การวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของท่าอากาศยานที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของสายการบิน

ผู้แต่ง

  • ดร.ธงชัย จีระดิษฐ์ สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

ลักษณะทางกายภาพของท่าอากาศยาน, การดำเนินงานของสายการบิน, ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสายการบิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของท่าอากาศยานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสายการบิน 2) เพื่อหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของสายการบินให้สอดคล้องกับลักษณะทางกายภาพของท่าอากาศยาน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 ด้าน คือ ด้านการดำเนินงานท่าอากาศยาน 4 คน ด้านการดำเนินงานสายการบิน 4 คน ด้านการควบคุมจราจรทางอากาศ 4 คน รวม 12 คน และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมจากการดำเนินงานของสายการบินบริเวณลานจอดอากาศยาน อาคารผู้โดยสารในท่าอากาศยาน ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้วิธีตรวจสอบแบบสามเส้า เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพของท่าอากาศยานมีความเชื่อมโยงกับลักษณะทางกายภาพของท่าอากาศยานซึ่งประกอบด้วยเขตการบินและเขตนอกการบิน 2) ลักษณะทางกายภาพของท่าอากาศยานส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของสายการบิน ดังนี้ (1) ประสิทธิภาพการตรงต่อเวลาของเที่ยวบิน (2) การจัดสรรเวลาเข้าหรือออกท่าอากาศยาน และ ตารางการบินของสายการบิน (3) ความหนาแน่นของการจราจรทางอากาศจากลักษณะทางกายภาพของท่าอากาศยาน (4) ประสิทธิภาพและความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารผู้โดยสาร (5) ความพร้อมของอุปกรณ์ภาคพื้นที่บริการในลานจอดอากาศยาน (6) ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณท่าอากาศยานและพื้นที่ใกล้เคียง ผลวิจัยยังพบว่า มีสาเหตุเที่ยวบินล่าช้าจากสภาพอากาศแปรปรวน และ ผลกระทบด้านเทคนิคของอากาศยานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสายการบิน

References

ท่าอากาศยานมิวนิก. (2560). รู้จักกับ Pepper หุ่นยนต์อัจฉริยะที่จะช่วย “สร้างความสุข” ให้กับคนรอบตัว. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2565 จาก https://www.techtalkthai.com/pepper-humanoid-robot-by-softbank/.

รัตนะ บัวสนธ์. (2552). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: คำสมัย.

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). (2557). รายงานความรับผิดชอบต่อสังคม 2557. กรุงเทพฯ: บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน).

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). (2564). รายงานรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนประจำปี 2564. กรุงเทพฯ: บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน).

สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA). (2564). Passenger Demand Continues to Struggle. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2565 จาก https://www.airlines.iata.org.

สราลักษณ์ เรืองหุ่น. (2563). กลยุทธ์การบริหารจัดการหลุมจอดอากาศยานท่าอากาศยานดอนเมือง. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สถาบันการบินพลเรือน, กรุงเทพฯ.

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2563). ผลิตภัณฑ์บริการเสริมของสายการบิน. กรุงเทพฯ: สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย.

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย, กองอัตราค่าบริการ. (2564). การเพิ่มขึ้นของจำนวนเส้นทางบิน จำนวนเที่ยวบินและจำนวนที่นั่ง. กรุงเทพฯ: สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย.

Airports Council International. (2014). ACI World Facilitation and Services Standing Committee. Best Practice Guidelines: Airport Service Level Agreement Framework. Retrieved June 5, 2022 from http://www.aci.aero/AboutACI/Priorities/Facilitation/Airport-Service-LevelsAgreement-Framework.

Alnowibet, K. Khireldin, A. Abdelawwad, M. Mohamed, A. (2022). Airport terminal Building Capacity Evaluation Using Queuing System. Alexandria Engineering Journal. (Volume 61), 10109–10118.

Cohen, L. & Manion, L. (1994): Research Methods in Education. London: Croom Helm.

Cumberbatch, G. (2016). An Operational Analysis of 5 Top Airports. A Comparative Analysis of Airport Operational. Embry-Riddle Aeronautical University.

Federal Aviation Administration. (2008). Pilot’s Handbook of Aeronautical Knowledge. FAA, USA.

International Civil Aviation Organization: ICAO. (2018). Annex 14, Aerodrome. ICAO, Canada.

Ivanov, N. Netjasov, F. Jovanovic, R. Starita, S. & Strauss, A. (2017). Air Traffic Flow Management Slot Allocation to Minimize Propagated Delay and Improve Airport Slot Adherence. Transportation Research Part A. (Volume 95), 183–197.

Jeeradist, T. Thawesaengskulthai, N. Sangsuwan, T. (2016). Using TRIZ to Enhance Passengers’ Perceptions of an Airline’s Image Through Service Quality and Safety. Journal of Air Transport Management. (Volume 53), 31–139.

Jeeradist, T. (2020). The Integration of Safety and Service Quality Management to Improve Airline Service. PalArch's Journal of Archaeology of Egypt/Egyptology. 17 (7), 8356-8370.

Jeeradist, T. (2021). SERVQUAL and Kano’s Model Integrated to Develop a Conceptual Model of Airport Terminal Service Implementation. Ural Environmental Science Forum “Sustainable Development of Industrial Region” (UESF-2021), February 17-19, 2021 - Chelyabinsk (Russia), Published online 20 May 2021, Retrieved July, 21 2022 from https://www.e3s-conferences.org/articles/e3sconf/abs/2021/34/contents/contents.html.

Marquez, V. (2019) Landside I Airside: Why Airports Are the Way They Are. First Edition. Palgrave Macmillan.

SITA. (2016). Air Transport Industry Insights: The Future is Connected. Retrieved July 28, 2022 from https://www.sita.aero/globalassets/docs/surveys--reports/360-degree-report-the-future-isconnected-2016.

SITA. (2017). SITA Shows the way for iBeacon Technology at Airports. Retrieved July 28, 2022 from http://www.sita.aero/pressroom/news-releases/sita-shows-the-way-for-ibeacon-technology-at-airports.

Young, Seth B. Wells, Alexander T. (2019). Airport Planning and Management. Seventh Edition. McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-15

How to Cite

จีระดิษฐ์ ธ. . (2023). การวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของท่าอากาศยานที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของสายการบิน. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 19(3), 143–158. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/91