https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/issue/feed
วารสารวิชาการ ปขมท.
2025-01-19T08:48:15+07:00
CUAST Journal
cuast.journal2@gmail.com
Open Journal Systems
<p>วารสารวิชาการ ปขมท. (CUAST Journal) จัดทำขึ้นโดยที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้าง มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและบทความวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ อันเป็นแนวทางนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกันและบังเกิดประสิทธิภาพในการทำงาน</p> <p>ผลงานที่ส่งมาตีพิมพ์ จะต้องเป็นผลงานทางวิชาการและบทความวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น เป็นผลงานที่แก้ไข ปรับปรุง หรือพัฒนางานประจำให้ดีขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง หรือเป็นงานวิจัยสถาบัน เป็นการดำเนินงานวิจัยเชิงประเมินเกี่ยวกับองค์กร หรือเป็นผลวิจัยและค้นคว้าหรือสำรวจ หรือบทความแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ที่ยังไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาลงวารสารใดๆ </p> <p><strong>ขอบเขตเนื้อหาการตีพิมพ์</strong><br /> รับตีพิมพ์บทความ จำนวน 3 สาขา ได้แก่ 1) สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ 3) สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยบทความวิจัยและบทความวิชาการที่จะนำมาตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ปขมท. นี้ จะต้องได้รับการตรวจสอบทางวิชาการ (Peer review) ก่อน จากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ โดยผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน และผ่านความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการวารสาร โดยผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความไม่ทราบชื่อผู้เขียนและผู้เขียนไม่ทราบชื่อผู้ประเมินบทความ (Double blind) และผู้ประเมินไม่อยู่ในสังกัดเดียวกับผู้เขียนบทความ (<a href="https://drive.google.com/drive/folders/1dO_ncL-qJkkMCMQfy0OmLOEjrLcQGf36?usp=sharing" target="_blank" rel="noopener">CUAST Journal Template</a>) <img src="https://wjst.wu.ac.th/public/site/images/admin/newdata12.gif" alt="" /></p> <p><strong>ประเภทของบทความ (บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)</strong><br /> 1. บทความวิจัย <br /> 2. บทความวิชาการ <br /><br /><strong>กำหนดเผยแพร่</strong><br /> ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน<br /> ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม<br /> ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม</p> <p><strong>จำนวนบทความต่อฉบับ</strong><br /> 20-25 บทความ</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong><br /> วารสารวิชาการ ปขมท. (CUAST Journal) ไม่มีค่าธรรมเนียมการส่งบทความ ไม่มีค่าธรรมเนียมในกระบวนการจัดการบทความ ไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์เผยแพร่ใดๆ ทั้งสิ้น</p> <p><strong>หัวหน้าบรรณาธิการ</strong><br /> <a href="https://biography.oas.psu.ac.th/biography_management/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99/" target="_blank" rel="noopener">ศาสตราจารย์ ดร.ปริศวร์ ยิ้นเสน</a> คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี</p> <p><strong>สำนักพิมพ์</strong><br /> ที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้าง มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.)</p> <p><strong>หมายเหตุ</strong> วารสารวิชาการ ปขมท. (CUAST Journal) กำหนดค่าการตรวจความซ้ำซ้อนด้วยโปรแกรม CopyCatch ผ่านเว็บไซต์ Thaijo สำหรับบทความวิจัยและบทความวิชาการ โดยมีผลตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป</p>
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/1351
การรับรู้ทิศทางองค์กรของบุคลากร สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2025-01-19T08:02:30+07:00
สุวารี เขียวคำ
ksuwaree@kku.ac.th
นันธิดา น้อยสุข
ksuwaree@kku.ac.th
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ทิศทางองค์กร และระดับการรับรู้ทิศทางองค์กรของบุคลากร สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรทั้งหมดของสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 4 คน พนักงานมหาวิทยาลัย จำนวน 43 คน ลูกจ้างประจำ จำนวน 1 คน และลูกจ้างมหาวิทยาลัย จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 58 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ได้ใช้แบบสำรวจจำนวน 58 ชุด ซึ่งตอบรับกลับคืนมาจำนวน 52 ชุด คิดเป็นร้อยละ 89.66 ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ทิศทางองค์กรของบุคลากร สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บุคลากรรับรู้ทิศทางขององค์กรด้านวิสัยทัศน์ถูกต้อง มากที่สุดคือ วิสัยทัศน์ของหน่วยงาน องค์กรชั้นนำด้านการบริการและสนับสนุนการจัดการศึกษา และระดับการรับรู้ทิศทางองค์กรของบุคลากร ด้านที่บุคลากรมีระดับการรับรู้มากที่สุดคือ ด้านการรับรู้ผลการดำเนินการที่คาดหวัง มีระดับการรับรู้อยู่ในระดับรับรู้มาก (x=3.65, S.D=0.63) รองลงมา คือ ด้านการรับรู้วิสัยทัศน์ มีระดับการรับรู้อยู่ในระดับรับรู้มาก (x=3.61, S.D=0.73) และด้านที่บุคลากรมีระดับการรับรู้น้อยที่สุด คือ ด้านการรับรู้ค่านิยม ระดับการรับรู้อยู่ในระดับรับรู้ปานกลาง (x=3.34, S.D=0.85)</p>
2025-01-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ ปขมท.
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/1284
ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของงานการเงิน การคลังและพัสดุ สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2024-12-24T16:34:53+07:00
พรรณี ศรีเรือน
phannee.sr@cmu.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของงานการเงิน การคลังและพัสดุ สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากร อาจารย์/คณาจารย์ ประกอบด้วย ผู้บริหาร บุคลากรสายวิชาการ สายปฏิบัติการ อาจารย์/คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่/ลูกจ้างโครงการ จำนวน 50 คน และ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบประเมินออนไลน์ วิเคราะห์ประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความพึงพอใจต่อการให้บริการโดยรวมของงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาความพึงพอใจของหน่วยการเงินและบัญชี พบว่า มีความพึงพอใจต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ความพึงพอใจของหน่วยพัสดุ พบว่า มีความพึงพอใจต่อกระบวนการ/ขั้นตอนในการให้บริการ และความพึงพอใจของหน่วย One Stop Service พบว่า มีความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ 2) มีความคาดหวัง ต่อการให้บริการของงาน โดยรักษาระดับการให้บริการ และเพิ่มช่องทางการทำงานในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น 3) ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงการให้บริการของงานการเงิน การคลังและพัสดุ โดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ และเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน จากผลการวิจัยพบว่า มีความพึงพอใจต่อการให้บริการของงานการเงิน การคลังและพัสดุ ในระดับมากในทุกด้าน และมีความคาดหวังต่อการให้บริการด้านความถูกต้อง รวดเร็ว และการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในการให้บริการ ซึ่งผลการวิจัยที่ได้จะช่วยพัฒนาการบริการของงานการเงิน การคลังและพัสดุ ต่อไป</p>
2024-12-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ ปขมท.
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/1352
การวิเคราะห์ผลงานตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus ของคณาจารย์ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างปี พ.ศ. 2561 - 2566 โดยใช้โปรแกรม SciVal
2025-01-19T08:48:15+07:00
อัจฉราพรรณ โพธิ์ทอง
atcharaphan.pho@mahidol.edu
<p>การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ผลงานตีพิมพ์ในระดับนานาชาติของคณาจารย์ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 15 คน ที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus ระหว่างปี พ.ศ. 2561 - 2566 รวมทั้งหมด 113 เรื่อง โดยใช้โปรแกรม SciVal ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนผลงานตีพิมพ์ จำนวนการตีพิมพ์ ประเภทของผลงานตีพิมพ์ จำนวนการอ้างอิงจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ในแต่ละสาขา คุณภาพของวารสารที่ตีพิมพ์ กลุ่มงานวิจัยที่โดดเด่น และหน่วยงานความร่วมมือทางด้านการวิจัย ผลการวิเคราะห์ พบว่า สถาบันฯ มีจำนวนผลงานตีพิมพ์ในรูปแบบของบทความ (Article) มากที่สุด (ร้อยละ 61.01) สาขาที่มีการตีพิมพ์มากที่สุด คือ Social Sciences จำนวน 64 เรื่อง โดย International Journal of Mobile Learning and Organisation มีการตีพิมพ์สูงสุด จำนวน 10 เรื่อง มีการตีพิมพ์ในวารสารที่มีค่า Journal Quartile รวมทั้งหมด 85 เรื่อง โดยมีการตีพิมพ์ในวารสารที่มีค่าควอไทล์ที่ 1 เป็นวารสารระดับดีเยี่ยม (Rating 5) ค่าน้ำหนัก 1.00 มากที่สุดจำนวน 31 เรื่อง (ร้อยละ 36.47) สถาบันฯ มีจำนวนผลงานตีพิมพ์ที่ถูกนำไปใช้อ้างอิง จำนวน 85 เรื่อง มีการอ้างอิงจำนวน 790 ครั้ง นอกจากนี้ สถาบันฯ มีผลงานตีพิมพ์ที่จำแนกตามกลุ่มหัวข้องานวิจัยกลุ่มหัวข้อ Students; Teaching; Education; E-Learning และกลุ่มหัวข้อ Students; Science; Learning มากที่สุดจำนวนกลุ่มละ 15 เรื่อง มีผลงานวิจัยโดดเด่นภายใต้สาขา Social Sciences และ Computer Science สถาบันฯ มีผลงานตีพิมพ์ที่มีความร่วมมือระดับชาติมากที่สุด จำนวน 60 เรื่อง (ร้อยละ 53.10) มีการตีพิมพ์ผลงานร่วมกับประเทศไต้หวันมากที่สุดจำนวน 7 เรื่อง และได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ให้การสนับสนุนการทำงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ผลงานมากที่สุด จำนวน 22 เรื่อง</p>
2025-01-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ ปขมท.
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/1342
การศึกษาการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล
2025-01-15T08:59:15+07:00
ถวิลวงศ์ คูหาก้องเกียรติ
tavinvong.kuh@mahidol.edu
ศิราวัลย์ อัศวเมฆิน
tavinvong.kuh@mahidol.edu
<p>Mahidol University has got knowledgeable and experienced staff in various disciplines. It has the potential to create collaborative research networks with various organizations to enhance the impact of research outcomes both nationally and internationally. To facilitate the establishment of research collaboration networks between Mahidol University and external organizations, <br>a mechanism for promoting research cooperation has been developed through the establishment of Memorandums of Understanding (MoUs) for research collaboration. This article studies the structure, components, and key aspects of the MoU, the management, and the process for creating MoUs for research collaboration between the university and external public and private organizations. The study found that the structure of MoUs for research collaboration consists of 4 main parts; including general terms, main content, provisions, and conclusion, and can be categorized into 4 operational steps. Additionally, It studied the data in fiscal year 2020-2022 <br>(1 October 2020 – 30 September 2022) and revealed that the use of the MoUs form reduced the average verification time by approximately 5.39 working days. This demonstrates that the university's form has helped improve operational efficiency, reduce the workload of research administration staff, faculty staff, and legal officers involved in document verification, and shorten the time required for operations.</p>
2025-01-15T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ ปขมท.
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/1343
ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตามทัศนะของผู้มีส่วนได้เสีย
2025-01-15T09:30:41+07:00
จารุวัฒน์ สอนมนต์
jaruwat.s@rbru.ac.th
ดวงนภา ประดิษฐศิลป์
jaruwat.s@rbru.ac.th
กนกพร เชิญกลาง
jaruwat.s@rbru.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน <br>คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตามทัศนะของผู้มีส่วนได้เสีย 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำแนกตามผู้มีส่วนได้เสีย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 179 ราย ได้รับแบบสอบถามคืนกลับมาอย่างสมบูรณ์จำนวน 127 ฉบับ แบ่งเป็นคณาจารย์ จำนวน 20 ราย และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 81 ราย และตัวแทนสถานประกอบการ จำนวน 26 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ และร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานของคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตามทัศนะของผู้มีส่วนได้เสีย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.51) อาจารย์มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.53) รองลงมา คือ นักศึกษา และตัวแทนสถานประกอบการ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x = 4.47 และ x = 4.43) ) ตามลำดับ 2) ผู้มีส่วนได้เสียทั้งสามกลุ่มมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ไม่แตกต่างกัน</p>
2025-01-15T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ ปขมท.
https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/1350
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการใช้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
2025-01-19T07:54:45+07:00
สิทธิพงษ์ พิมพ์ธารา
sitthipong.p@rbru.ac.th
กัมพล มีมาก
sitthipong.p@rbru.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษาต่อการใช้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษา ต่อการใช้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏรำไพพรรณี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคืออาจารย์ 41 คน และนักศึกษา 413 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือแบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าอาจารย์และนักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้บริการห้องปฏิบัติการอยู่ในระดับมาก ( = 4.34, <br>S.D.= 0.48, = 3.94, S.D.= 0.63) โดยทั้งอาจารย์และนักศึกษามีความพึงพอใจด้านการบริการของเจ้าหน้าที่สูงที่สุด ( =4.75,S.D.=1.40, =4.09, S.D.=0.54) และมีความพึงพอใจด้านโปรแกรมการใช้งานต่ำที่สุด ( =4.26, S.D.=0.69, =3.93, S.D.=0.66) สำหรับการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจพบว่า ปัจจัยที่ศึกษาทั้ง5 ด้านมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการใช้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งได้แก่ ปัจจัยด้านระบบเครือข่าย (r=.700, P-value <.01) รองลงมาคือปัจจัยด้านโปรแกรมการใช้งาน(r=.694, P-value <.01) ด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (r=.668, P-value <.01) ด้านการบริการของเจ้าหน้าที่ (r=.640, P-value <.01) และด้านห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (r=.624, P-value <.01) ตามลำดับ</p>
2025-01-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ ปขมท.