วารสารวิชาการ ปขมท. https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal <p>วารสารวิชาการ ปขมท. (CUAST Journal) จัดทำขึ้นโดยที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้าง มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและบทความวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา และเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ อันเป็นแนวทางนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกันและบังเกิดประสิทธิภาพในการทำงาน</p> <p>ผลงานที่ส่งมาตีพิมพ์ จะต้องเป็นผลงานทางวิชาการและบทความวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้น เป็นผลงานที่แก้ไข ปรับปรุง หรือพัฒนางานประจำให้ดีขึ้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง หรือเป็นงานวิจัยสถาบัน เป็นการดำเนินงานวิจัยเชิงประเมินเกี่ยวกับองค์กร หรือเป็นผลวิจัยและค้นคว้าหรือสำรวจ หรือบทความแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ที่ยังไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาลงวารสารใดๆ </p> <p><strong>ขอบเขตเนื้อหาการตีพิมพ์</strong><br /> รับตีพิมพ์บทความ จำนวน 3 สาขา ได้แก่ 1) สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ 3) สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยบทความวิจัยและบทความวิชาการที่จะนำมาตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ปขมท. นี้ จะต้องได้รับการตรวจสอบทางวิชาการ (Peer review) ก่อน จากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ โดยผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน และผ่านความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการวารสาร โดยผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความไม่ทราบชื่อผู้เขียนและผู้เขียนไม่ทราบชื่อผู้ประเมินบทความ (Double blind) และผู้ประเมินไม่อยู่ในสังกัดเดียวกับผู้เขียนบทความ (<a href="https://drive.google.com/drive/folders/1dO_ncL-qJkkMCMQfy0OmLOEjrLcQGf36?usp=sharing" target="_blank" rel="noopener">CUAST Journal Template</a>) <img src="https://wjst.wu.ac.th/public/site/images/admin/newdata12.gif" alt="" /></p> <p><strong>ประเภทของบทความ (บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)</strong><br /> 1. บทความวิจัย <br /> 2. บทความวิชาการ <br /><br /><strong>กำหนดเผยแพร่</strong><br /> ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน<br /> ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม<br /> ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม</p> <p><strong>จำนวนบทความต่อฉบับ</strong><br /> 20-25 บทความ</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong><br /> วารสารวิชาการ ปขมท. (CUAST Journal) ไม่มีค่าธรรมเนียมการส่งบทความ ไม่มีค่าธรรมเนียมในกระบวนการจัดการบทความ ไม่มีค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์เผยแพร่ใดๆ ทั้งสิ้น</p> <p><strong>หัวหน้าบรรณาธิการ</strong><br /> <a href="https://biography.oas.psu.ac.th/biography_management/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99/" target="_blank" rel="noopener">ศาสตราจารย์ ดร.ปริศวร์ ยิ้นเสน</a> คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี</p> <p><strong>สำนักพิมพ์</strong><br /> ที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้าง มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.)</p> <p><strong>หมายเหตุ</strong> วารสารวิชาการ ปขมท. (CUAST Journal) กำหนดค่าการตรวจความซ้ำซ้อนด้วยโปรแกรม CopyCatch ผ่านเว็บไซต์ Thaijo สำหรับบทความวิจัยและบทความวิชาการ โดยมีผลตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป</p> th-TH cuast.journal2@gmail.com (CUAST Journal) cuast.journal2@gmail.com (วารสารวิชาการ ปขมท. ) Tue, 01 Apr 2025 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การสำรวจความเป็นเลิศในการวิจัย: สถานการณ์ผลงานตีพิมพ์ที่อยู่ใน SDGs ของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้ SciVal ปี พ.ศ. 2561-2566 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/2013 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ผลงานตีพิมพ์ที่อยู่ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) 1-16 ของมหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2561-2566 ใช้วิธีการค้นหาและเก็บรวบรวมข้อมูลผลงานตีพิมพ์ทั้งหมดของมหาวิทยาลัย ที่ถูกจัดอยู่ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 1-16 จาก SciVal โดยวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนผลงานตีพิมพ์ จำนวนการอ้างอิง จำนวนการอ้างอิงต่อบทความ ค่า Field-Weighted Citation Impact (FWCI) และสาขาวิชา ผลการศึกษาพบว่า ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติของมหาวิทยาลัยมหิดลจากฐานข้อมูล SciVal ปี พ.ศ.2561-2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 23,386 บทความ และถูกจัดอยู่ในเป้าหมาย 1-16 จำนวน 10,935 บทความ โดยบทความในเป้าหมายที่ 3: มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี มีจำนวนมากที่สุดคือ 8,452 บทความ และมีจำนวนการอ้างอิงสูงที่สุดคือ 122,434 ครั้ง และบทความในเป้าหมายที่ 16: สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก มีจำนวนการอ้างอิงต่อบทความสูงที่สุดคือ 23.59 ครั้งต่อเรื่อง และค่า FWCI สูงที่สุดคือ 2.06 นอกจากนี้ยังพบว่าในสาขา Medicine มีจำนวนบทความสูงที่สุดใน 6 เป้าหมาย คือ เป้าหมายที่ 1: ขจัดความยากจน, เป้าหมายที่ 2: ขจัดความหิวโหย, เป้าหมายที่ 3: มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี, เป้าหมายที่ 5: ความเท่าเทียมทางเพศ, เป้าหมายที่ 10: ลดความเหลื่อมล้ำ และ เป้าหมายที่ 16: สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก ตามลำดับ สรุปผลการศึกษาพบว่ามหาวิทยาลัยมหิดลสามารถบูรณาการการวิจัยที่เกี่ยวกับ Medicine เข้าได้กับทุกเป้าหมาย โดยข้อมูลดังกล่าวใช้เป็นข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบการตัดสินใจ สามารถนำไปกำหนดนโยบาย และส่งเสริมสนับสนุนทิศทางการขับเคลื่อนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป</p> สุปรานี ลิ้มพวงแก้ว Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท. https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/2013 Thu, 12 Jun 2025 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและภาวะการมีงานทำของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ที่ผ่านการคัดเลือกประเภทคัดเลือกเรียนดีและประเภทความสามารถพิเศษ (โควตา) กับประเภทสอบคัดเลือกทั่วไป (รอบทั่วไป) https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/2027 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี จำแนกตามสาขาวิชาและประเภทของการผ่านการสอบคัดเลือก 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาจำแนกตามสาขาวิชาและประเภทของการผ่านการสอบคัดเลือก 3) ศึกษาภาวะการมีงานทำของนักศึกษา จำแนกตามสาขาวิชาและประเภทของการผ่านการสอบคัดเลือก กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี ปีการศึกษา 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลค่าคะแนนเฉลี่ยของแต่ละคน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) นักศึกษาคณะครุศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี จำนวน 389 คน เป็นนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกประเภท (โควตา) จำนวน 268 คน สำเร็จการศึกษาจำนวน 230 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก จำแนกตามสาขาวิชาพบว่าทุกสาขามีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก และนักศึกษาประเภท (รอบทั่วไป) จำนวน 121 คน สำเร็จการศึกษาจำนวน 102 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก จำแนกตามสาขาวิชาพบว่า สาขาวิชาภาษาอังกฤษมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีเยี่ยม สาขาการศึกษาปฐมวัย ภาษาไทย สังคมศึกษา ดนตรีศึกษา คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ทั่วไปมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก และสาขาวิชาพลศึกษามีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี</p> <p>2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี ที่รับเข้าศึกษาโดยระบบรอบทั่วไป <br>มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักศึกษาที่รับเข้าศึกษาโดยระบบโควตา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>3) นักศึกษาประเภทโควตา สำเร็จการศึกษาจำนวน 230 คน มีงานทำจำนวน 179 คน คิดเป็นร้อยละ 77.83 และนักศึกษาประเภททั่วไป สำเร็จการศึกษาจำนวน 102 คน มีงานทำจำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 81.37</p> อรวรรณ ปันทะนะ Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท. https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/2027 Fri, 13 Jun 2025 00:00:00 +0700 ผลของโครงการ HAPPY MONEY @TROPMED ต่อพฤติกรรมและความรู้ด้านการเงินและ การบรรลุเป้าหมายการเก็บออม ของบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/1996 <p>มหาวิทยาลัยมหิดล มีโครงการสร้างความยั่งยืนด้านการเงิน ด้วยการส่งเสริมความรู้การลงทุนแก่บุคลากรในมหาวิทยาลัยมหิดล โดยร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดทำ “โครงการส่งเสริมทักษะทางการเงินสำหรับคนวัยทำงาน (Fin ดี Happy Life)” ซึ่งคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ได้เข้าร่วมโครงการและจัดกิจกรรมเพิ่มเติมเพื่อส่งต่อความรู้ให้กับบุคลากรภายในคณะฯ ภายใต้ชื่อ “โครงการ HAPPY MONEY @TROPMED” ผ่านวิทยากรประจำหน่วยงาน</p> <p>ผู้วิจัยสำรวจผลการดำเนินงานโครงการ HAPPY MONEY @TROPMED ต่อพฤติกรรมและความรู้ด้านการเงินและการบรรลุเป้าหมายการเก็บออม ของบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อนที่เข้าร่วมโครงการฯ ผลการวิจัย พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่ บรรลุเป้าหมายการเก็บออม ร้อยละ 70.1 มีเงินออมขณะร่วมโครงการฯ ทั้งสิ้น 364,970.50 บาท (เฉลี่ย 4,010.66 บาทต่อคน) ผลการตรวจสุขภาพการเงิน ก่อนร่วมโครงการ พบว่าด้านความรู้ทัศนคติ มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด หลังร่วมโครงการ ในภาพรวม พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นทั้ง 4 ด้าน (ด้านการใช้จ่าย ด้านการออม ด้านสินเชื่อ และด้านความรู้ทัศนคติ) โดยด้านการใช้จ่ายและด้านการออม มีคะแนนเพิ่มขึ้นและมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่ด้านสินเชื่อและด้านความรู้ทัศนคติ มีคะแนนเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านความพึงพอใจในการร่วมโครงการฯ พบว่าผู้ร่วมโครงการฯ มีความพึงพอใจในการร่วมโครงการในระดับสูง</p> <p>ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า โครงการ HAPPY MONEY @TROPMED มีประโยชน์ต่อการสร้างความยั่งยืนทางด้านการเงิน ของบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน โดยควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องในอนาคต เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ร่วมโครงการ เพื่อให้บรรลุผลในการสร้างความยั่งยืนทางด้านการเงิน และเพื่อให้คณะเวชศาสตร์เขตร้อนบรรลุเป้าหมายในการเป็นองค์กรแห่งคุณภาพเพื่อความยั่งยืน</p> ไพริน บุญประเสริฐ, ปัณณวิช ปรางอำพร, ศิริอรุณ แซ่โซว, ชุติมา ปฐมกำเนิด Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท. https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/1996 Fri, 06 Jun 2025 00:00:00 +0700 ระบบการจองห้องและครุภัณฑ์ออนไลน์ศูนย์วินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย ทุ่งใหญ่ https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/2019 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาระบบการจองห้องและครุภัณฑ์ออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อระบบการจองห้องและครุภัณฑ์ออนไลน์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบการจองห้องและครุภัณฑ์ออนไลน์ ศูนย์วินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย ทุ่งใหญ่ แบบประเมินความพึงพอใจได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ก่อนนำไปใช้เก็บข้อมูลและดำเนินการ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบการจองห้องและครุภัณฑ์ออนไลน์ ศูนย์วินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย ทุ่งใหญ่ จำนวน 20 คน ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานด้านเนื้อ ด้านการออกแบบและด้านการนำไปใช้งาน พบว่าผู้ใช้ระบบการจองห้องและครุภัณฑ์ออนไลน์ ศูนย์วินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มทร.ศรีวิชัยทุ่งใหญ่มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในทุกด้าน ค่าเฉลี่ยรวม 4.71±0.44 , 4.81±0.39 และ 4.83±0.37 ตามลำดับ ดังนั้นจากผลการพัฒนาระบบการจองห้องและครุภัณฑ์ออนไลน์ ศูนย์วินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ คณะสัตว-แพทยศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย ทุ่งใหญ่ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอยู่ในระดับดีมากซึ่งมีประโยชน์สำหรับการนำระบบการจองห้องและครุภัณฑ์ออนไลน์ ศูนย์วินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มทร.ศรีวิชัยทุ่งใหญ่ไปใช้ที่ศูนย์วินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ต่อไป</p> นันทพร ชูเรือง, วาสนา จิตสมุทร์ , สุภาพร กาญจนศิราธิป Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท. https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/2019 Fri, 13 Jun 2025 00:00:00 +0700 การรับรู้ข่าวสารและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/1997 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ข่าวสารผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ และความพึงพอใจต่อการประชาสัมพันธ์ของผู้ใช้บริการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามสื่อประชาสัมพันธ์และกลุ่มผู้ใช้บริการโดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใช้บริการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์และนักวิจัย บุคลากรของมหาวิทยาลัย และบุคคลภายนอก จำนวน 1,412 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ข่าวสารการประชาสัมพันธ์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สื่อประชาสัมพันธ์ที่รับรู้ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ สื่อกิจกรรม รองลงมาคือ สื่อออนไลน์ สื่อบุคคล สื่อโสตทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ ตามลำดับ โดยนิสิตระดับปริญญาตรี รับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารผ่านสื่อกิจกรรมมากที่สุด นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา และบุคคลภายนอกรับรู้ผ่านสื่อออนไลน์มากที่สุด ส่วนอาจารย์นักวิจัย และบุคลากรของมหาวิทยาลัย รับรู้ข่าวสารผ่านสื่อบุคคลมากที่สุด ส่วนความพึงพอใจที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา พบว่าผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมากที่สุดคือ สื่อออนไลน์ รองลงมาคือ สื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อกิจกรรม และสื่อโสตทัศน์ ตามลำดับ นิสิตระดับปริญญาตรี มีความพึงพอใจสื่อออนไลน์มากที่สุด อยู่ในระดับมาก นิสิตระดับบัณฑิตศึกษามีความพึงพอใจสื่อออนไลน์มากที่สุด อยู่ในระดับมาก อาจารย์และนักวิจัยมีความพึงพอใจสื่อออนไลน์มากที่สุด อยู่ในระดับมาก บุคลากรมหาวิทยาลัยมีความพึงพอใจสื่อบุคคลมากที่สุด อยู่ในระดับมาก และ บุคคลภายนอกมีความพึงพอใจสื่อบุคคลมากที่สุด อยู่ในระดับมากที่สุด</p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> นิสาชล กาญจนพิชิต, สุภาวดี เพชรชื่นสกุล Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท. https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/1997 Fri, 06 Jun 2025 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ผลการประเมินตนเองด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/2022 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ผลการประเมินตนเองด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยรายการสำรวจสภาพความปลอดภัยตามระบบมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReL Checklist) และรายการสำรวจสภาพความปลอดภัยทางชีวภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (BSL Checklist) ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลค่าคะแนนของแต่ละองค์ประกอบด้านความปลอดภัยของปี พ.ศ. 2565 และปี พ.ศ. 2566 เทียบกับปี พ.ศ. 2564 พบว่า (1) องค์ประกอบด้านความปลอดภัยจากรายการสำรวจด้วย ESPReL Checklist ในปี พ.ศ. 2565 พบ 5 องค์ประกอบหลักจาก 7 องค์ประกอบหลักมีค่าคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และพบ 1 องค์ประกอบย่อยที่มีค่าคะแนนน้อยกว่าร้อยละ 80.0 คือ องค์ประกอบที่ 3.4 การบำบัดและกำจัดของเสีย (2) องค์ประกอบด้านความปลอดภัยจากรายการสำรวจ ESPReL Checklist ในปี พ.ศ. 2566 พบ 1 องค์ประกอบหลักที่มีค่าคะแนนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ คือ องค์ประกอบที่ 1 การบริหารระบบการจัดการด้านความปลอดภัย และพบ 3 องค์ประกอบย่อยที่มีค่าคะแนนลดลงมากกว่าร้อยละ 3.0 ได้แก่ องค์ประกอบที่ 2.1 การจัดการข้อมูลสารเคมี องค์ประกอบที่ 5.1 การบริหารความเสี่ยง และองค์ประกอบที่ 5.2 การเตรียมความพร้อม/ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ดังนั้น ห้องปฏิบัติการควรดำเนินการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย โดยเฉพาะองค์ประกอบที่มีค่าคะแนนลดลงอย่างมีนัยสำคัญอย่างเร่งด่วน (3) องค์ประกอบด้านความปลอดภัยจาก BSL Checklist ในปี พ.ศ. 2564–พ.ศ. 2566 พบว่า ห้องปฏิบัติการมีการธำรงรักษาสภาพองค์ประกอบด้านความปลอดภัยทางชีวภาพทั้ง 2 องค์ประกอบ</p> นันทนัช เมืองโคตร, อรอนงค์ คล้ายชนที Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท. https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/2022 Fri, 13 Jun 2025 00:00:00 +0700 การจัดระบบข้อมูลการฝึกอบรมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยทักษิณ https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/1482 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลการฝึกอบรมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้งานระบบข้อมูลการฝึกอบรม รวมถึงเพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบข้อมูลการฝึกอบรมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยทักษิณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหารและผู้ดำเนินโครงการ ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อออนไลน์ และผู้เข้ารับการฝึกอบรมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ แบบประเมินประสิทธิภาพการใช้งานระบบ และแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบข้อมูลการฝึกอบรมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลที่ต้องการเพิ่มเติม มี 3 ประเด็น ได้แก่ ผลงานด้านการวิจัยที่ผ่านมา ประเด็นที่สนใจในการศึกษาวิจัย เครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยที่สนใจ ผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้งานระบบข้อมูลการฝึกอบรมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบสื่อออนไลน์ ภาพรวมอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 3.93 และระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบข้อมูลการฝึกอบรมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย 4.59 ระบบข้อมูลการฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น สามารถจัดเก็บข้อมูลของหน่วยผู้จัดโครงการได้ครบถ้วนมากขึ้น ประหยัดเวลา ประหยัดทรัพยากร ในการส่งเอกสารและสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในระบบฐานข้อมูลงานวิจัยของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น</p> ธรรญชนก ขนอม, อนุกูล ศรีวรรณ Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท. https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/1482 Thu, 05 Jun 2025 00:00:00 +0700 การศึกษาประสิทธิผลของระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/2010 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์ และเพื่อประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา โดยเก็บข้อมูลจาก บุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 70 คน ผลการวิจัยพบว่า ในเชิงปริมาณ ระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์สามารถลดเวลาในการแจ้งซ่อมและกระบวนการซ่อม ร้อยละ 35 ลดปริมาณกระดาษลง ร้อยละ 100 ลดจำนวนเงิน ร้อยละ 100 ในเชิงคุณภาพ ระบบสามารถสำรองข้อมูลเอกสารในรูปแบบออนไลน์ได้เป็นอย่างดีไม่ทำให้ข้อมูลการแจ้งซ่อมเกิดการสูญหายเหมือนการใช้ใบแจ้งซ่อมที่เป็นกระดาษในระบบเดิม ระดับความพึงพอใจด้านประสิทธิภาพของระบบแจ้งซ่อมออนไลน์ ก่อนการใช้ระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์ ในภาพรวมด้านประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.15 หลังการปรับปรุง ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 โดยมีระดับ ความพึงพอใจที่เพิ่มมากขึ้น ระดับความพึงพอใจด้านประโยชน์ของระบบแจ้งซ่อมออนไลน์ พบว่า ก่อนการปรับปรุง ในภาพรวมด้านประโยชน์อยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.16 หลังการปรับปรุง ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 โดยมีระดับความพึงพอใจที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามควรสนับสนุนให้มีการดำเนินการแจ้งซ่อมแบบออนไลน์อย่างสมบูรณ์แบบ และควรมีการศึกษาประสิทธิภาพการใช้งานของระบบการแจ้งซ่อมออนไลน์ในระยะยาว เพื่อปรับปรุงการใช้งานของระบบต่อไป</p> วสุ สุริยะ , ปภาอร เขียวสีมา, พรพัฒน์ ธีรโสภณ Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท. https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/2010 Wed, 11 Jun 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการตรวจสอบภายใน สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/1670 <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการตรวจสอบภายใน สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2) ประเมินผลระบบสารสนเทศสำหรับการตรวจสอบภายใน สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยผู้วิจัยได้ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการตรวจสอบภายในของสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากนั้น ดำเนินการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการตรวจสอบภายในที่ได้นำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลของระบบ รวมถึงบูรณาการข้อมูลดิจิทัลกับระบบสารสนเทศอื่นของสถาบันฯ ทำให้ได้ระบบสารสนเทศสำหรับการ‍ตรวจสอบภายใน สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วย 8 ประเด็นการตรวจสอบ ได้แก่ 1) การติดตามผลการตรวจสอบครั้งก่อน 2) การดำเนินงานด้านการรับ-นำส่งเงิน 3) การดำเนินงานด้านงานวิจัย 4) การดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ 5) การดำเนินงานด้านการให้เช่าสถานที่/ค่าสาธารณูปโภค 6) รายงานกองทุนเงินส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยประจำปี 7) ผลการดำเนินงานตามคำรับรองกับมหาวิทยาลัย 8) การควบคุมภายในด้านการจ่ายเช็ค ผลที่ได้จากการประเมินคุณภาพของการจัดการข้อมูลสำหรับการตรวจสอบภายในโดยใช้ระบบงานเดิมและระบบงานที่พัฒนา พบว่า ระบบสารสนเทศสำหรับการตรวจสอบภายใน สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช่วยลดระยะเวลาจัดเตรียมเอกสารก่อนการตรวจสอบ‍ภายใน ลดจำนวนเอกสารที่ใช้ในการตรวจสอบภายใน มีกระบวนการกำกับติดตามและควบคุมความเสี่ยง และสามารถตรวจสอบภายในผ่านช่องทางออนไลน์ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ใช้งานระบบสารสนเทศสำหรับการตรวจสอบภายใน มีความพึงพอใจต่อระบบโดยรวมระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 และค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านความง่ายต่อการ‍ใช้‍งาน และด้านการใช้งานระบบโดยรวม รองลงมา คือ ด้านตรงตามความต้องการ ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และด้านประสิทธิภาพ</p> กุลางกูร พัฒนเมธาดา, พรรณี ศรีเรือน Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท. https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/1670 Thu, 05 Jun 2025 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ของปัจจัยการรับรู้ที่ส่งผลต่อกระบวนการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศของวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/2012 <p>การรับรู้ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศและเป็นแรงขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จ ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานและกระบวนการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ และ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานกับกระบวนการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากบุคลากรสายผู้บริหาร บุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 85 ตัวอย่าง ซึ่งข้อมูลการรับรู้และการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศถูกวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และกระบวนการดำเนินงานเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และความสัมพันธ์หลายตัวตัวแปรแบบถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ระดับการรับรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งสนับสนุนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านผู้บริหารและนโยบาย และด้านการบริหารจัดการ ตามลำดับ การรับรู้กระบวนการดำเนินงานกระบวนการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศด้วยระบบ PDCA ทั้ง 4 ด้าน มีระดับการรับรู้อยู่ในระดับมาก โดยด้านการวางแผนการปฏิบัติงาน (Plan) มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการนำผลประเมินมาปรับปรุง (Action) และด้านการตรวจสอบประเมินผล (Check) ตามลำดับ สำหรับการวิเคราะห์ทำนายปัจจัยการรับรู้ที่ส่งผลต่อกระบวนการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ พบว่า สามารถร่วมกันอธิบายความสัมพันธ์ได้ร้อยละ 69 สมการพยากรณ์ความสัมพันธ์ คือ &nbsp;โดยมี มีตัวแปร 2 ตัวแปรที่สามารถร่วมทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ด้านผู้บริหารและนโยบาย &nbsp;และด้านวัฒนธรรมองค์กร &nbsp;ดังนั้นผลจากการศึกษาเป็นข้อมูลเสนอผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทบทวน และปรับปรุงการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาที่เป็นเลิศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น</p> ธัญฉัตร ศรีธัญรัตน์, วัชรพงษ์ แสงนิล Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท. https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/2012 Thu, 12 Jun 2025 00:00:00 +0700 การศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนกลยุทธ์ของบุคลากรคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/1994 <p>การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนกลยุทธ์ของบุคลากร และเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลต่อระดับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนกลยุทธ์ของบุคลากร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้ปฏิบัติงานในคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ อาจารย์ชาวไทย จำนวน 113 คน และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนวิชาการ จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสหสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปรขึ้นไป ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 111 คน คิดเป็นร้อยละ 65.7 มีอายุระหว่าง 37 – 46 ปี จำนวน 106 คน คิดเป็นร้อยละ 62.7 ระดับการศึกษา ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 36.7 มีตำแหน่งเป็นบุคลากรสายวิชาการ จำนวน 109 คน คิดเป็นร้อยละ 64.5 และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในคณะศิลปศาสตร์ ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 11 – 15 ปี จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 42.6 ผู้ตอบแบบสอบถามมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนกลยุทธ์ของบุคลากรคณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนกลยุทธ์ด้านการดำเนินงานตามแผน มีส่วนร่วมเป็นอันดับที่หนึ่ง และจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า บุคลากรคณะศิลปศาสตร์ที่มีเพศ อายุ และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในคณะศิลปศาสตร์ต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนกลยุทธ์ของคณะฯ ในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน และบุคลากรคณะศิลปศาสตร์ที่มีระดับการศึกษาและตำแหน่งต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนกลยุทธ์ ในภาพรวมแตกต่างกัน</p> ณภิชญา วงศ์เทพบุตร Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท. https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/1994 Thu, 05 Jun 2025 00:00:00 +0700 การใช้แอ็กทีฟ ไดเรกทอรีในการยืนยันตัวตนและกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งานสำหรับระบบสารสนเทศโรงพยาบาล https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/2024 <p>ในยุคแห่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการบริหารงานต่าง ๆ ขององค์กรในปัจจุบันล้วนขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารงานโรงพยาบาลก็เช่นเดียวกัน ซึ่งระบบสารสนเทศโรงพยาบาลนั้นเป็นระบบที่มีขนาดใหญ่ ประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อย ๆ หลายระบบ ทำงานสอดประสาน สนับสนุน เชื่อมต่อข้อมูลเข้าด้วยกัน ตลอดจนมีผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ทั้งภายในหน่วยงานและต่างหน่วยงาน ดังนั้นการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศในโรงพยาบาลต้องมีการตรวจสอบยืนยันตัวตนและจัดการสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลที่มีความสำคัญเพื่อรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน</p> <p>ระบบ Active Directory เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการจัดการและควบคุมการเข้าถึงข้อมูลในระบบสารสนเทศโรงพยาบาล โดยมีบทบาทสำคัญในการจัดการการยืนยันตัวตนและการกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งาน เช่น การกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงเอกสารทางการแพทย์ การตรวจสอบสิทธิ์ในการเข้าถึงแฟ้มข้อมูลของผู้ป่วยและการจัดการสิทธิ์การเข้าถึงระบบโดยรวม ด้วยความสามารถในการจัดการและควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ Active Directory จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่เหมาะสมและช่วยให้ระบบสารสนเทศโรงพยาบาลมีความปลอดภัยและเชื่อถือได้ในการใช้งาน</p> วิภาวี รื่นจิตต์ Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท. https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/2024 Sat, 14 Jun 2025 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ความจำเป็นของระบบบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์ในการแก้ไขปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์ภายใต้สถานการณ์โรคระบาด https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/2025 <p>ระบบการบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์กับการแก้ไขเครื่องคอมพิวเตอร์ในสถานการณ์โรคระบาดมีความสำคัญใน การพัฒนาความก้าวหน้าขององค์กรเนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือหลักในการปฏิบัติงานดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องได้รับ การแก้ไขเมื่อเกิดความเสียหายหรือความบกพร่องตามอายุการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบกับในยุคการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านการสัมผัสโดยตรงกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีความเสี่ยง ซึ่งองค์กรจึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบการปฏิบัติงานเพื่อมาช่วยในการบริหารจัดการกับความเสี่ยงนี้ บทความวิชาการนี้จึงมุ่งให้ความสำคัญกับระบบการบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่โดยการวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยระบบการบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบเดิม และสังเคราะห์การแก้ไขเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยระบบบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใหม่ ซึ่งผลลัพธ์ในเชิงบวกที่ตามหลังจากใช้ระบบการบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่ คือ 1) สามารถควบคุมและแก้ปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์ได้จากระยะไกล 2) สามารถตรวจสอบระยะเวลาการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ได้ 3) สามารถติดตามและค้นประวัติการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ในองค์กรได้อย่างรวดเร็ว 4) สามารถจัดทำรายงานประวัติการแก้ไขปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์ 5) สามารถประหยัดงบประมาณในการประสานงานแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์จนเกิดประสิทธิภาพด้าน ความปลอดภัยและประสิทธิผลของการดำเนินงานในองค์กรสู่การลดใช้จ่ายด้านการจัดการคอมพิวเตอร์อย่างยั่งยืน</p> สคมวิชช์ สุขภัทริทธิกุล , กฤษณะ ปิ่นสวาสดิ์ Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการ ปขมท. https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so19.tci-thaijo.org/index.php/CUASTJournal/article/view/2025 Fri, 13 Jun 2025 00:00:00 +0700