บทบาทของนิติวิทยาศาสตร์ในการสืบสวนคดียาเสพติดประเภทยาบ้า ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พิจักษณ์ เกตุใหม่ คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • รองศาสตราจารย์ พลตำรวจตรี ดร.พงษ์พิษณุ ภักดีณรงค์ คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

คำสำคัญ:

นิติวิทยาศาสตร์, การสืบสวนคดียาเสพติด, ยาบ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)เพื่อศึกษาบทบาทของการนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในการสืบสวนคดียาเสพติดประเภทยาบ้า และ 2)เพื่อหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในการสืบสวนคดียาเสพติดประเภทยาบ้า การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง จากเจ้าหน้าที่ด้านการสืบสวนคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดประเภทยาบ้า ระหว่างเดือนกันยายน–พฤศจิกายน 2564 รวม 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง ซึ่งผู้วิจัยได้หาความเที่ยงตรงของเนื้อหาแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง โดยผ่านความคิดเห็นจากอาจารย์ที่ปรึกษาจำนวน 1 ราย และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 2 ราย รวมทั้งสิ้น 3 ราย ผลการวิจัย พบว่า 1) เจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนมีบทบาทหน้าที่ในการวางแผน สั่งการ สืบสวน จับกุม ขยายผล เก็บข้อมูล และยึดทรัพย์สินผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดประเภทยาบ้า สำหรับการประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ในการปฏิบัติงานด้านการสืบสวนคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดประเภทยาบ้า คือ การตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดในปัสสาวะเบื้องต้น การตรวจลายนิ้วมือในห่อบรรจุยาบ้า และการเก็บวัตถุพยานหลักฐานส่งให้พนักงานสอบสวนส่งตรวจพิสูจน์ 2) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในการสืบสวนคดียาเสพติดประเภทยาบ้า ได้แก่ การนำนิติวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการตรวจพิสูจน์สารเสพติดเบื้องต้น เช่น การตรวจปัสสาวะเพื่อยืนยันการกระทำความผิด การตรวจหาลายนิ้วมือในห่อบรรจุยาบ้า และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ในคดีเครือข่ายสมคบคิดมีการใช้แผนผัง I2 ในการเชื่อมโยงผู้ที่เกี่ยวข้องในคดียาเสพติดประเภทยาบ้า การสืบหาเบาะแสในการกระทำความผิดผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ต้องหาจากแอปพลิเคชันผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์

References

กรรณิกาญจน์ ศิขิวัฒน์. (2562). การตรวจวิเคราะห์เชิงปริมาณของสารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีน เคตามีน และเมตาบอไลท์ต่างๆ ในปัสสาวะโดยเทคนิคลิควิดโครมาดทรกราฟฟี/แมสสเปคโตรเมตรี/แมสสเปคโตรเมตรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

คเณศ พงศ์เพิ่มทรัพย์. (2554). บทบาทของเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนในการนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในการสืบสวนคดียาเสพติดประเภทยาบ้า. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดิฐภัทร บวรชัย. (2563). การจัดการความรู้งานสืบสวนที่เป็น Best Practice ของสุดยอดนักสืบยุค 4.0 Era. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ.

ทรรศนีย์ นวสิทธ์ไพศาล. (2554). การนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในการสืบสวนคดียาเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีระพล บุญธรรม. (2546). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสพยาบ้าของนักศึกษาในวิทยาลัย สังกัดกรมอาชีวศึกษา จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ผู้จัดการออนไลน์. (2565). เปิดหลักสูตรสร้างนักสืบรอยการเงินตามยึดทรัพย์คดียาเสพติด. [Online] Available: https://mgronline.com/crime/detail/9650000005187. [2565, กุมภาพันธ์ 8].

วอยซ์ ออนไลน์. (2563). สถิติคดียาเสพติด 8 จ.อีสานน่าเป็นห่วง - เผยวิธีส่งของช่วงโควิด-19. [Online] Available: https://voicetv.co.th/read/ORL_cEn1I. [2565, มีนาคม 13].

สมพงษ์ เตชะสมบูรณ์. (2560). นิติวิทยาศาสตร์กับการเสริมสร้างความยุติธรรม. [Online] Available: http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_. [2565, มีนาคม 13].

สวัสดิ์ ศรีเกษม. (2542). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสพยาบ้าของพนักงานขับรถบรรทุกที่ตรวจพบยาเสพติด (ยาบ้า) ในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2564). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564. [Online] Available: https://www.oncb.go.th/EBookLibrary/annual%20report%202564. [2565, มีนาคม 13].

สุนทรีพรรณ กำปั่นทอง (2551). ปัญหาและอุปสรรคในการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ชุดปราบปรามยาเสพติดตำรวจภูธร จังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

อนุ วังขนาย และธวิช สุดสาคร. (2564). ปัจจัยการจัดการงานการข่าวการสืบสวนคดีเกี่ยวข้องกับยาเสพติด กรณีศึกษาตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-15

How to Cite

เกตุใหม่ พ., & ภักดีณรงค์ พ. . (2022). บทบาทของนิติวิทยาศาสตร์ในการสืบสวนคดียาเสพติดประเภทยาบ้า ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(3), 211–226. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/450