รูปแบบการส่งเสริมทักษะชีวิตในโรงเรียนประถมศึกษาของพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
คำสำคัญ:
การส่งเสริมทักษะชีวิต, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, โรงเรียนประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการส่งเสริมทักษะชีวิตของโรงเรียนประถมศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2) ศึกษาระดับทักษะชีวิตของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาของพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และ 3) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมทักษะชีวิตในโรงเรียนประถมศึกษาของพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยการศึกษาสภาพปัจจุบันในการส่งเสริมทักษะชีวิต กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร 260 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่และค่าร้อยละ การศึกษาระดับทักษะชีวิตของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน 375 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและจัดลำดับความต้องการจำเป็นด้วยวิธี Priority Needs Index (PNI) การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมทักษะชีวิต โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันโรงเรียนมีความพร้อมในการส่งเสริมทักษะชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง โรงเรียนมีโครงการในการพัฒนาทักษะชีวิต ได้แก่ โครงการครูแดร์ โครงการลูกเสือเนตรนารี โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ส่วนสภาพปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) การศึกษาระดับทักษะชีวิต พบว่า สภาพที่เป็นอยู่จริงอยู่ในระดับมาก สภาพที่คาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด ทักษะชีวิตที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด ได้แก่ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการคิดวิเคราะห์ 3) รูปแบบการส่งเสริมทักษะชีวิต ประกอบด้วย หลักการและแนวคิด วัตถุประสงค์ กระบวนการ การกำกับติดตาม และเงื่อนไขความสำเร็จ ส่วนผลการประเมินรูปแบบ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก
References
กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2560). การศึกษารูปแบบการพัฒนาทักษะชีวิตและความพร้อมในการประกอบอาชีพของเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาในจังหวัดเขตเศรษฐกิจพิเศษ. [Online] Available: https:// dcy.go.th/webnew/upload/download/file_th_20201211151724_1.pdf. [ 2564, กรกฎาคม 1].
กชนันท์ โนรินทร์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานที่ส่งเสริมทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธนัตถ์กานต์ ศรีเฉลียว. (2560). การพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11 (2), 61-74.
นภีพัชร เกษรา. (2562). การถอดบทเรียนความสำเร็จของโครงการครูแดร์ (D.A.R.E.) ประเทศไทย สำหรับการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเด็กนักเรียน กรณีศึกษากองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 117 อำเภอเมือง จังหวัดตราด. [Online] Available: http://www3.ru.ac.th/mpaabstract/index.php/abstractData/viewIndex/194. [2563, กรกฎาคม 8].
พัชรินทร์ รุจิชีพ. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2558). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภูรินท์ ชนิลกุล. (2563). รูปแบบการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษา ในโรงเรียนเขตพื้นที่สูง จังหวัดตาก. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 14 (4), 159-171.
มติชน. (2560). เด็กไทยวันนี้ !! นักวิชาการจุฬาฯ แฉสถานการณ์เด็กไทยมีปัจจัยเสี่ยง 10 ด้าน ‘ความรุนแรง-แม่วัยใส-ยาเสพติด’. [Online] Available: https://www.matichon.co.th/news/418603. [2560, ธันวาคม 2].
สมาน อัศวภูมิ. (2550). การใช้วิจัยพัฒนารูปแบบในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2 (2), 76-85.
สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาพร วาปีโส. (2559). การพัฒนาระบบการส่งเสริมทักษะชีวิตนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนเอกชนการกุศล. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก. (2560). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด) พ.ศ. 2561-2564 (ฉบับล่าสุด). ชลบุรี: สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี. (2560). แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ. 2562–2565 จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางการจัดค่ายเสริมสร้างทักษะชีวิตเด็กไทย “ปัญหาหยุดยั้งด้วยพลังเด็กและเยาวชน”. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.
World Health Organization. (1994). Life Skill Education in School. Geneva: World HealthOrganization.
World Health Organization. (1997). Life Skills Education For Children and Adolescents in School. Geneva: World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.