การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีในการซื้อสินค้าจากเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา ตู้เต่าบิน

ผู้แต่ง

  • เอมาย อิ่มพิทักษ์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รองศาสตราจารย์ ดร.อรพรรณ คงมาลัย วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ, ความภักดีของผู้บริโภค, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีในการซื้อสินค้าจากเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา ตู้เต่าบิน เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการซื้อสินค้าจากตู้เต่าบินมากกว่า 1 ครั้ง ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาโดยไม่จำกัดเพศ อายุตั้งแต่ 13–59 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 500 ตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ลักษณะคำถามแบบปลายปิด มีการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม ใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดกลุ่มองค์ประกอบใหม่และระบุองค์ประกอบร่วม ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีในการซื้อสินค้าจากเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา ตู้เต่าบิน ประกอบด้วย 4 ปัจจัย 12 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยภาพลักษณ์ของตราสินค้า ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ คุณค่าตราสินค้า ความเชื่อมโยงกับตราสินค้า และตัวตนของตราสินค้า ปัจจัยคุณภาพของข้อมูล ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความง่ายในการเข้าใจ ความสมบูรณ์ และความถูกต้องแม่นยำ ปัจจัยคุณภาพของระบบ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความง่ายในการใช้งาน ความพร้อมของระบบ และความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ปัจจัยคุณภาพของบริการ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ การตอบสนอง และการทำให้บรรลุวัตถุประสงค์

References

ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์. (2564). ส่อง 10 ปรากฏการณ์ค้าปลีกไทยปี 2565-2566. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2565 จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/979278.

ถิรดา มธุรสพรวัฒนา. (2561). ทัศนคติและปัจจัยความสำเร็จของระบบสารสนเทศที่มี อิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการ Netflix ในแต่ละ Generation. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สถิติกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2564. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2565 จาก https://webportal.bangkok.go.th/public/user_files_editor/130/BMA%20STATISTIC/2564/Statistical%20Profile%20of%20BMA%202021.pdf.

สูปียา มะ, อูไมซะห์ หะยีหวัง และอนุวัต สงสม. (2563). อิทธิพลของคุณภาพระบบ และความพึงพอใจ ต่อความภักดีในการใช้แอปพลิเคชันธนาคารของ ผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 12 (2), 113-124.

สุพัตรา กาญจโนภาส และคณะ, (2562). อิทธิพลของนวัตกรรมการจัดการคุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ความไว้วางใจ และคุณค่าตราสินค้าที่มีต่อพฤติกรรมผู้บริโภคของธุรกิจตัวแทนการท่องเที่ยวแบบออนไลน์ในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย. 24 (1), 58-71.

อานุมาต มะหมัด และพีรภาว์ ทวีสุข. (2561). ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปประเภทไส้กรอกในร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร. สุทธิปริทัศน์. 32 (103), 131-145.

อัญชลี สิทธิสังข์ และ สายพิณ ปั้นทอง. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35 (4), 42-60.

อรพรรณ คงมาลัย และอัญณิฐา ดิษฐานนท์. (2562). เทคนิควิจัยด้านการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรรถไกร พันธุ์ภักดี. (2559). การเปรียบเทียบผลการใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดทุนทางสังคมระหว่างการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจกับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. 11 (2), 46-61.

อัสนา สาเมาะ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมการตลาดบริการกับความภักดีของผู้บริโภค ในธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Aslam, W., Tariq, A., & Arif, I. (2019). The effect of ATM service quality on customer satisfaction and customer loyalty: An empirical analysis. Global Business Review. 20 (5), 1155-1178.

DeLone, W. H., & McLean, E. R. (2004). Measuring e-commerce success: Applying the DeLone & McLean information systems success model. International Journal of Electronic Commerce. 9 (1), 31-47.

Field, A. (2017). Discovering Statistics Using IBM SPSS Statistics. (5 ed.). London: SAGE Edge.

Hair, J. F., Balck, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. (7 ed.). New York: Pearson.

Jungmin Yoo. (2020, May). The effects of perceived quality of augmented reality in mobile commerce—An application of the information systems success model. In Informatics (Vol. 7, No. 2, p. 14). MDPI.

Keller, K. L., & Brexendorf, T. O. (2019). Measuring brand equity. Handbuch Markenführung, 1409-1439.

Kumar, V., & Ayodeji, O. G. (2021). E-retail factors for customer activation and retention: An empirical study from Indian e-commerce customers. Journal of Retailing and Consumer Services, 59, 102399.

Konhäusner, P., Shang, B., & Dabija, D. C. (2021). Application of the 4Es in online crowdfunding platforms: a comparative perspective of Germany and China. Journal of Risk and Financial Management. 14 (2), 49.

Marinelli, L., Fiano, F., Gregori, G. L., & Daniele, L. M. (2021). Food Purchasing Behaviour at Automatic Vending Machines: the Role of Planograms and Shopping Time. British Food Journal. 123 (5), 1821-1836.

Nguyen, D. T., Pham, V. T., Tran, D. M., & Pham, D. B. T. (2020). Impact of Service Quality, Customer Satisfaction and Switching Costs on Customer Loyalty. The Journal of Asian Finance, Economics and Business. 7 (8), 395-405.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory. (2 ed.). New York: McGraw-Hill.

Salim, M., Alfansi, L., Anggarawati, S., Saputra, F., & Afandy, C. (2021). The role of perceived usefulness in moderating the relationship between the DeLone and McLean model and user satisfaction. Uncertain Supply Chain Management, 9(3), 755-766.

Seddon, P., & Kiew, M.-Y. (1996). A Partial Test and Development of DeLone and McLean's Model of IS success. Australasian Journal of Information Systems. 4 (1), 90-109.

Seddon, P. B. (1997). A Fespecification and Extension of the DeLone and McLean Model of IS Success. Information Systems Research. 8 (3), 240-253.

Shim, M., & Jo, H. S. (2020). What Quality Factors Matter in Enhancing the Perceived Benefits of Online Health Information Sites? Application of the Updated DeLone and McLean Information Systems Success Model. International Journal of Medical Informatics. 137, 104093.

Wang, Y. S., Tseng, T. H., Wang, W. T., Shih, Y. W., & Chan, P. Y. (2019). Developing and validating a mobile catering app success model. International Journal of Hospitality Management, 77, 19-30.

Wu, H. C., Chen, S. X., & Chang, Y. Y. (2022). Smart Vending Machine Experiences, Experiential Relationship Quality and Experiential Relationship Marketing Outcomes. The International Review of Retail. Distribution and Consumer Research, 1-21.

Yusra & Agus, A. (2019). The Influence of Online Food Delivery Service Quality on Customer Satisfaction and Customer Loyalty: The Role of Personal Innovativeness. Journal of Environmental Treatment Techniques. 8 (1), 6-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-15

How to Cite

อิ่มพิทักษ์ เ. ., & คงมาลัย อ. . (2023). การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีในการซื้อสินค้าจากเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา ตู้เต่าบิน. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 19(3), 125–142. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/83