แนวทางการทำให้การพนันถูกกฎหมายในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ศิ๊ดดี๊ก โต้ะมางี คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภกร ปุญญฤทธิ์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รองศาสตราจารย์ ดร.สุณีย์ กัลยะจิตร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รองศาสตราจารย์ ดร.วีนันท์กานต์ รุจิภักดิ์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

คำแนะนำแนวทาง , การพนันที่ถูกกฎหมาย, พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการพนันตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ที่มีต่อสังคมไทย (2) เพื่อสำรวจผลกระทบที่รัฐและสังคมไทยได้รับจากการทำให้การพนันถูกกฎหมายในประเทศไทย และ (3) เพื่อให้คำแนะนำแนวทางการจัดการการพนันที่เหมาะสมในประเทศไทย ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมและการเลียนแบบถูกนำมาใช้เป็นฐานในการศึกษาครั้งนี้ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก 25 คน ได้แก่ ผู้ประกอบวิชาชีพ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทนายความ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ตัวแทนองค์กรศาสนาที่ได้รับผลกระทบจากการพนัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าปัญหาเกิดจากพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ซึ่งใช้งานมายาวนานมากกว่า 80 ปี จึงมีความล้าหลัง โดยระบุโทษปรับสูงสุด ไม่เกิน 5,000 บาท ไม่มีมาตรการรองรับและจัดการการพนันในรูปแบบใหม่ ข้อบังคับการพนัน ควรกำหนดประเภทความผิดเกี่ยวกับการพนันใหม่ แก้ไข พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ให้ใช้โทษประเภทอื่นและแก้ไขค่าปรับในมาตรา 12 มาตรา 13 และมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ผลการวิจัยนี้ทำให้รัฐบาลได้ทราบถึงการปรับเปลี่ยนที่จำเป็นในการจัดทำพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ให้ทันสมัยและเข้ากับบริบทของสังคมไทยในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งกำหนดมาตรการต่อไป อีกทั้งยังทำให้คนในสังคมไทยได้เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติต่อการพนัน

References

ชาตบุษย์ ฮายุกต์. (2559). การบังคับใช้กฎหมายควบคุมการพนันออนไลน์: ศึกษากรณีเกมสังคมออนไลน์. วิทยานิพนธ์นิติศาสรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ไทยรัฐออนไลน์. (2563). การพนันล้ำหน้าสู่ 5.0 เข้าง่ายกระตุ้นลุ้นถี่ๆ. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566 จาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1923996.

นิศากร อุบลสุวรรณ. (2557). การกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดของผู้ต้องขังหญิงเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ประหยัด พวงจําปา. (2537). ปัจจัยที่มีผลต่อการทำผิดซ้ำของผู้ถูกคุมความประพฤติ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ไพศาล ลิ้มสถิต, เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล และจุมพล แดงสกุล. (2556). มาตรการทางกฎหมายเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการพนันในต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

วรากรณ์ สามโกเศศ. (2558). Global Change 2. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส.

สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำ. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์.

สุพิศาล ภักดีนฤนาถ. (2556). 4 Dimensions การบริหารงานสืบสวน: กองบังคับการปราบปราม. นนทบุรี: กรีนแอปเปิ้ลกราฟฟิคปริ้นติ้ง.

องอาจ ชัยเพชรโยธิน. (2541). การบังคับใช้กฎหมายการพนัน ศึกษากรณีทายผลการแข่งขันฟุตบอล. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Betting, G. (2015). Global Gaming Report 2013. Global Betting & Gaming Consultants (GBGC). London: Global Betting & Gaming Consultants.

McMillen, J., Marshall, D., Murphy, L., Lorenzen, S., & Waugh, B. (2004). Help-seeking by Problem Gamblers, Friends and Families: A Focus on Gender and Cultural Groups. Canberra: ACT Gambling and Racing Commission.

Miller, N. E., & Dollard, J. (1941). Social learning and imitation. New Haven: Yale University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-22

How to Cite

โต้ะมางี ศ. ., ปุญญฤทธิ์ ศ. ., กัลยะจิตร ส. ., & รุจิภักดิ์ ว. . (2024). แนวทางการทำให้การพนันถูกกฎหมายในประเทศไทย. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 20(2), 97–110. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/79