การรับรู้ทิศทางองค์กรของบุคลากร สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คำสำคัญ:
การรับรู้, ทิศทางองค์กรบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ทิศทางองค์กร และระดับการรับรู้ทิศทางองค์กรของบุคลากร สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรทั้งหมดของสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 4 คน พนักงานมหาวิทยาลัย จำนวน 43 คน ลูกจ้างประจำ จำนวน 1 คน และลูกจ้างมหาวิทยาลัย จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 58 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ได้ใช้แบบสำรวจจำนวน 58 ชุด ซึ่งตอบรับกลับคืนมาจำนวน 52 ชุด คิดเป็นร้อยละ 89.66 ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ทิศทางองค์กรของบุคลากร สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บุคลากรรับรู้ทิศทางขององค์กรด้านวิสัยทัศน์ถูกต้อง มากที่สุดคือ วิสัยทัศน์ของหน่วยงาน องค์กรชั้นนำด้านการบริการและสนับสนุนการจัดการศึกษา และระดับการรับรู้ทิศทางองค์กรของบุคลากร ด้านที่บุคลากรมีระดับการรับรู้มากที่สุดคือ ด้านการรับรู้ผลการดำเนินการที่คาดหวัง มีระดับการรับรู้อยู่ในระดับรับรู้มาก (x=3.65, S.D=0.63) รองลงมา คือ ด้านการรับรู้วิสัยทัศน์ มีระดับการรับรู้อยู่ในระดับรับรู้มาก (x=3.61, S.D=0.73) และด้านที่บุคลากรมีระดับการรับรู้น้อยที่สุด คือ ด้านการรับรู้ค่านิยม ระดับการรับรู้อยู่ในระดับรับรู้ปานกลาง (x=3.34, S.D=0.85)
References
กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2553). การรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตามนโยบายของสภามหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2553. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร และวัลลีย์ ศรีประภาภรณ์. (2553). การจัดการทางการสื่อสารในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. กรุงเทพมหานคร.
วิมล นาวารัตน์. (2554). การนำองค์กรจากทฤษฎีการนำองค์การสู่การปฏิบัติ. https://www.gotoknow.org/posts/419900
อัจฉรา จุลละพราหมณ์, สุวิช ธรรมปาโล, และปัจฉิมา บัวยอม. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสารกลยุทธ์องค์กรให้กับบุคลากร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12. สงขลา.
รจิต คงหาญ และวิสาขา วัฒนปกรณ์. (2560). ทิศทางการบริหารบุคลากรในโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร.
ปรีชา น้อยใหม่. (2561). การรับรู้และความคาดหวังวัฒนธรรมองค์การของพนักงานบริษัท อาชิโมริ (ประเทศไทย) จำกัด. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์. (2561). ทิศทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยสงฆ์ราชบุรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จันทร์จิรา สะมะแอ. (2562). การรับรู้ของพนักงานและลูกจ้างต่อการบริหารงานคนเก่งของการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดตรัง. ตรัง.
ธนภร จิตธำรงสุนทร และพัชรีวรรณ กิจมี. (2562). การรับรู้การบริหารเชิงกลยุทธ์ของครูโรงเรียนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่.
พรนิดา นาคทับทิม. (2563). การรับรู้ค่านิยมองค์กรของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.