ปัจจัยที่ส่งผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดและการสร้างแบรนด์ต่อการยอมรับแอพพลิเคชั่น กวดวิชาของกลุ่มคนรุ่นใหม่ (Generation Z)

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล สุวรรณรินทร์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รองศาสตราจารย์ ดร.อรพรรณ คงมาลัย วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดและการสร้างแบรนด์ต่อการยอมรับแอพพลิเคชั่นกวดวิชาของกลุ่มคนรุ่นใหม่ (Generation Z) โดยเสนอแนะแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดให้กับสถาบันกวดวิชาที่มีการนำแอพพลิเคชั่นสำหรับการเรียนมาใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในช่วงกลุ่มคนรุ่นใหม่ (Generation Z) งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยการเก็บแบบสอบถามในรูปแบบออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาซึ่งอยู่ในช่วงกลุ่มคนรุ่นใหม่ (Generation Z) ที่เรียนสถาบันกวดวิชา โดยสุ่มจำนวนตัวอย่างตามสัดส่วนของขนาดกลุ่มประชากรด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้รับแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์กลับมาจำนวน 430 ชุด จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา และเชิงอนุมานเพื่อใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ผลการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง (SEM) ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยคุณค่าที่ผู้บริโภครับรู้ (Perceived Value) ส่งผลต่อความพึงพอใจ (User Satisfaction) ร้อยละ 81 (R2=0.650) ปัจจัยความพึงพอใจ (User Satisfaction) ส่งผลทางตรงต่อปัจจัยด้านความภักดี (Loyalty) ร้อยละ 98 (R2=0.646) ปัจจัยกลยุทธ์การตลาด 4E’s (Marketing Mix 4E’s) ร่วมกับปัจจัยรูปแบบและลักษณะของเทคโนโลยี (Technological Characteristics) ส่งผลทางตรงต่อปัจจัยคุณค่าที่ผู้บริโภครับรู้ (Perceived Value) ร้อยละ 92 (R2=0.924) ปัจจัยกลยุทธ์การตลาด 4E’s (Marketing Mix 4E’s) ร่วมกับปัจจัยรูปแบบและลักษณะของเทคโนโลยี (Technological Characteristics) และปัจจัยพฤติกรรมเจเนอเรชั่นแซด (Generation Z Characteristics) ส่งผลต่อปัจจัยการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน (Perceived Ease of Use) ร้อยละ 79 (R2=0.797) ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำผลการศึกษามาเป็นข้อเสนอแนะแนวทางที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนากลยุทธ์การตลาดให้กับสถาบันกวดวิชาเพื่อให้เกิดการยอมรับแอพพลิเคชั่นกวดวิชามากยิ่งขึ้น

References

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2562). กลยุทธ์การตลาด 4Es และส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix). [Online] Available: https://www.iok2u.com/index.php/article/marketing/330-4es-marketing-mix. [2564, กันยายน 20]

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี

อรพรรณ คงมาลัย และอัญณิฐา ดิษฐานนท์. (2561). เทคนิควิจัย ด้านการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร

Electronic Transactions Development Agency. (2563). ETDA เผย ปี 62 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10 ชั่วโมง 22 นาที Gen Y ครองแชมป์ 5 ปีซ้อน. [Online] Available: https://www.etda.or.th/th/NEWS/ETDA-Revealed-Thailand-Internet-User-Behavior-2019.aspx. [2564, กันยายน 20].

Aaker, D.A. (1991), Managing Brand Equity: Capitalizing on the Value of a Brand Name, New York: The Free Press. Journal of Business Research. 29 (3), 247-248.

Hartnett, M. (1998). Shopper Needs Must be Priority. Discount Store News. 37 (9), 21-22.

Hair, J.F., Hult, G.T.M., Ringle, C.M., Sarstedt, M. (2014). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). Sage, Thousand Oaks, CA.

Hu, L., Bentler, P. (1999). Cutoff criteria for fit indices in covariance structure analysis: Conventional criteria versus new alternatives. Structural Equation Modeling: A Multidisciplinary Journal. 6 (1), 1-55.

Ives, B., Oslon, M. H., & Baroudi, J. J. (1983). The measurement of user information satisfaction. Journal of Communications of the ACM. 26 (10), 785-793.

Jianguanglung D. (2016). Understanding The Generation Z: The Future Workforce. South-Asian Journal of Multidisciplinary Studies (SAJMS). 3 (3), 1-5.

Lindeman RH, Merenda PF, Gold RZ. (1980). Introduction to Bivariate and Multivariate Analysis. Scott, Foresman:Glenview, IL.

Lunneborg, C. E. (1979). Book Review: Psychometric Theory: Second Edition Jum C. Nunnally. New York: McGraw-Hill, 1978,701 pages. Applied Psychological Measurement. 3 (2), 279-280.

Schumacker, R. E. & Lomax, R. G., (2004). A beginner’s guide to structural equation modeling. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (1994). Consumer behaviour (5th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Sheth N., Newman I., Gross L. (1991). Why We Buy What We Buy: A Theory of Consumption Values. Journal of Business Research. 22 (2), 159-170.

Teo, S.H.T., Lim, V.K.G. and Lai, R.Y.C. (1999). Intrinsic and extrinsic motivation in internet usage. Omega International Journal of Management Studies. 27, 25-37.

Yaser H. S., A. Shamsuddin. (2014). The Relationship between System Quality, Information Quality, and Organizational Performance. International Journal of Knowledge and Research in Management & E-Commerce. 4 (3), 7-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-15

How to Cite

สุวรรณรินทร์ ณ. ., & คงมาลัย อ. (2022). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบของกลยุทธ์การตลาดและการสร้างแบรนด์ต่อการยอมรับแอพพลิเคชั่น กวดวิชาของกลุ่มคนรุ่นใหม่ (Generation Z). วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(3), 155–170. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/447