การพัฒนาบทบาทภาคประชาสังคมเพื่อส่งเสริมสิทธิชุมชนประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนประมงพื้นบ้านอ่าวอุดม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดนุสรณ์ กาญจนวงศ์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บูชิตา สังข์แก้ว โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

ภาคประชาสังคม, สิทธิชุมชน, ชุมชนประมงพื้นบ้าน, การพัฒนาที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

ผลจากโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังได้กระทบต่ออาชีพประมงพื้นบ้านในพื้นที่อ่าวอุดม เพราะการก่อสร้างทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ คราบน้ำมัน ปัญหาขยะ ส่งผลทำให้จำนวนสัตว์ทะเลรวมทั้งพื้นที่ทำประมงพื้นบ้านลดลง นอกจากนี้มลพิษทางเสียงและฝุ่นยังส่งผลต่อสุขภาพของคนในชุมชน จึงเกิดการก่อตั้งกลุ่มประชาสังคมขึ้นเพื่อต่อสู้เรียกร้องให้มีการแก้ปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรมการพัฒนานั้น มีทั้งกลุ่มที่ก่อตั้งขึ้นจากการรวมตัวของสมาชิกภายในชุมชนอ่าวอุดม และกลุ่มประชาสังคมจากภายนอกชุมชนที่เข้ามาสนับสนุน ดำเนินงานใน 2 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบทางการ โดยตัวแทนกลุ่มประชาสังคมในพื้นที่ได้รับแต่งตั้งเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการร่วมกับภาครัฐเพื่อติดตามผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากโครงการ และ 2) รูปแบบกึ่งทางการ คือการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มประชาสังคมในพื้นที่ หน่วยงานราชการ และกลุ่มประชาสังคมนอกพื้นที่ ทั้งนี้องค์กรภาคประชาสังคมมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 ประการ คือ (1) ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับชุมชนประมงพื้นบ้าน (2) นำเสนอข้อเรียกร้องของชุมชนผ่านช่องทางต่าง ๆ (3) สนับสนุนชุมชนประมงพื้นบ้านให้ได้รับสิทธิและเข้าถึงสิทธิของชุมชน (4) สร้างเครือข่ายการพัฒนาให้แก่ชุมชนประมงพื้นบ้าน และ (5) เรียกร้องให้รัฐบาลบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ....เพื่อส่งเสริมบทบาทของภาคประชาสังคมไทยให้ชัดเจนมากขึ้น

References

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2561). ข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดชลบุรี. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. (2561). แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2561-2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

เกศริน เตียวสกุล (บก.). (2556). บทบาทภาคประชาสังคมในการคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยขน.

จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร. (2561). บทบรรณาธิการ. ใน ไพศาล ลิ้มสถิตย์. (2561). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม: ประสบการณ์ต่างประเทศและพัฒนาการของไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม.

ชล บุนนาค และคณะ. (2561). โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนากร สังเขป. (2556). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: บริษัท วี.พริ้นท์ (1991). จำกัด.

นิตยา โพธิ์นอก. (2557). ชุมชนกับสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

นุศจี ทวีวงศ์. (บก.). (2552). สิทธิชุมชน มิติประมงพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน.

บูชิตา สังข์แก้ว และคณะ. (2562). ตัวแบบการพัฒนานโยบาย การจัดการท่าเรือน้ำลึกเพื่อการสร้างความยั่งยืนแก่สิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง กรณีศึกษา ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2548). การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะโดยภาคประชาสังคม. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพศาล ลิ้มสถิต. (2561). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม: ประสบการณ์ต่างประเทศและพัฒนาการของไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม.

มัสลิน รัตนภูมิ. (2554). บทบาทของประชาสังคมในการพัฒนาท้องถิ่นในเขตเทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

รัฐกร จินตนิติ. (2560). การศึกษาผลกระทบทางสังคมของท่าเรือแหลมฉบังที่มีต่อประชาชนในพื้นที่ชุมชนบ้านอ่าวอุดม. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวิตา มะมา. (2562). ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือของชุมชนบ้านอ่าวอุดม ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมนึก จงมีวศิน. (2559). ถอดบทเรียน ชุมชนบ้านอ่าวอุดม ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: เอกสารอัดสำเนา.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2560-2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก.

สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก. (2561). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก (ราชบุรี ระยอง จันทบุรี ชลบุรี) พ.ศ. 2561-2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2556). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2555). สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-15

How to Cite

กาญจนวงศ์ ด. ., & สังข์แก้ว บ. . (2022). การพัฒนาบทบาทภาคประชาสังคมเพื่อส่งเสริมสิทธิชุมชนประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนประมงพื้นบ้านอ่าวอุดม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(3), 227–243. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/451