การออกแบบการซื้อขายสินค้าเกษตรผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จและแนวทางการพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการซื้อขายสินค้าเกษตรในภาคตะวันออก: กรณีศึกษาทุเรียนในจังหวัดระยองและจันทบุรี
คำสำคัญ:
รูปแบบสนับสนุน, การซื้อขายสินค้าเกษตร, ทุเรียน,, ภาคตะวันออกบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนารูปแบบสนับสนุนการซื้อขายสินค้าเกษตรผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนในพื้นที่ภาคตะวันออก และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการออกแบบการซื้อขายสินค้าเกษตรผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กับความสำเร็จของการซื้อขายสินค้าเกษตรผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการซื้อขายสินค้าเกษตรในภาคตะวันออก โดยวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์กับผู้แทนจากหน่วยงานรัฐบาลและเอกชน จำนวน 19 คน ร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามกับตัวแทนชาวสวนทุเรียนในจังหวัดระยองและจันทบุรี จำนวน 400 ชุด และการสนทนากลุ่มกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน ผลการวิจัยพบว่าปัญหาและอุปสรรคออกเป็น 4 ประเด็น คือ คุณภาพและปริมาณของทุเรียน, การสนับสนุนจากภาครัฐ, ระบบโลจิสติกส์และ ช่องทางการจัดจำหน่าย ในส่วนแนวทางการพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการซื้อขายสินค้าเกษตรในภาคตะวันออกทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านคุณภาพและปริมาณของทุเรียน, ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ, ด้านระบบโลจิสติกส์ และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย โดยความสัมพันธ์ของปัจจัยพบว่า ปัจจัยด้านการออกแบบซื้อขายสินค้าเกษตร ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการซื้อขายสินค้าเกษตรผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ผู้ขายสินค้า, พื้นที่เว็บไซด์ที่ให้บริการ, ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, ผู้ดำเนินการขนส่งสินค้า และผู้ซื้อสินค้า ปัจจัยด้านความสำเร็จของการซื้อขายสินค้าเกษตรที่ส่งผลต่อแนวทางการพัฒนารูปแบบสนับสนุนการซื้อขายสินค้าเกษตร ได้แก่ กฎหมายการส่งออก, กฎหมายการนำเข้า, ข้อกีดกันทางการค้า, คู่แข่งทางการค้า และความชำนาญของเกษตรกร
References
กรกมล ซุ้นสุวรรณ, ธัชตะวัน ชนะกูล, จิตรลดา พันธุ์พณาสกุล และวิทวัส สุริยันยง. (2562). การพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับจัดการผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตข้าวบ้านหนองถ้วย ตำบลตะเครียะ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. 12-13 กรกฎาคม 2562. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. (631-644).
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2560). คู่มือเปิดร้านค้าออนไลน์ Easy Online Shop. นนทบุรี: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า.
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563). รายงานสถิติทางการ : จำนวนครัวเรือนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร จำแนกรายจังหวัด. [Online]. Available: https://osstat.nso.go.th/statv5/list.php?id_branch=11. [2564, มกราคม 10].
จรัญญา วงศ์ดอนขมิ้น. (2556). กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของธุรกิจบริการส่งออก. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จิตติพงศ์ เลิศประดิษฐ์. (2564). Marketing Technology Trend 2021 พลิกโลกการตลาดด้วยมาร์เทค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
โชติพัฒน์ กลิ่นสุคนธ์ และมณฑล ศิริธนะ. (2563). การปรับตัวของธุรกิจไทย ในยุค E-commerce. [Online]. Available: https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_19Mar2019.aspx [2563, พฤษภาคม 12].
ดวงตา สราญรมย์, วิศนันท์ อุปรมัย และอภิรดี สราญรมย์. (2564). Business Management Strategies in the COVID-19 Situation. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 9 (4), 1328-1336.
ดาราวรรณ ญาณะนันท์ และสถาพร จะนุ. (2562). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสําหรับวางแผนการผลิตและการตลาดเพื่อพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดจังหวัดราชบุรีสู่การเป็น Smart Farmer. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. 9 (2), 202-216.
ปริศนา เพชระบูรณิน. (2556). พาณิชยอิเล็กทรอนิกส์กับสังคมไทย. วารสารวิชาการปทุมวัน. 3 (7), 39-45.
เพ็ญสุข เกตุมณี, วรลักษณ์ ลลิดศศิวิมล, สิริลักษณ์ ทองพูน และ กอแก้ว จันทร์กิ่งทอง. (ปปป). ความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุค Thailand 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 37 (4), 245-256.
ภูษณิศา เตชเถกิง. (2556). การตลาดระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วาสนา จักร์แก้ว. (2557). รายงานวิจัยเรื่อง การค้าชายแดนและผลกระทบต่อชุมชนกรณีศึกษา: ประตูการค้าสี่แยกอินโดจีนจังหวัดพิษณุโลก. ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สมชนก (คุ้มพันธุ์) ภาสกรจรัส. (2556). หลักการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬา.
สมพร อิศวิลานนท์. (2562). สถานการณ์การผลิตและการบริโภคทุเรียนของโลกและการส่งออกทุเรียนของไทย. 7 มิถุนายน 2562. สถาบันคลังสมองของชาติ. (1-9).
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2560). ข้อมูลการผลิตและตลาดทุเรียนในมาเลเซีย. [Online]. Available: https://www.ditp.go.th/contents_attach/226581/226581.pdf. [2563, เมษายน 24].
อัจฉรา สุขกลั่น, เกษราภรณ์ สุตตาพงศ์ และ นนทิภัค เพียรโรจน์. (2561). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการเกษตรอัจฉริยะ. วารสารนักบริหาร. 38 (1), 91-100
Anne-Will Harzing and Axele Giroud. (2014). The Competitive Advantage of Nations: An Pplication to Academia. Journal of Informetrics. 8 (1), 29-42
Balakrishnan, B. K., Dahnil, M. I., & Yi, W. J. (2014). The impact of social media marketing medium toward purchase intention and brand loyalty among generation Y. Procedia-Social and Behavioral Sciences. 148, 177-185.
Dave Chaffey and Tanya Hemphill. (2019). Digital Business and E-Commerce Management. New York: Pearson.
Duke, J. II, Kankpang, K., Emenyi, E, and Efiok, S. (2013). Impediments of Electronic Commerce as a Tax Revenue Facilitator in Nigeria. International Business Research, 6 (6). 1-10.
Suranovic, S. (2012). International Economics: Theory and Policy. Washington, DC.: George Washington University.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York: Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.