การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ณัฐลียา สมบูรณ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ดร.เพ็ญพร ทองคำสุก คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาพร ศรีหามี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • รองศาสตราจารย์ ดร.อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์, การจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด, ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/10 โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์” ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 35 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน มีค่า IOC เท่ากับ 1.00 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.41–0.68 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.27–0.57 ความเที่ยงตรงตั้งแต่ 0.70-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ รองลงมา คือ ด้านสื่อการสอน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้

References

กาญจนา เจริญช่วย. (2558). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เอสพริ้นติ้ง ไทยแฟคตอรี่.

ปิยะพร นิตยารส. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พัทธยากร บุสสยา. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภิญญาปวีร์ แสงกล้า. (2559). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง เรขาคณิตน่ารู้ โดยใช้วิธีการแบบเปิดเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2555). เด็กไทยรั้งท้ายผลสอบ PISA นักวิชาการชี้ขาดคิดวิเคราะห์. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2563 จาก http://www.bangkokbiznews.com/home/news/politics/education.

โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์”. (2562). รายงานการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา 2562. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2563 จาก https://online.pubhtml5.com/zcgi/buqx/.

โรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์”. (2564). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR: Self-Assessment Report) ปีการศึกษา 2564. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2565 จาก https://drive.google.com/file/d/1aCCZQUnnW7TQLTck53BFwkk8bIyfGWDY/view.

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2555). ครบเครื่องเรื่องควรรู้สำหรับครูคณิตศาสตร์: หลักสูตร การสอน และการวิจัย. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

ศรีสุวรรณ ศรีขันชมา. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการจัดการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). คู่มือการใช้หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์ และคณะ. (2557). เอกสารประกอบการสอนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

อมรา สิทธิคำ. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ควบคู่กับการจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา (CIPPA MODEL) เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

Baroody, A. J. (1993). Problem Solving, Reasoning, and Communicating, K-8Helping Children Think Mathematically. New York: Macmillan Publishing Company.

Becker, J. P., & Shimada, S. (1997). The Open-ended Approach: A New Proposal for Teaching Mathematics. Reston: National Council of Teachers of Mathematics.

Fosnot, C. T. (1996). Constructivism: Theory Perspective and Practice. New York: Teacher College Press.

Gonzales, N. A. (1994). Problem Solving: A Neglected Component in Mathematics Courses for Prospective Elementary and Middle School Teacher. School Science and Mathematics. 94 (2), 74.

Nohda, N. (1986). A Study of “Open Approach” Method in School Mathematics Teaching: Focus on Mathematical Problem-solving Activities & Emclesh. Ibaraki: Institute of Education, University of Tsukuba.

Polya G. (1973). How to Solve it. Princeton, New Jersey: Princeton University.

Sawada, S. (1997). The Open-ended Approach: A New Proposal for Teaching Mathematics. Reston: National Council of Teachers of Mathematics.

Troutman & Lichtenberg. (1998). Mathematics a Good Beginning. University of South Florida: Book/Cole Publishing Company.

Wade, E.G. (1995). A Study of the Effect of a Constructivist-Based Mathematics Problem-Solving Instructional on the Attitude, Self-Confidence and Achievement of Post Fifth Grade Student. Dissertation Abstracts International. 55 (11), 3411A. Retrieved October 9, 2020 from http://search. proquest.com/docview/242834125?accountid=52081.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-15

How to Cite

สมบูรณ์ ณ. ., ทองคำสุก เ. ., ศรีหามี ส. ., & เอี่ยมสะอาด อ. . (2023). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้วิธีการแบบเปิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 19(3), 1–17. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/65