ความต้องการพัฒนาศักยภาพตนเองของบุคลากรสายสนับสนุนสู่การวางแผนพัฒนาบุคลากร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา
คำสำคัญ:
ความต้องการพัฒนาตนเอง, บุคลากรสายสนับสนุน, วางแผนพัฒนาบุคลากรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการพัฒนาศักยภาพตนเองของบุคลากรสายสนับสนุน และความต้องการต่อหน่วยงานในการพัฒนาศักยภาพตนเอง และ 2) ความต้องการพัฒนาศักยภาพตนเองของบุคลากรสายสนับสนุน และความต้องการต่อหน่วยงานในการพัฒนาศักยภาพตนเอง จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล เก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรสายสนับสนุน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 22 คน โดยวิธีเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์เฉลี่ยรวมแต่ละข้อเกิน 0.5 ขึ้นไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรสายสนับสนุนคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา 1) มีความต้องการพัฒนาศักยภาพตนเอง และมีความต้องการต่อหน่วยงานในการพัฒนาศักยภาพตนเอง อยู่ในระดับ มาก 2) เพศชายและเพศหญิง ช่วงอายุ 30-40 ปี และช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป ระดับการศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท มีความต้องการพัฒนาศักยภาพตนเอง และมีความต้องการต่อหน่วยงานในการพัฒนาศักยภาพตนเอง อยู่ในระดับ มาก กลุ่มงานแผนงาน มีความต้องการพัฒนาศักยภาพตนเอง อยู่ในระดับ มากที่สุด และมีความต้องการต่อหน่วยงานในการพัฒนาศักยภาพตนเอง อยู่ในระดับ มาก และกลุ่มงานบริหารทั่วไป งานวิชาการ งานปฏิบัติการ มีความต้องการพัฒนาศักยภาพตนเอง และมีความต้องการต่อหน่วยงานในการพัฒนาศักยภาพตนเอง อยู่ในระดับ มาก ทั้งนี้ ผลการวิจัยนี้ได้ใช้สำหรับการวางแผนพัฒนาบุคลากรเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน และตอบสนองความต้องการของบุคลากรเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการปฏิบัติงานที่ดีขึ้นและบรรลุเป้าหมายตามแผนที่กำหนด
References
เกียรติษฎา ภูมิเพ็ง. (2564). การศึกษาความต้องการและแรงจูงใจในการทำงานวิจัยสถาบันของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธีรวดี ยิ่งมี และมงคลชัย โพล้งศิริ. (2562). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
บุญส่ง ลีละชาต. (2559). ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะแพทยศาสตร์หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประภัสสร พลาบดีวัฒน, อาภรณ์ ดีนาน และนุจรี ไชยมงคล. (2560). ปัญหาและความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(4), 21-31.
ปริฉัตร สระทองฮ่วม. (2560). การพัฒนาตนเองของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 4(1), 84-93.
สุนิษา กลึงพงษ์, สุวพร ตั้งสมวรพงษ์ และอรรณพ โพธิสุข. (2556). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตรและการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยองลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 7(2), 68-82.
สำเนียง องสุพันธ์กุล, อุไรวรรณ สมบัติศิริ, เจนศักดิ์ เอกบูรณะวัฒน์, ธัญนันท์ วรเศรษฐพงษ์, ศรีสุดา ลีลาสุวัฒน์. (2557). โครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
Nadler & Wiggs. (1989). Managing Human Resources Development. San Francisco, California: Jossey-Bass.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.