การวัดปริมาณดีเอ็นเอจากเลือดของมนุษย์ที่ได้จากยุงด้วยเทคนิคเรียลไทม์พีซีอาร์

ผู้แต่ง

  • ภัสรา ควรเนตร คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พันตำรวจโท ดร.ธิติ มหาเจริญ คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐมวดี ญาณทศนีย์จิต คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ยุง, ดีเอ็นเอ, เรียลไทม์พีซีอาร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปริมาณและคุณภาพดีเอ็นที่คงอยู่ที่ได้จากยุงด้วยเทคนิคเรียลไทม์พีซีอาร์เมื่อเวลาผ่านไปในแต่ละช่วงเวลานับตั้งแต่เวลาที่ยุงกินเลือดโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงเวลาคือ 0, 24, 48 และ 72 ชั่วโมง เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยใช้เครื่อง QuantStudio™ 6 Flex Real-Time PCR System ด้วยไพร์เมอร์ CADM1 จำนวน 3 ขนาด ได้แก่ 121, 229 และ 397 คู่เบส กลุ่มตัวอย่างในการทดลองคือ ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti), ยุงลายสวน (Aedes albopictusi) และยุงรำคาญ (Culex quinguefasciatus) และใช้สถิติการทดสอบ General Linear Model ผลการวิจัยพบว่า 1) ช่วงเวลาที่แตกต่างกันจะทำให้ความเข้มข้นของดีเอ็นเอที่ได้จากยุงทั้ง 3 สายพันธุ์ คือ ยุงลายบ้าน ยุงลายสวน และยุงรำคาญ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (F = 13.906, p value= 0.000) 2) ความเข้มข้นของดีเอ็นเอที่ได้จากยุงทั้ง 3 สายพันธุ์ คือ ยุงลายบ้าน ยุงลายสวน และ ยุงรำคาญ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (F=4.623, p value=0.018) และ 3) ผลการวิเคราะห์คุณภาพของดีเอ็นเอที่คงอยู่ พบว่าสามารถเพิ่มจำนวนได้ทุกไพร์เมอร์ในทุกช่วงเวลา สรุปได้ว่า เมื่อช่วงเวลาผ่านไปส่งผลให้ปริมาณดีเอ็นเอที่คงอยู่ลดลงและสายพันธุ์ของยุงส่งผลต่อปริมาณดีเอ็นเอที่คงอยู่ต่างกัน และดีเอ็นเอที่ได้มีคุณภาพสามารถนำไปตรวจในงานนิติวิทยาศาสตร์ต่อไปได้ ทำให้สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานเชื่อมโยงไปสู่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานที่เกิดเหตุได้ เป็นการตีกรอบผู้ต้องสงสัยให้แคบลง ส่งผลให้กระบวนการยุติธรรมทั้งระบบดำเนินการไปด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง และน่าเชื่อถือ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจพิสูจน์หลักฐานอีกด้วย

References

เคมอิน อินคอร์โปเรชั่น. (2565). ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของยุง. [Online]. Available: https://www.cheminpestcontrol.com/products/product-38. [2565, มีนาคม 24].

จุฬารัตน์ นุราช. (2544). “การศึกษาประสิทธิภาพของโลชั่นกันยุงจากน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากดอกดาวเรือง.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการวางแผนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

ไทยรัฐ. (2564). คุมมือฆ่าสาวโรงงานทำแผน ถูกรุมประชาทัณฑ์น่วม. [Online]. Available: https://www.youtube.com/watch?v=3RKTg3rlAfQ. [2565, มีนาคม 23].

วรวุฒิ เจริญศิริ. (2557). ความรู้เกี่ยวกับยุง. [Online]. Available: http://61.7.231.171/epidem/knowladge/mosq.pdf. [2565, มีนาคม 23].

สราวุธ เบญจกุล. (2550). หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์กับกระบวนการยุติธรรม. [Online]. Available: https://mgronline.com/daily/detail/9500000087821. [2565, มีนาคม 23].

ไอราพต โพธิ์แหบ. (2565). การปฏิบัติการฉุกเฉินในพื้นที่เกิดเหตุอาชญากรรม. [Online]. Available: https://www.emo1.org/single-post/การปฏิบัติการฉุกเฉินในพื้นที่เกิดเหตุอาชญากรรม. [2565, มีนาคม 23].

Applied Biosystems. (2008). Real-Time PCR: Understanding Ct. [Online]. Available: https://www.gene-quantification.de/ab-application-note-understanding-ct.pdf. [2022, April 18].

BCC NEWS. (2008). Mosquito Blood Identifies Thief. [Online]. Available: http://news.bbc.co.uk/2/hi/europe/7795725.stm. [2019, February 7].

Boles, K.S., et al. (2005). The Tumor Suppressor TSLC1/NECL-2 Triggers NK-cell and CD8+ T-cell Responses Through the Cell-surface Receptor CRTAM. BLOOD, 106 (3). 779-786.

Butler, J.M. (2011). Advanced Topics in Forensic DNA Typing: Methodology. Maryland: Elsevier.Hiroshige, Y. et al. (2017). A Human Genotyping Trial to Estimate the Post-feeding Time from Mosquito Blood Meals.” PLOS ONE. 12 (6), 1-18.

NFSTC. (2013). Principles of Trace Evidence. [Online]. Available: http://www.forensicsciencesimplified.org/trace/principles.html. [2020, April 3].

Ponlawat, A. and Harrington, C.L. (2005). Blood Feeding Patterns of Aedes Aegypti and Aedes Albopictus in Thailand. Entomological Society of America. 42 (5), 844-849.

QIAGEN. (2010). QIAamp® DNA Micro Handbook. [Online]. Available: https://www.qiagen.com/us/products/discovery-and-translational-research/dna-rna-purification/dna-purification/genomic-dna/qiaamp-dna-kits/. [2022, April 3].

Siria, D., et al. (2018). Evaluation of a Simple Polytetrafluoroethylene (PTFE)-based Membrane for Blood-feeding of Malaria and Dengue Fever Vectors in the Laboratory. Parasites & Vectors. 11 (1), 1-10.

Spitaleri, S. et al. (2006). “Genotyping of Human DNA Recovered from Mosquitoes Found on a Crime Scene.” International Congress Series. 1288 (6), 574–576.

Taneyhill, L.A. and Adams, M. S. (2008). Chapter 19 Investigating Regulatory Factors and Their DNA Binding Affinities Through Real Time Quantitative PCR (RT‐QPCR) and Chromatin Immunoprecipitation (ChIP) Assays. In Bronner-Fraser, M. (Ed.), Avian Embryology (2nd ed., 367-389). Cambridge: Academic Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-15

How to Cite

ควรเนตร ภ. ., มหาเจริญ ธ. ., & ญาณทศนีย์จิต ป. . (2022). การวัดปริมาณดีเอ็นเอจากเลือดของมนุษย์ที่ได้จากยุงด้วยเทคนิคเรียลไทม์พีซีอาร์. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(3), 193–210. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/449