วารสารนวัตกรรมบริหารธุรกิจและการบัญชี
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/jbaas
<p><strong>วารสารนวัตกรรมบริหารธุรกิจและการบัญชี</strong><br /><strong>Journal of Innovations in Business Management and Accounting</strong><br />ISSN 3088-1153 (Print)<br />ISSN 3088-1161 (Online)</p> <p><strong>วัตถุประสงค์วารสาร</strong><br />วารสารมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และเพื่อเป็นแหล่งสืบค้นทางด้านนวัตกรรม บริหารธุรกิจและการบัญชีในระดับชาติและนานาชาติ</p> <p><strong>ขอบเขตวารสาร</strong><br />- บริหารธุรกิจ<br />- การบัญชี<br />- การจัดการ <br />- การจัดการโลจิสติกส์<br />- การประกอบการ <br />- เทคโนโลยีสารสนเทศ<br />- การเงินธุรกิจระหว่างประเทศ<br />- การตลาด<br />- การจัดการทรัพยากรมนุษย์<br />- คอมพิวเตอร์ธุรกิจ<br />- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์<br />- เศรษฐศาสตร์</p> <p><strong>กำหนดการออกวารสาร</strong> ออกปีละ 3 ฉบับ ดังนี้ <br />- ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม ถึง เมษายน<br />- ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม ถึง สิงหาคม<br />- ฉบับที่ 3 ประจำเดือน กันยายน ถึง ธันวาคม<br /><br /><strong>ประเภทบทความ</strong> <br />- บทความวิจัย<br />- บทความวิชาการ</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์บทความ</strong> รับทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>การประเมินบทความและการตีพิมพ์บทความ</strong><br />1. บทความจะได้รับการประเมินเบื้องต้น ประกอบด้วย ขอบเขตของวารสาร รูปแบบการเขียนบทความ การอ้างอิง และแบบฟอร์มการส่งบทความ<br />2. เมื่อผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจะถูกส่งไปประเมินคุณภาพของบทความจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่านที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายสถาบัน <br />3. รูปแบบการประเมินบทความเป็นแบบผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double-Blind Peer Review) <br />4. การรับตีพิมพ์ (Accepted Submission) บทความบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน และมีการแก้ไขจากผู้เขียนตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิครบถ้วนทุกประการ<br />5. ใบตอบรับ จะได้รับหลังจากการรับตีพิมพ์จากวารสารเท่านั้น</p> <p><strong>ทั้งนี้</strong> ฟรีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ตลอดทุกขั้นตอนของวารสาร</p>
คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
th-TH
วารสารนวัตกรรมบริหารธุรกิจและการบัญชี
<p>ต้องใส่ข้อความลิขสิทธิ์</p>
-
การศึกษาโอกาสทางการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของกลุ่มสตรีทอผ้าไหม บ้านโพนสวาง ตำบลนามะเขือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/jbaas/article/view/1972
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบริบทและโอกาสทางการตลาดของกลุ่มสตรีทอผ้าไหมและกลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านโพนสวาง ตำบลนามะเขือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านโพนสวาง มีจํานวน 107 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-50 ปีจบการศึกษาระดับประถมศึกษามีประสบการณ์ในการทอผ้า 11 - 15 ปี และมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท โอกาสทางการตลาดของกลุ่มคือ 1. รัฐบาลปลุกกระแสนิยมไทยและส่งเสริมการใช้ผ้าไทยทั่วประเทศไทย 2. จังหวัดกาฬสินธุ์มีนโยบายเรื่องนำผ้าไหมภูมิปัญญาชาวบ้านเข้าสู่ตลาด 3. กิจกรรมที่จัดถวายเพื่อเทิดพระเกียรติในหลวงและพระราชวงศ์ 4.นโยบายการรณรงค์ให้ประชาชนนิยมแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมืองของภาครัฐ เช่น ภาครัฐต้องเสริมสภาพคล่องทางการลงทุนให้ผู้ผลิตผ้าไหมเพื่อเสริมความแข็งแกร่งรองรับการส่งออกผ้าไหมที่ผลิตออกจำหน่ายในปัจจุบันมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของผู้ซื้อและควรผลักดันผ้าไหมของกลุ่มเข้าระบบบริหารจัดการสินค้าหม่อนไหมสู่เกษตรควรออกแบบรูปแบบและสีสันลวดลายของผ้าไหมให้ทันสมัยตรงตามรสนิยมของผู้ซื้อ และมีเทคโนโลยีใหม่ๆ แก่ผู้ผลิตผ้าไหม เพื่อให้สอดคล้องกับความนิยมของตลาด</p>
สุพิชญา บุญเสริม
Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมบริหารธุรกิจและการบัญชี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-30
2025-05-30
1 2
79
93
-
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการค้าปลีก - ค้าส่ง ในอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/jbaas/article/view/1876
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการค้าปลีก–ค้าส่งในอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ และเสนอแนวทางในการบรรเทาปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ประกอบการจำนวน 115 ราย ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์เชิงสถิติด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยที่สำคัญแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการ (Management) ที่การจัดโครงสร้างสายงานชัดเจนและการกำกับดูแลพนักงานเป็นระบบ (ค่าเฉลี่ย 4.31) ด้านการตลาด (Marketing) โดยเฉพาะสถานที่จำหน่ายที่สะดวกต่อการเข้าถึงลูกค้า (ค่าเฉลี่ย 4.29) ด้านการดำเนินงานและเทคโนโลยี (Operations & Technology) ซึ่งเน้นสินค้าที่ได้รับการรับรองความปลอดภัยและกระบวนการผลิตที่ปรับปรุงได้รวดเร็ว (ค่าเฉลี่ย 4.30) และด้านการเงิน (Finance) ได้แก่ การคาดการณ์กำไรล่วงหน้าและความสามารถในการปรับแผนการเงินให้คล่องตัว (ค่าเฉลี่ย 4.52) สำหรับแนวทางแก้ไข ผู้วิจัยเสนอให้ผู้ประกอบการขยายช่องทางจัดจำหน่ายผ่านบริการเดลิเวอรี่และแพลตฟอร์มออนไลน์ พัฒนาการบริหารจัดการภายในและระบบเทคโนโลยีให้รองรับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับภาครัฐในการรับรองมาตรฐานสินค้าและผลักดันนโยบายควบคุมราคาสินค้าอย่างเป็นธรรม เพื่อเสริมความยืดหยุ่นและความยั่งยืนของธุรกิจภายในสภาพเศรษฐกิจและการระบาดของโรคต่อไป</p>
ศรัยา สำราญพงษ์
Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมบริหารธุรกิจและการบัญชี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-05-30
2025-05-30
1 2
94
104