การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)
  • งานวิจัยที่เก็บข้อมูลจากคนต้องมีหนังสือรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

คำแนะนำผู้แต่ง

1. นโยบายของวารสาร
     วารสารวิชาการ ปขมท. (CUAST Journal) จัดทำขึ้นโดยที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้าง มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและบทความวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ อันเป็นแนวทางนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกันและบังเกิดประสิทธิภาพในการทำงาน

     ผลงานที่ส่งมาตีพิมพ์ จะต้องเป็นผลงานทางวิชาการและบทความวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น เป็นผลงานที่แก้ไข ปรับปรุง หรือพัฒนางานประจำให้ดีขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง หรือเป็นงานวิจัยสถาบัน เป็นการดำเนินงานวิจัยเชิงประเมินเกี่ยวกับองค์กร หรือเป็นผลวิจัยและค้นคว้าหรือสำรวจ หรือบทความแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ที่ยังไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาลงวารสารใดๆ

2. ขอบเขตเนื้อหาการตีพิมพ์
     วารสารวิชาการ ปขมท. (CUAST Journal) รับตีพิมพ์บทความวิจัย บทความวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จำนวน 3 สาขา ได้แก่ 1) สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ 3) สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยบทความวิจัยและบทความวิชาการที่จะนำมาตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ปขมท. นี้ จะต้องได้รับการตรวจสอบทางวิชาการ (Peer review) จากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน และผ่านความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการวารสาร โดยผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความไม่ทราบชื่อผู้เขียนและผู้เขียนไม่ทราบชื่อผู้ประเมินบทความ (Double blind) และผู้ประเมินไม่อยู่ในสังกัดเดียวกับผู้เขียนบทความ วารสารมีกำหนดตีพิมพ์เผยปีละ 3 ฉบับๆ ละ 20-25 บทความ (ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน, ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม, ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม) วารสารวิชาการ ปขมท. (CUAST Journal) ไม่มีค่าธรรมเนียมการส่งบทความ ไม่มีค่าธรรมเนียมในกระบวนการจัดการบทความ ไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์เผยแพร่ใดๆ ทั้งสิ้น

3. การเตรียมต้นฉบับบทความ
     3.1 ข้อมูลทั่วไป
     ผู้เขียนสามารถดาวน์โหลดไฟล์ Template สำหรับการจัดเตรียมต้นฉบับบทความได้ที่เว็บไซต์วารสารวิชาการ ปขมท. https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal (CUAST Journal Template) โดยเว้นระยะห่างระหว่างบรรทัดจำนวน 2 บรรทัด (Double-spaced) อักษรเป็น TH SarabunPSK ทั้งบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้กระดาษขนาด A4 ระยะขอบ ด้านบน 3 เซนติเมตร, ด้านล่าง 2 เซนติเมตร, ด้านซ้าย 2 เซนติเมตร, ด้านขวา 2 เซนติเมตร, หัวกระดาษ 1 เซนติเมตร, ท้ายกระดาษ 1 เซนติเมตร จำนวนอยู่ระหว่าง 12-20 หน้า

     3.2 ชื่อเรื่อง
     ส่วนของชื่อเรื่องอยู่ชิดซ้านด้านบนของกระดาษ ประกอบด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความยาวไม่เกิน 2 บรรทัด ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุลผู้เขียน, ชื่อหน่วยงาน/สถาบันของผู้เขียน และอีเมลของผู้เขียนหลัก (มีได้แค่คนเดียวเท่านั้น) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยแยกหน้าออกจากกัน

     3.3 บทคัดย่อ
     บทคัดย่อประกอบด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษแยกหน้าออกจากกัน ไม่ควรเกิน 300 คำ เขียนสรุปการศึกษาวิจัยทั้งหมด โดยมีการสรุปประเด็นที่สำคัญของบทความไว้อย่างกระชับ ได้ใจความ ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ อย่างครบถ้วน ได้แก่ วัตถุประสงค์ บทนำ วิธีดำเนินการ ผลและอภิปรายผล และสรุปผล

     3.4 เนื้อหา
     เนื้อหา ประกอบด้วย บทนำ, วัตถุประสงค์การวิจัย, ระเบียบวิธีวิจัย, ผลการวิจัย, อภิปรายผล, สรุปผลการวิจัย, ข้อเสนอแนะการวิจัย และ หมายเลขจริยธรรมการวิจัย IRB (ถ้ามี)

     3.5 กิตติกรรมประกาศ 
     ให้กล่าวถึงแหล่งทุน หน่วยงานให้ทุน หน่วยงานหรือบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือ กิตติกรรมประกาศอาจมีหรือไม่มีก็ได้ และต้องไม่เป็นผู้เขียนร่วมที่อยู่ในบทความ

4. บรรณานุกรม
     ใช้รายการบรรณานุกรมรูปแบบ American Psychilogical Association (APA 7th Edition) (จัดชิดซ้าย) รายการบรรณานุกรมส่วนใหญ่ไม่ควรเกิน 5 ปีย้อนหลัง ตัวอย่างรูปแบบการอ้างอิงมีดังนี้

     4.1 กรณีวารสาร
     ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), หน้า.

     4.2 กรณีหนังสือ
     ผู้แต่ง 1, ผู้แต่ง 2, & ผู้แต่ง 3. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

     4.3 กรณีบทความหรือบทในหนังสือ
     ชื่อผู้แต่งบทความหรือบท. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความหรือบท (น. หรือ p. หรือ pp. เลขหน้า). ใน หรือ In ชื่อบรรณาธิการ (บ.ก. หรือ Ed. หรือ Eds.). ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

     4.4 กรณีรายงานการวิจัย
     ผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง (รายงานผลการวิจัย). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

     4.5 กรณีเอกสารการประชุมวิชาการ
     ผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความหรือชื่อเรื่องของบท (น. หรือ p. หรือ pp. เลขหน้า). ชื่อการประชุม. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

     4.6 กรณีวิทยานิพนธ์และปริญญานิพนธ์
     ผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือ Doctoral dissertation หรือ วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต หรือ Master thesis). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

     4.7 กรณีเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
     ผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. สืบค้นจาก หรือ Retrieved from https://www.xxxxxxxxxx

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ