ผลของการบูรณาการจริยธรรมในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลต่อความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมและพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
คำสำคัญ:
การบูรณาการจริยธรรม, รายวิชาปฏิบัติการพยาบาล, นักศึกษาพยาบาล, พฤติกรรมจริยธรรม, ความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อน และหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการบูรณาการจริยธรรมในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลต่อความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม และพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ระยะเวลาที่ศึกษาวิจัย 8 สัปดาห์ ประชากร คือ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 48 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 48 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากการลงทะเบียนเรียนรายวิชาปฏิบัติการมารดา ทารก และผดุงครรภ์ 2 และรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการบูรณาการจริยธรรมเป็นการฝึกวิเคราะห์สถานการณ์ที่มีประเด็นความขัดแย้งทางจริยธรรม 6 ครั้ง แบบประเมินความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล เป็น Rating Scale 4 ระดับ และแบบประเมินพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลต่อผู้ป่วย ดัดแปลงมาจากแบบสอบถามพฤติกรรมจริยธรรมของ (Muengprasert, 2010) เป็น Rating Scale 5 ระดับ มี 6 ด้าน จำนวน 34 ข้อ เครื่องมือวิจัยได้ผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาทั้ง 3 เครื่องมือ ได้ค่า IOC=1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired Sample T-test ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม และค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = -21.59, p.00 และ t = -4.42, p.00) การบูรณาการจริยธรรมในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมีผลต่อความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม และพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
References
จิณพิชญ์ชา มะมม และปริญญา แร่ทอง. (2557). ผลของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุต่อทัศนคติเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาล ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 22 (5), 731-742.
ภาวินี ศรีสันต์. (2561). พฤติกรรมจริยธรรมต่อผู้ป่วยของผู้ที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชธานี. การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3 “นวัตกรรมที่พลิกโฉมสังคมโลก”. วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชธานี อ.เมือง จ. อุบลราชธานี.
ศิริวรรณ เมืองประเสริฐ. (2553). พฤติกรรมจริยธรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วย และพยาบาลผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงพยาบาลศูนย์ภาคใต้. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. [Online]. Available: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/7290?mode=full. [2562, มกราคม 16].
สภาการพยาบาล. (2559). รายงานประจำปี 2559 สภาการพยาบาล. [Online]. Available: https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/ReAnnualReport2559(1).pdf. [2562, พฤษภาคม 5].
สภาการพยาบาล. (2559). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560 (มคอ.1). [Online]. Available: https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/Edit(1).PDF. [2562, พฤษภาคม 5].
สภาการพยาบาล. (2562). คู่มือส่งเสริมจริยธรรมสำหรับองค์กรพยาบาล: กลไกและการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท จุดทอง.
อภิญญา อินทรรัตน์, วรรณี แกมเกตุ และสุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเสริมสร้าง ความสามารถในการในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ เรื่องเล่าจากประสบการณ์. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 43 (2), 123-140.
อรัญญา เชาวลิต และทัศนีย์ นะแส. (2559). จริยธรรมในการสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตร์. บทความวิชาการ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 36 (3), 261-270.
Kolb, D.A. (1984). Experiential Learning: Experience as the Source of Learning and Development. Prentice Hall, New Jersey.
Mittchell, C. (1990). Ethical Dilemmas. Critical Care Nursing Clinics of North America. 2 (3), 427-430.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.