ผลของการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม ต่อความเครียดในการทำงานของครูศูนย์เด็กเล็ก

ผู้แต่ง

  • เวณุกา ทัศนภักดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • กาญจนา สุทธิเนียม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ชลพร กองคำ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ชูวิทย์ รัตนพลแสนย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ครูศูนย์เด็กเล็ก, ความเครียดในการทำงาน, การให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งการทดลอง มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบความเครียดในการทำงานของครูศูนย์เด็กเล็กกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมระหว่างก่อนและหลังการทดลอง (2) เพื่อเปรียบเทียบความเครียดในการทำงานของครูศูนย์เด็กเล็กระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมและกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการให้การปรึกษากลุ่ม ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือครูศูนย์เด็กเล็กวิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัยในพระราชูปถัมภ์ จังหวัดนครปฐม จำนวนทั้งหมด 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดความเครียดในการทำงาน ความตรงเชิงเนื้อหามีค่า 0.60-1.00 ค่าความเที่ยง 0.945 และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม ดัชนีความสอดคล้องมีค่า 0.60-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความเครียดในการทำงานใช้สถิติ Paired – sample t – test และเปรียบเทียบความเครียดในการทำงานระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ t-test independent ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1.ความเครียดในการทำงานของครูศูนย์เด็กเล็กฯ กลุ่มทดลองหลังได้รับการให้การปรึกษากลุ่มลดลงก่อนให้การปรึกษากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.ความเครียดในการทำงานของครูศูนย์เด็กเล็กฯ กลุ่มทดลองหลังได้รับการปรึกษากลุ่มลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กมลชนก เยาว์รัมย์. (2558). ความเครียดของครูในเครือข่ายภูผา-นาสัก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

กาญจนา สุทธิเนียม. (2560). การพัฒนาต้นทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนิสิตครูโดยการให้การปรึกษากลุ่ม. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

จิตรา เสริมศรี. (2559). ผลของการปรึกษากลุ่มตามแนวคิดพิจารณาเหตุผลอารมณ์และพฤติกรรมต่อความมีวินัย

ในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชุติมา พระโพธิ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดการจัดการความเครียดและคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ณรงค์กร ชัยวงศ์. (2559). การศึกษาความเครียด สาเหตุความเครียด ของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์บุรีรัมย์มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น. วารสารการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 10. อาคารคณะทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ปทุมธานี. 4-5 พฤศจิกายน 2560. (123–132).

ณัชชา ชุนช่วยเจริญ. (2559). ผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเกสตัลท์ต่อการยับยั้งชั่งใจของเยาวชน ที่กระทำผิดซ้ำ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

รัตนา บุญบุตตะ. (2558). การเปรียบเทียบผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริงและทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม เพื่อลดความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ลักขณา สริวัฒน์. (2560). ทฤษฎีและเทคนิคการให้การปรึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

วิภาพร สร้อยแสง. (2558). ผลของโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม ต่อความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปะศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุทิศา โขงรัมย์. (2553). ผลการให้คำปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีการพิจารณาเหตุผลอารมณ์ และพฤติกรรมที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นหญิง. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. 4 (1), 128-133.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2555). มาตรฐานวิชาชีพครู. [Online]. Available: http://site.ksp.or.th/about.php?site=testingeva&SiteMenuID=31. [2563, ตุลาคม 10].

อุดมลักษณ์ เมฆาวณิชย์. (2556). ความเครียดของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 กลุ่มอำเภอพนัสนิคม. วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

Corey, G. (2008).Theory and Practice of Group Counseling (7 th ed.). Belmont, CA: Thomson/Brooks/Cole.

Ellis, J. (1996). Prospective Memory of the Realization of Delayed Intentions: A Conceptual Framework for Research. In M. Brandimonte, G. O. Einstein, & M. A. McDaniel (Eds.), Prospective Memory: theory and Application (pp. 1 -22). Mahwah, New Jersey:

Vinogradov, S, & Yalom , I. D. (1989). Concise Guide to Group Psychotherapy. Washington, DC: America Psychiatric Press Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-03

How to Cite

ทัศนภักดี เ. ., สุทธิเนียม ก. ., กองคำ ช. ., & รัตนพลแสนย์ ช. (2023). ผลของการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม ต่อความเครียดในการทำงานของครูศูนย์เด็กเล็ก. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 19(2), 143–159. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/58