ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิดโดยใช้เทคโนโลยีผ่านไอแพด เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
วิธีการแบบเปิด, เทคโนโลยี, ไอแพด, ความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์, ลำดับและอนุกรมบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิดโดยใช้เทคโนโลยีผ่านไอแพดกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจ ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิดโดยใช้เทคโนโลยีผ่านไอแพด ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิดโดยใช้เทคโนโลยีผ่านไอแพด แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม และแบบทดสอบวัดความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด โดยใช้เทคโนโลยีผ่านไอแพด เรื่อง ลำดับและอนุกรม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ตรวจสอบสมมติฐาน One Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 3.204, Sig. = .002) และความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด โดยใช้เทคโนโลยีผ่านไอแพด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.82 (Mean = 4.82, S.D. = 0.12) ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายการประเมินด้านต่าง ๆ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ 1) ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ (Mean = 4.84, S.D. = 0.20) 2) ด้านเนื้อหา (Mean = 4.81, S.D. = 0.25) และ 3) ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ (Mean = 4.80, S.D. = 0.18) ซึ่งทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
กฤตยา ยมนา และดุจเดือน ไชยพิชิต. (2565). การพัฒนาความสามารถการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบเปิดร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 7(2), 1295-1303.
กุลธิดา พลเยี่ยม มะลิวัลย์ ถุนาพรรณ์ และนิภาพร ชุติมันต์. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับการบูรณาการ เทคโนโลยีในการสอนเนื้อหาวิชาเฉพาะ (TPACK) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง วงกลมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 15(2), 125-147.
ดารินทร์ งามสันเทียะ, พินดา วราสุนันท์ และวิชา อุ่นวรรณธรรม. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 43(3), 15-29.
ธวัตรชัย เดนชา. (2558). ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง เลขยกกำลัง ในชั้นเรียนที่ใช้การสอนด้วยวิธีการแบบเปิด. วารสารวิชาการ (มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ) มหาวิทยาลัยศิลปากร. 8(2), 1719-1734.
นิรัญชลา ทับพุ่ม. (2564). การส่งเสริมทักษะการอภิปรายโต้แย้งทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด เรื่อง ความคล้าย ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2545). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2560). นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดเพื่อยกระดับคูณภาพชั้นเรียน และการทำ Kyozaikenkyu ในการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ลักขณา คณาศรี และสัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง. (2564). การเชื่อมโยงโดยใช้วิธีการของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้วิธีการแบบเปิด. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 7(2), 70-80.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การเรียนนรู้แห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น.
ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ และอนิต้า หล้าจิ. (2562). การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้เทคโนโลยีผ่านไอแพดในเรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาบนผิวโลก. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 35(3), 57-71.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ความเป็นเลิศและความเท่าเทียมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ซัคเซสพับลิเคชั่น.
สาลินี เรืองจุ้ย. (2554). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาปลายเปิด เรื่อง ลำดับและอนุกรม ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อมรรัตน์ ทองดี. (2557). ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การบวกเลข ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองสองห้อง (อินทปัญญาราษฎร์นุกูล) อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Becker, J. P., & Shimada, S. (1997). The Open-Ended Approach: A New Proposal for Teaching Mathematics. Virginia: National Council of Teachers of Mathematics.
Lin, S., & Mintzes, J. J. (2010). Learning Argumentation Skills Through Instruction in Socioscientific Issues: The Effect of Ability Level. International Journal of Science and Mathematics Education, 8(6), 993-1017.
Nohda, N. (2000). Teaching by Open-approach Method in Japanese Mathematics Classroom. Proceeding of the 24th Conference of the International Group for the Psychology of Mathematics Education (PME 24), Hiroshima, Japan: Hiroshima University, 39-54.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.