (2551). พฤติกรรมและการตัดสินใจเลือกซื้อผ้าไหมของผู้บริโภค ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

ธีรพงษ์ วสันตดิลก. (2546). รูปแบบการพัฒนาตลาดผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ไหมจังหวัดบุรีรัมย์. [วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

วัชระ ยี่สุ่นเทศ และ ชนิกานต์ พนมอุปถัมภ์. (2563). โอกาสทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ป่านศรนารายณ์. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 22(1), 63-76.

วัฒนะ จูฑะวิภาต. (2555). ผ้าทอกับชีวิตคนไทย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิภาวี สีลากุล และ รุ่งนภา กิตติลาภ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของกลุ่มผู้ทอผ้าไหมมัดหมี่ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 16(2), 13–22.

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2561). รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนมกราคม 2561. https://thaitextile.org/th/insign/detail.410.1.0.html.

อาริยา หุ่นวงศ์ษา. (2560). การส่งเสริมกลุ่มอาชีพผ้าไหมไทย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(1), 53-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-05-2025