การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา โดยใช้สื่อวีดิทัศน์ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1
คำสำคัญ:
สื่อวีดิทัศน์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ, การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ และหาแนวทางในการใช้ สื่อวีดิทัศน์สำหรับการสอนภาษาจีน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะภาษาจีน ผ่านการใช้สื่อวีดิทัศน์สำหรับการสอนภาษาจีนของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 ก่อนและหลังการใช้สื่อวีดิทัศน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูสอนภาษาจีนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 115 คน โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบอาสาสมัคร (Voluntary Selection) ที่ผ่านการอบรม โครงการ “การพัฒนาสมรรถนะและเสริมสร้างศักยภาพข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาวิชาภาษาจีน” ณ โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ paired sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย (
) เท่ากับ 4.68 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ .658 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังใช้สื่อวีดิทัศน์สูงกว่าก่อนใช้สื่อวีดิทัศน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการผลิตสื่อวีดิทัศน์สำหรับการสอนภาษาจีน โดยใช้แอปพลิเคชั่นยูทูบเหมาะสม กับรูปแบบการใช้ชีวิตในปัจจุบัน สามารถตอบสนองผู้เรียนและผู้สอน สร้างแรงจูงใจทางบวกให้กับผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนสามารถค้นหาเรียนรู้ในเรื่องที่สนใจได้ง่ายสะดวกมากยิ่งขึ้น และสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และหลังการใช้สื่อวีดิทัศน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไกรสร ฝั้นเฟย และสัมมา รธนิธย์. (2557). การถอดบทเรียนความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย ที่ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 5 (1), 277-284.
จินตนา วิเศษจินดา. (2561). แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 11 (2), 445-455.
ดวงกมล นามสองชั้น. (2565). สื่อมัลติมีเดียกับการสอนภาษาจีน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 16 (1), 1-12.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2540). การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโสตทัศนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนัชพร นามวัฒน์ และกมลทิพย์ รักเกียรติยศ. (2563). การใช้สื่อเทคโนโลยีสำหรับการสอนภาษาจีนของโรงเรียนในสังกัด กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 39 (2), 19-31.
นริศ วศินานนท์. (2565). ปัญหาการเรียนการสอนอักษรจีนในประเทศไทย. วารสารวิชาการภาษาและวัฒนธรรมจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 9 (1), 53-66.
นวพร ศรีสุข และ ยุวรี ญานปรีชาเศรษฐ, (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 12 (2), 360-375.
ผ่องพรรณ ทวีเลิศทรัพย์, จันทิมา จิรชูสกุล และมนัสนันท์ ฉัตรเวชศิริ. (2565). การศึกษาการใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน สำหรับช่วยในการพัฒนาทักษะและส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาจีนของผู้เรียนภาษาจีน. วารสารวิชาการภาษาและวัฒนธรรมจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 9 (1), 213-230.
พัชรณัฐ ดาวดึงษ์, วัชรี เลขะวิพัฒน์ และชวลิต จันสะ. (2565). การพัฒนาเว็บมัลติมีเดียสําหรับการฝึกสนทนาภาษาจีนระดับเบื้องต้น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 20 (2), 28-40.
ภัทรภณ ศิลารักษ์. (2565). การปรับตัวบทบาทภาษาจีนภายใต้บริบทวิถีชีวิตปกติใหม่ในยุคศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการภาษาและวัฒนธรรมจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 8 (1), 61-72.
วรรณิษา ไวยฉายี. (2565). การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในสถานการณ์ปัจจุบัน: มุมมองของผู้เรียนต่อการพัฒนาสถาบันสอนภาษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 16 (1), 154 – 166.
วัฒนา ประสานทอง และ เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์. (2560). การศึกษาประสบการณ์ในการเรียนภาษาจีนระดับ มัธยมศึกษา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 5(1), 32–41.
วัลภา พงษ์พันธ์, จันทร์ชลี มาพุทธ และสมหมาย แจ่มกระจ่าง. (2558) การส่งเสริมสมรรถนะของครูสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม. 11 (1), 98-111.
ศศิณัฎฐ์ สรรคบุรานุรักษ์. (2560). สื่อมัลติมีเดียและเทคโนโลยีกับการสอนภาษาจีนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10 (3), 1239-1256.
ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551). การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย: ระดับประถม-มัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์-การพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง การจัดตั้งศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศที่สอง (ภาษาจีน).
สุคนธา อรุณภู่, บุญเสริม วีสกุล และไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย. วารสารวิชาการสุทธิปริทัศน์. 32 (101), 1-12.
สิดารัศมิ์ สิงหเดชาสิทธิ์ และ สุชาดา บวรกิติวงศ์, (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความเป็นครูมืออาชีพ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 12 (4), 695-707.
Chomsky, N. (1988). Language and Problems of Knowledge: The Managua Lectures. Cambridge: MIT Press.
Likert, R. (1961). New patterns of Management and Values. New York: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย สวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.