เกี่ยวกับวารสาร
วารสารวิชาการ ปขมท. (CUAST Journal) จัดทำขึ้นโดยที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้าง มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและบทความวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ อันเป็นแนวทางนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกันและบังเกิดประสิทธิภาพในการทำงาน
ผลงานที่ส่งมาตีพิมพ์ จะต้องเป็นผลงานทางวิชาการและบทความวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น เป็นผลงานที่แก้ไข ปรับปรุง หรือพัฒนางานประจำให้ดีขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง หรือเป็นงานวิจัยสถาบัน เป็นการดำเนินงานวิจัยเชิงประเมินเกี่ยวกับองค์กร หรือเป็นผลวิจัยและค้นคว้าหรือสำรวจ หรือบทความแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ที่ยังไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาลงวารสารใดๆ
ขอบเขตเนื้อหาการตีพิมพ์
รับตีพิมพ์บทความ จำนวน 3 สาขา ได้แก่ 1) สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ 3) สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยบทความวิจัยและบทความวิชาการที่จะนำมาตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ปขมท. นี้ จะต้องได้รับการตรวจสอบทางวิชาการ (Peer review) ก่อน จากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ โดยผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน และผ่านความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการวารสาร โดยผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความไม่ทราบชื่อผู้เขียนและผู้เขียนไม่ทราบชื่อผู้ประเมินบทความ (Double blind) และผู้ประเมินไม่อยู่ในสังกัดเดียวกับผู้เขียนบทความ (CUAST Journal Template)
ประเภทของบทความ (บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
1. บทความวิจัย เป็นผลงานวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น เป็นผลงานที่แก้ไข ปรับปรุง หรือพัฒนางานประจำให้ดีขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง หรือเป็นงานวิจัยสถาบัน เป็นการดำเนินงานวิจัยเชิงประเมินเกี่ยวกับองค์กร หรือเป็นผลวิจัยและค้นคว้าหรือสำรวจ หรือบทความแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ และเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็น อันเป็นแนวทางนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกันและบังเกิดประสิทธิภาพในการทำงาน บทความวิจัยไม่ควรเกิน 8,000 คำ ประกอบด้วย บทนำ, วัตถุประสงค์การวิจัย, ระเบียบวิธีวิจัย, ผลการวิจัย, อภิปรายผล, สรุปผลการวิจัย, ข้อเสนอแนะการวิจัย, หมายเลขจริยธรรมการวิจัย IRB (ถ้ามี), กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และ บรรณานุกรม
2. บทความวิชาการ
เป็นบทความวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น เป็นผลงานนำเสนอการวิเคราะห์หรือการสังเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มปัจจุบันและเสนอทิศทางในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนางานประจำให้ดีขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง หรือเป็นงานเกี่ยวกับองค์กร หรือเป็นผลจากการค้นคว้าหรือสำรวจ หรือบทความแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ และเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็น รวมถึงอันเป็นแนวทางทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน บทความวิชาการไม่ควรเกิน 9,000 คำ ประกอบด้วย บทนำ, เนื้อหา, บทสรุป, ข้อเสนอแนะ, กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และ บรรณานุกรม
กำหนดเผยแพร่
ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน
ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม
ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม
จำนวนบทความต่อฉบับ
20-25 บทความ
ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์
วารสารวิชาการ ปขมท. (CUAST Journal) ไม่มีค่าธรรมเนียมการส่งบทความ ไม่มีค่าธรรมเนียมในกระบวนการจัดการบทความ ไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์เผยแพร่ใดๆ ทั้งสิ้น
หัวหน้าบรรณาธิการ
ศาสตราจารย์ ดร.ปริศวร์ ยิ้นเสน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี
สำนักพิมพ์
ที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้าง มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.)
หมายเหตุ วารสารวิชาการ ปขมท. (CUAST Journal) กำหนดค่าการตรวจความซ้ำซ้อนด้วยโปรแกรม CopyCatch ผ่านเว็บไซต์ Thaijo สำหรับบทความวิจัยและบทความวิชาการ โดยมีผลตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป