สถานีดับเพลิงและกู้ภัยของกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กันต์ธสิทธิ์ พิมพ์สอาด คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • กีรติ ศรีประไหม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • อจิรา เที่ยงตรง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

คำสำคัญ:

สถานีดับเพลิงและกู้ภัย, เกณฑ์มาตรฐานนักดับเพลิง, เกณฑ์มาตรฐานสถานีดับเพลิงและกู้ภัย

บทคัดย่อ

สถานีดับเพลิงและกู้ภัยเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุและภายหลังเกิดเหตุ เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปฏิบัติการป้องกันและระงับอัคคีภัย กำหนดมาตรการในการป้องกันและระงับอัคคีภัย และบรรเทาสาธารณภัยอื่น ๆ ทั้งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานในการปฏิบัติงานของสถานีดับเพลิงและกู้ภัย โดยแบ่งออกเป็น เกณฑ์มาตรฐานนักดับเพลิงต่อจำนวนประชากร (1 คน : 552 คน) และเกณฑ์มาตรฐานสถานีดับเพลิงและกู้ภัยต่อพื้นที่รับผิดชอบ (1 สถานี : 15 ตารางกิโลเมตร) และ 2) วิเคราะห์จำนวนสถานีดับเพลิงและกู้ภัยและจำนวนนักดับเพลิงที่เหมาะสมของกรุงเทพมหานครตามเกณฑ์มาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า 1) กรุงเทพมหานครมีนักดับเพลิง 1 คน ต่อประชากร 3,042 คน มีสถานีดับเพลิงและกู้ภัย 1 สถานี รับผิดชอบพื้นที่ประมาณ 104 ตารางกิโลเมตร และ 2) กรุงเทพมหานครควรมีสถานีดับเพลิงและกู้ภัย จำนวนไม่น้อยกว่า 110 สถานี ซึ่งในปัจจุบันมีสถานีดับเพลิงและกู้ภัย จำนวน 47 สถานี และกรุงเทพมหานครควรมีนักดับเพลิง จำนวน 10,123 คน แต่ปัจจุบันมีนักดับเพลิงเพียงแค่ 1,837 คน

References

มติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร. (2561). การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการและกรอบอัตรากำลังของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. [online] Available: http://203.155.220.238/csc/index.php/news-announce/announce-news/1556-10-2561. [2564, ตุลาคม 18].

วนิชญา ทั่งทอง และศิริวรรณ ชายทวีป. (2558). ประสิทธิภาพการให้บริการของสถานีดับเพลิงบางเขน.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิกิพีเดีย. (2563). ข้อมูลพื้นที่และจำนวนประชากรเขต. [online]. Available: https://th.wikipedia.org/wiki/กรุงเทพมหานคร. [2564, ตุลาคม 18].

สมเกียรติ กันทรวราการ. (2561). การศึกษาโครงสร้างกลไลและมาตรการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. (2558). โครงการศึกษาจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการพระจอมเกล้าลาดกระบัง.

สำนักผังเมือง. (2550). สถานีดับเพลิงในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: กองนโยบายและแผน สำนักผังเมือง.

สำนักผังเมือง. (2543). การให้บริการของสถานีตำรวจดับเพลิง ปี 2543. กรุงเทพฯ: กองวิชาการและแผนงาน สำนักผังเมือง.

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (2563). สถิติกรุงเทพมหานครประจำปี 2563. กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร. [online]. Available: http://www.bangkok.go.th/ pipd/page/ sub/22351/ %E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C-PDF. [2564, ตุลาคม 18].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-03

How to Cite

พิมพ์สอาด ก. ., ศรีประไหม ก. ., & เที่ยงตรง อ. . (2023). สถานีดับเพลิงและกู้ภัยของกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 19(2), 179–193. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/62