ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจ, โรงเรียนเอกชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนเอกชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) ศึกษาระดับส่วนประสมทางการตลาดของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนเอกในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ตัวอย่างคือ ผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนเอกชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวนตัวอย่าง 390 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือใจการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งข้อคำถามมีค่า IOC เท่ากับ 1 ทุกข้อ และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.952 และ ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนเอกชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าการรับรู้ถึงปัญหามาเป็นลำดับแรก รองลงมาได้แก่ การค้นหาข้อมูล การตัดสินใจเลือก การประเมินทางเลือก และพฤติกรรมหลังการเลือก ตามลำดับ 2) ระดับส่วนประสมทางการตลาดของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านบุคคลมาเป็นลำดับแรก รองลงมาได้แก่ ด้านกระบวนการ ด้านการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ตามลำดับ และ 3) ส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านบุคคล ด้านกระบวนการ และด้านลักษณะทางกายภาพมีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุกับการตัดสินใจในการเลือกโรงเรียนเอกชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาดไม่มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุกับการตัดสินใจในการเลือกโรงเรียนเอกชนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). คำชี้แจงประกอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กรุงเทพฯ. การศาสนา กรมศาสนา.
กันตรัตน์ สุจิตวนิช. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกโรงเรียนสองภาษาเอกชน Aของผู้ปกครองสำหรับบุตรหลานในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต คณะศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.
การกำหนดและแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. (2564, 17/2). ราชกิจจานุเบกษา. 138/ 38. 4/3.
กิตติคุณ ทวนสุวรรณ ปฎิมา ประโยชน์อุดมกิจ และภูษิตย์ วงษ์เล็ก. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษย์ศาสตร์สังคมศาสตร์). 3 (2), 57-76.
จุรีพร ช้อนใจ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อน้ำผลไม้พร้อมดื่ม ตรากรีนเมท ของผู้บริโภคในจังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชิษณุพงศ์ สุกก่ำ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสื่อออนไลน์ของผู้บริโภค ในอำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฐธนนท์ อ่อนชื่น และสายพิณ ปั้นทอง. (2564). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกสถานศึกษาเอกชนในระบบทวิภาคีระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ของผู้ปกครองในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11 (23), 64-77.
ทรงพร เทือกสุบรรณ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธนาวุฒิ ซื่อเธียรสกุล. (2563). การตัดสินใจเลือกใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม กับธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ของพนักงานเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคมสาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธนศักดิ์ กำหนดแน่. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการองค์กรที่จัดฝึกอบรมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นพดล โกฎคำลือ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทมี่ ผีลต่อพฤติกรรมการซื้อซ้ำของผู้ใช้บริการสถานบริการน้ำมันMR.ปิโตเลียมในเขตอำเภอฮอดจังหวัดเชียงใหม่. ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยลัยราชภัฎเชียงใหม่.
ประกาศิต กิติลาโภ และสุนทรี วรรณไพเราะ. (2561). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองใรการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลกิติเวศม์ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ (9), 995-1005.
ประภาพร เดชกิตติกร. (2560). การแสวงหาข้อมูลทางสื่อออนไลน์ การรับรู้คุณค่าตราสินค้า และส่วนประสมทางการตลาด มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อครีมกันแดดสำหรับผิวหน้าของกลุ่มวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยลัยกรุงเทพ.
ปาณิกา กาญจนหงส์. (2560.) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนนานาชาติอเมริกันแปซิฟิก. ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจบัณฑิตวิทยาลัย คณะบริการธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
ปริณณา เงินมูล. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีตราสินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อยของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดภาคกลางตอนล่าง. วารสารบันฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 18 (1), 159-178.
พรชนก บุญญานันทกุล. (2565). การประเมินทางเลือกก่อนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม : มโนทัศน์ และตัวแบบเชิงทฤษฎี หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบันฑิท มหาวิทยาลัยรามคำแหง.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. 6 (1), 1-13
ยินดี บัวทอง และรุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2561). การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. การประชุมวิชาการระดับชาติวลัยลักษณ์วิจัย ครั้งที่ 10, 96-115.
รัตนา โพธิวรรณ. (2562). การใช้ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคในเขตจตุจกัรกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก.
วลัยพร ปัญจขันธ์. (2559). แนวทางการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับบริการในโรงเรียนดนตรีเอกชนขนาดเล็กในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุริยางคศาสตร์มหาบัณฑิต บัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมศักดิ์ หงษ์สุวนนณ์. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนสถาบันสอนภาษาต่างประเทศ อัพเกรด อคาเดมี่ จังหวัดเชียงใหม่. ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์, พิภู ผ่องสุวรรณ, จักษ์ จิตตกรรม และสุขุม เฉลยทรัพย์. (2565). กลยุทธ์การตลาดบริการของโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 9 (1), 265-277.
สำนักงานบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2551). พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
ฤทธิ์เจตน์ รินแก้วกาญจน์. (2561). ปัจจยัส่วนประสมทางการตลาด 7Ps และปัจจัยด้านการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการคลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียวกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม.
อัญชิสา เอี่ยมละออ. (2552). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีผลต่อการบริหารโรงเรียนอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยลัยศรีปทุม.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.
Kotler, P. (2003). Marketing management (11th ed.) Upper Saddle River, NJ: Prentice- hall.
Kotler & Keller. (2012). Marketing management: The millennium (14th ed.) New Jersey: Prentice-Hall Inc.
Tuvadaratragool, S. (2022). Could Profitability, Efficiency, and Financial Leverage Signal Return on Equity: An Application of DuPont Analysis in Thailand Setting? Rajapark Journal. 16 (44), 73-88.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย สวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.