การพัฒนาทักษะชีวิตในเด็กวัยเรียน

ผู้แต่ง

  • ว่าที่เรือตรียุตติชน บุญเพศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ชนะศึก นิชานนท์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

การพัฒนาทักษะชีวิต, เด็กวัยเรียน, การศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

บทความนี้ผู้เขียนได้นำเสนอถึงการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับเด็กวัยเรียน โดยได้อธิบายถึงความหมาย ความสำคัญ จุดเน้นในการพัฒนาทักษะชีวิต รวมถึงการสังเคราะห์องค์ประกอบของทักษะชีวิตที่สำคัญ ร่วมกับนโยบายและแผนงานของประเทศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กและเยาวชนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษา ครูผู้สอนและผู้ปกครอง ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดและมีส่วนสำคัญในการพัฒนาทักษะชีวิตเป็นอย่างมาก ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะชีวิต โดยเฉพาะสภาพสังคมปัจจุบันที่มีความผันผวนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี การสื่อสาร ความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม รวมถึงปัญหาต่างๆ ของสังคม เช่น ปัญหายาเสพติด การใช้ความรุนแรง ทะเลาะวิวาท การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน รวมถึงการพัฒนาประเทศในภาพรวม ดังนั้น การส่งเสริมและพัฒนาทักษะชีวิตให้กับเด็กและเยาวชนในวัยเรียน ซึ่งมีจุดเน้นและองค์ประกอบทักษะชีวิตที่สำคัญ อาทิเช่น ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการสื่อสารและรู้เท่าทันสื่อ ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ทักษะการตระหนักรู้ในตนเองและเห็นคุณค่าผู้อื่น ทักษะการจัดการอารมณ์และความเครียด ทักษะการปรับตัวและยืดหยุ่น เป็นต้น จึงเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีความสามารถในการจัดการกับปัญหารอบตัว ประกอบกับเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต เพื่อให้ผู้เรียนมีภูมิคุ้มกันที่ดีในชีวิต ใช้ชีวิตอย่างมีสติ รู้เท่าทันปัญหา สามารถเลือกดำเนินชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัยและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

References

กรมสุขภาพจิต. (2561). เผยผลสำรวจพบวัยรุ่น กทม. ปริมณฑลครึ่งหนึ่งผูกติดความสุขตัวเองไว้กับแฟนแนะครอบครัวครูช่วยแนะทักษะชีวิตป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2562 จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27571.

กรมสุขภาพจิต. (2558). การ์ตูนพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้น ป.4-6 และคู่มือประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

กรมอนามัย. (2558). คู่มือการเรียนการสอนเรื่องเพศศึกษาและทักษะชีวิตในนักเรียนแบบบูรณาการ. นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2557). โรงเรียนผลิตภาพ: สัตตทัศน์เพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2558). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มติชน. (2560). เด็กไทยวันนี้ !! นักวิชาการจุฬาฯ แฉสถานการณ์เด็กไทยมีปัจจัยเสี่ยง 10 ด้าน “ความรุนแรงแม่วัยใส ยาเสพติด”. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2560 จาก https://www.matichon.co.th/news/418603.

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ และสุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์. (2551). ทักษะชีวิต. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น โรงพยาบาลรามาธิบดี.

วนิดา ขาวมงคล เอกแสงศรี. (2546). หลักการสอนการพัฒนาทักษะชีวิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2557). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สกล วรเจริญศรี. (2550). การศึกษาทักษะชีวิตและการสร้างโมเดลกลุ่มฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนวัยรุ่น. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2553). คู่มือการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือต้านภัยยาเสพติด. กรุงเทพฯ: สำนักการลูกเสือยุวกาชาด และกิจการนักเรียน สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). สภาการศึกษาเสวนา (OEC Forum) 2015-2016 จากข้อเสนอสู่นโยบาย. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล. (2554). เข้าใจใส่ใจวัยรุ่น. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2561 จาก http://www.factsforlifethai.cf.mahidol.ac.th/teenager/support02.php.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2558). ทักษะชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การเสริมสร้างทักษะชีวิตตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). แนวทางการจัดค่ายเสริมสร้างทักษะชีวิตเด็กไทย “ปัญหาหยุดยั้งด้วยพลังเด็กและเยาวชน”. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย. (2559). การออกแบบกิจกรรมแนะแนวที่เน้นการพัฒนาทักษะสำหรับผู้เรียน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). แนวทางการพัฒนาและประเมินค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

มูลนิธิไร้ท์ทูเพลย์. (2560). ทักษะชีวิตรหัสครูศตวรรษที่ 21: การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตแห่งศตวรรษที่ 21. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

Andrew Steptoe and Jane Wardle (2017). Life skills, Wealth, Health, and Wellbeing in Later Life. Retrieved on April 16, 2019 from https://www.pnas.org/content/pnas/114/17/4354.full.pdf.

United Nations Children's Fund. (UNICEF, 2001). What is the Life Skills Approach?. Explore Ideas Articles, Opinions, and Research about Teaching and Learning. Retrieved on December 21, 2017 from http://www.unicef.org/teachers/teacher/Lifeskill/htm.

World Economic Forum. (2016). New Vision for Education: Fostering Social and Emotional Learning Through Technology. Retrieved on April 16, 2019 from: http://www3.weforum.org/docs/WEF_New_Vision_for_Education.pdf.

World Health Organization. (WHO, 1994). Life Skill Education in School. Geneva: World Health Organization.

World Health Organization. (WHO, 1997). Life Skills Education for Children and Adolescences in School. Geneva: Programme on Mental Health.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-22

How to Cite

บุญเพศ ย. ., นิชานนท์ ช. ., & ตั้งดำเนินสวัสดิ์ ส. . (2024). การพัฒนาทักษะชีวิตในเด็กวัยเรียน. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 20(2), 153–169. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/470