การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับกระบวนการทำงานหุ่นยนต์อัตโนมัติ (Robotic Process Automation: RPA) ในงานบัญชีและการเงิน
คำสำคัญ:
การยอมรับเทคโนโลยี, กระบวนการทํางานหุ่นยนต์อัตโนมัติ (RPA), งานบัญชีและการเงินบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับกระบวนการทำงานหุ่นยนต์อัตโนมัติ (Robotic Process Automation: RPA) ในงานบัญชีและการเงิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปฎิบัติงานในงานบัญชีและการเงิน ที่มีประสบการณ์ในการใช้งานซอฟแวร์หุ่นยนต์อัตโนมัติ ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนจังหวัดชลบุรีและระยอง จำนวน 450 ตัวอย่าง และสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบเฉพาะเจาะจงผ่านการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ที่มีลักษณะคำถามปลายปิด และทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม ทั้งนี้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ เพื่อกำหนดองค์ประกอบร่วม และจัดกลุ่มองค์ประกอบใหม่ ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบของปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการยอมรับกระบวนการทำงานหุ่นยนต์อัตโนมัติ (Robotic Process Automation: RPA) ในงานบัญชีและการเงิน ประกอบด้วย 4 ปัจจัย 13 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. ปัจจัยด้านเทคโนโลยี (Technology Factors) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความยุ่งยากซับซ้อน ประโยชน์เชิงเปรียบเทียบ และความเข้ากันได้ 2. ปัจจัยด้านองค์กร (Organization Factors) ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ และการฝึกอบรม 3. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (Environment Factors) ประกอบไปด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ความกดดันจากภาวะการแข่งขัน และการส่งเสริมจากภาครัฐ 4. ปัจจัยด้านสมรรถนะทางการบัญชี (Accounting Competency) ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ ทักษะด้านเทคโนโลยี ทักษะการวิเคราะห์แก้ไขปัญหา ทักษะการปรับตัว ทักษะการสื่อสาร และคุณธรรมจริยธรรม
References
พัชมณ พลายมี. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการนำนวัตกรรมไปใช้ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs). สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ภัทราวดี โศจิศรีสกุล. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับและการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้งานของบุคลากรในส่วนงานการผลิต. ปริญญานิพนธ์การจัดการมหาบัณทิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
วริยา ปานปรุง. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่มีต่อคุณลักษณะของวิชาชีพบัญชีในยุค ไทยแลนด์ 4.0. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต คณะวิชาการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.
สุรพงษ์ คงสัตย์ และธีรชาติ ธรรมวงค์. (2558). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2565 จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329.
อรพรรณ คงมาลัย และอัญณิฐา ดิษฐานนท์. (2562). เทคนิควิจัย ด้านการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม. (พิมพ์ ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อรรถไกร พันธุ์ภักดี. (2559). การเปรียบเทียบผลการใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดทุนทางสังคมระหว่างการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจกับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. 11 (2), 46-61.
อัญณิฐา ดิษฐานนท์, และภริตา พงษ์พาณิชย์. (2560). ปัจจัยหลักที่ใช้ในการตัดสินใจนำระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) มาใช้ในอุตสาหกรรมธุรกิจประกันชีวิตในประเทศ. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 5 (1), 99-112.
Chu, S. K., Cheung, R., & Lee, R. (2011). An empirical investigation of the relationship between IT governance and IT performance: An institutional theory perspective. Journal of Information Systems, 25(1), 149-180.
Deloitte (2018). Internal controls over financial reporting considerations for developing and implementing bots. Retrieved September 1, 2018 from https://dart.deloitte.com/USDART/pdf/a754eed6-c33e-11e8-8215-7ddf50acb392.
Field, A. (2017). Discovering Statistics Using IBM SPSS Statistics. (5 ed.). London: SAGE edge.
Hair, J. F., Balck, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. (7 ed.). New York: Pearson.
Holmberg, D., & Härning-Nilsson, M. (2020). Managing Robotics Process Automation (RPA)-A Qualitative Case Study of the Adoption and Implementation Process in the Banking Sector. Master’s Programme in International Strategic Management, School of Economics and Management Lund University.
Juntunen, K. (2018). Influence of Contextual Factors on the Adoption Process of Robotic Process Automation (RPA): Case Study at Stora Enso Finance Delivery. Master Programme in Industrial Management and Innovation, Uppsala University.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. (2 ed.). New York: McGraw-Hill.
Nurdiana, N., & Nurhayati, D. (2021). The Effect of Financial Literacy and Information Technology Competency on the Use of Financial Technology among Accounting Students. In Journal of Physics: Conference Series (Vol. 1772, No. 1, p. 012066). IOP Publishing.
Paula Monteiro, A., Vale, J., Leite, E., Lis, M., & Kurowska-Pysz, J. (2022). The Mpact of Information Systems and Non-financial Information on Company Success. International Journal of Accounting Information Systems. 45, 100557.
Sankaran, R., & Chakraborty, S. (2022). Factors Impacting Mobile Banking in India: Empirical Approach Extending UTAUT2 with Perceived Value and Trust. IIM Kozhikode Society & Management Review. 11 (1), 7-24.
Sakdiwong, S., & Saraphat, C. (2021). The Factors Affecting the Acceptance of Robotic Process Automation: Evidence from Accounting Professionals in Thailand. Journal of Business and Retail Management Research. 15 (2), 60-68.
L. G. Tornatzky, M. Fleischer, and A. K. Chakrabarti. (1990). The Processes of Technological Innovation. Lexington, Mass: Lexington Books.
Wewerka, J., Dax, S., & Reichert, M. (2020). A user Acceptance Model for Robotic Process Automation. Proceedings-2020 IEEE 24th International Enterprise Distributed Object Computing Conference (EDOC) October 05-08, 2020 (97-106). Eindhoven: Netherlands.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.