การป้องกันปัญหาอาชญากรรม: ศึกษาเฉพาะกรณีบาร์โฮสท์ในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ชาล ศิริสมรรถการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รองศาสตราจารย์ ดร.เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภกร ปุญญฤทธิ์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การป้องกันปัญหาอาชญากรรม, บาร์โฮสท์, จังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการป้องกันอาชญากรรม รวมถึงแนวทางและมาตรการป้องกันอาชญากรรมเพื่อเพิ่มความรู้สึกปลอดภัยสำหรับพนักงานบาร์โฮสท์ และผู้ใช้บริการ ศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุ และปัจจัยที่ส่งผลก่อให้เกิดอาชญากรรมที่เกิด ตลอดจนแสนอแนวทางในการป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบอาชีพนี้ และผู้ใช้บริการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เป็นผู้ประกอบอาชีพหนุ่มบาร์โฮสท์ในสถานบริการในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2 แห่ง แห่งละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 10 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือการวิจัย ที่ได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน ผลการศึกษา พบว่าภูมิหลังของผู้ที่เข้ามาประกอบอาชีพนี้มีภูมิหลังที่หลากหลาย แต่ส่วนมากจะหน้าตาดีและบุคลิกภาพดี มีความต้องการรายได้ที่สูง และสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องอาศัยทักษะในการทำงาน มีปัจจัยเสี่ยงจากความมึนเมาที่เกิดจากการทำงาน ทั้งการเมาแล้วขับ การทะเลาะวิวาท และการลักทรัพย์อันเกิดขึ้นได้ทั้งหนุ่มบาร์โฮสท์และผู้มารับบริการ ซึ่งเหตุต่าง ๆ มักจะเกิดขึ้นนอกสถานที่ทำงานหรือหลังเวลางาน อย่างไรก็ตามสถานบริการจะมีกฎหรือข้อห้ามในการออกไปนอกสถานบริการกับผู้มาใช้บริการ เพื่อป้องกันเหตุที่จะเกิดภายหลัง แนวทางในการป้องกันไม่ให้เกิดอาชญากรรม พบว่า ภาครัฐจะต้องมีมาตรการดูแลภาพรวมของสถานบริการ ส่วนผู้ประกอบการ ควรมีมาตรการการป้องกันในเชิงพื้นที่หรือสภาพแวดล้อม มาตรการในการบริหารจัดการพนักงานและความปลอดภัย และมาตรการความร่วมมือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐหรือกับทางตำรวจ สำหรับมาตรการส่วนบุคคลของหนุ่มบาร์โฮสท์ในการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายหรืออาชญากรรมกับตนเองและบุคคลใกล้ตัว โดยการไม่ขับหรือขี่ยานพาหนะเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ถ้าต้องออกนอกสถานที่จำเป็นที่จะต้องมีการสังเกตพฤติกรรมของผู้มารับบริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือบอกข้อมูลกับเพื่อนร่วมงาน

References

กรณิกา โกวิลัยลักษณ์. (2558). การขายบริการทางเพศของนักศึกษาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย (Social Media) ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร และทิพย์วิมล เดชภูมี. (2555). คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของหญิงขายบริการทางเพศในจังหวัดแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 30 (3), 122-130.

ดารารัตน์ ฮุยเกี๊ยะ. (2599). การค้าประเวณีแอบแฝงในธุรกิจนวดพริตตี้สปาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารการปกครอง, 5 (2). 257-268.

วรรณภา ลือกิตินันท์. (2563). ทัศนคติของพนักงานเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของ พนักงานกะกลางคืน:กรณีศึกษา โรงกลั่นน้ำมันแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 10 (1), 83-92.

ณัฐพสิษฐ์ ต้อยเที่ยง. (2556). กระบวนการเป็นโคโยตี้บอยในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประธาน วัฒนวาณิชย์. (2546). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาชญาวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.

ปิยะพร ตันณีกุล และอภิวิชญ์ ภัทรกุล. (2558). โครงการการจัดการความรู้ด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับสถานบริการ. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

พรชัย ขันตี. (2558). ทฤษฎีอาชญาวิทยา: หลักการ งานวิจัย และนโยบายประยุกต์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ส. เจริญการพิมพ์.

พิชญ์สินี พฤฒปภพ. (2557). กระบวนการเข้าสู่อาชีพสาวโคโยตี้ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

พิมพ์ธรา พัสดุประดิษฐ์ และกิตติ์ธนทัต เลอวงศ์รัตน์. (2563). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยวของข้าราชการตำรวจในสังกัดกองกำกับการ 3 กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว 1. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย. 16 (1), 93.

ผู้จัดการออนไลน์. (2562). เจาะลึกธุรกิจ HOST CLUB: เมื่อผู้หญิงเป็นฝ่ายควักกระเป๋า. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2562 จาก https://mgronline.com/entertainment/detail/9620000079076.

ภาคิน ชาญฐิติพงษ์. (2560). เรื่องเล่าบาร์โฮสท์: ปรากฏการณ์เพศวิถีของสังคมไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต.

สิทธิพงษ์ ทิปัญญา. (2549). วิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพของชายขายบริการทางเพศในอำเภอเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อภิญญา ม่วงขาว. (2563). การป้องกันตนเองเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์: กรณีศึกษาประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลท่าถ่าน อำเภอพนมสารคม ฉะเชิงเทรา. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์และการจัดการสังคม. 2 (1), 18-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-15

How to Cite

ศิริสมรรถการ ช. . ., รัชดาพรรณาธิกุล เ. . ., & ปุญญฤทธิ์ ศ. . . (2023). การป้องกันปัญหาอาชญากรรม: ศึกษาเฉพาะกรณีบาร์โฮสท์ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 19(3), 91–108. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/80