ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวด้านมืดในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จตุพร นามตำตา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • ดร.ปริญญา บรรจงมณี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • ดร.สุเมธ ธุวดาราตระกูล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวด้านมืด, การตัดสินใจ, แรงจูงใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงรูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวด้านมืดในประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวด้านมืดในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ด้วยการแจกแบบสอบถามให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่สนใจการท่องเที่ยวด้านมืดในประเทศไทย โดยแบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ภูมิภาคละ 78 คน รวม 390 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน (Standard Deviation) และ สถิติการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพรวมแรงจูงใจด้านการท่องเที่ยวด้านมืดของนักท่องเที่ยวชาวไทย อยู่ในระดับมาก (X ̅= 4.16) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวด้านมืด มาเป็นลำดับแรก รองลงมา ได้แก่ การแสวงหาความตื่นเต้นจากสถานที่ที่น่าสะพรึงกลัว การเยี่ยมชมอนุสรณ์สถาน การรับรู้ถึงการสูญเสีย การเดินทางเพื่อย้อนรอยเหตุการณ์ การรำลึกถึงโศกนาฏกรรม การเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวด้านมืดในเมืองท่องเที่ยว การเยี่ยมชมสถานที่ที่เกิดภัยพิบัติ การเยี่ยมชมพื้นที่เสี่ยงภัย การเดินทางแสวงบุญ ตามลำดับ และ 2) แรงจูงใจด้านการท่องเที่ยวด้านมืด ด้านการเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวด้านมืดในเมืองท่องเที่ยว ด้านการเยี่ยมชมสถานที่ที่เกิดอุบัติเหตุจากการแสวงบุญ ด้านการรำลึกถึงโศกนาฏกรรม และด้านการรับรู้ถึงการสูญเสีย มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวด้านมืดในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

กุญชลี ไชยนันตา. (2553). กระบวนการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: ประยูวงศ์.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2554). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปริญญา บรรจงมณี, และสุเมธ ธุวดาราตระกูล. (2561). ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวด้านมืดในประเทศไทย. วรสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น. 12 (1), 126-138.

มนัสสินี บุญมีศรีสง่า. (2558). การพัฒนารูปแบบและกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวเชิงรุกในแหล่งท่องเที่ยวที่มีบทบาทจากความสูญเสีย อุบัติภัย และมรณภัยในภูมิภาคตะวันตก ประเทศไทย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ). 8 (3), 775-780.

มนัสสินี บุญมีศรีสง่า. (2558). การให้ความหมายรูปแบบและกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวแบบดาร์กทัวร์รึซึ่มพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ). 8 (2), 571-592.

สมพร นาคซื่อตรง . (2561). การพลิกฟื้นพื้นที่ประสบภัยพิบัติสึนามิให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนแบบ Dark Tourism: กรณีศึกษาแบบจำลองการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านนอกเล จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12 (ฉบับพิเศษ), 117-202.

Axelrod, R. (2015). Structure of Decision: The Cognitive Maps of Political Elites. (Ed.). Princeton University Press.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3, Ed.) New York: Jonh Wiley & Sons.

Evangelia, M. (2021). The Concept of Dark Tourism, Visitors’ Motivation, and the Entailed Dissonance in Sites Representation. (Master of Science (MSc) in Hospitality and Tourism Management).

Jamin, A., Zain, Z. M., Sakarji, S. R., Ahmad, N., & Mayang Delima Mohd Beta, R. (2020). The Benefits of Dark Tourism Experience Among Visitors in Malaysia. Proceedings of the International Conference on Economics, Business and Economic Education 2019. 219-228.

Podoshen, J. S. (2013). Dark Tourism Motivation: Simulation, Emotional Contagion, and Topographic Comparison. Tourism Management. 35, 263-271.

Podoshen, J. S., Venkatesh, V., Wallin, J., Andrzejewski, S. A., & Jin, Z. (2015). Dystopian Dark Tourism: An Exploratory Examination. Tourism Management. 51, 316-328.

Pizam, A., Mansfeld, Y., & Chon, S. K. (1999). Consumer Behavior in Travel and Tourism. New York: Haworth Hospitality Press.

Robinson, N. (2015). An Investigation into the Motivations of Visitors to Sites Associated with Dark Tourism. Manchester: Ph.D. Thesis, University of Salford.

Robb, M. E. (2009). Violence and Recreation: Vacationing in the Realm of Dark Tourism. Anthropology and Humanism. 34 (1), 51-60.

Simon, H. A. (1997). Administrative Behavior. (4, Ed.). New York: The Free Press.

Zhang, C., Zhang, J., Qian, L., Jurowski, C., Zhang, H., & Yan, B., (2016). The Inner Struggle of Visiting ‘Dark Tourism’ Site: Examining the Relationship Between Perceived Constraints and Motivations. Current Issues in Tourism. 21 (15), 1-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-15

How to Cite

นามตำตา จ. ., บรรจงมณี ป. ., & ธุวดาราตระกูล ส. . (2023). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวด้านมืดในประเทศไทย. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 19(3), 73–90. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/76