ประเภทของพฤติกรรมผู้บริโภคและการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายทางการแพทย์ผ่านช่องทางออนไลน์
คำสำคัญ:
ประเภทของพฤติกรรมผู้บริโภค, การยอมรับเทคโนโลยี, กระบวนการตัดสินใจซื้อบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยประเภทของพฤติกรรมผู้บริโภคต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายทางการแพทย์ผ่านช่องทางออนไลน์ 2.เพื่อศึกษาปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายทางการแพทย์ผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้ที่เคยซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายทางการแพทย์ผ่านช่องทางออนไลน์ จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้สถิติเชิงอนุมาน F-test, LSD (The Least significant difference) การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1.ปัจจัยประเภทของพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นประเภทให้ความสำคัญกับความถูกต้องและน่าเชื่อถือ (Empowered Activist Types) และปัจจัยประเภทของพฤติกรรมผู้บริโภคที่แตกต่างมีกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายทางการแพทย์ผ่านช่องทางออนไลน์แตกต่างกันในทุกขั้นตอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 2.ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการยอมรับเทคโนโลยี อยู่ในระดับมาก ( = 3.86) มีการแสดงพฤติกรรมต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายทางการแพทย์ผ่านช่องทางออนไลน์ อยู่ในระดับบ่อยครั้ง (
= 4.05, SD. = 0.38) และปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายทางการแพทย์ผ่านช่องทางออนไลน์ในทุกขั้นตอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
References
คมน์สิทธิ์ เดชะรินทร์. (2557). การวัดอุณหภูมิร่างกาย. [Online]. Available: https://www.haijai.com/2537/ [2565, มีนาคม 13].
ทวีรัชต์ คงรชต. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่าน ระบบออนไลน์ของคนวัยทำงานในจังหวัดนนทบุรี. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์. 12 (16), 40-60.
พสุ เดชะรินทร์. (2562). ลูกค้า 10 ประเภทในยุคปัจจุบัน . [Online]. Available: https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/123001. [2565, มีนาคม 13].
มัสลิน ใจคุณ. (2561). การยอมรับเทคโนโลยี ความไว้วางใจ และการตลาดผ่านสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก ไลฟ์ (Facebook LIVE)ของกลุ่มผู้บริโภค Generations X, Y, Z. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
ราช ศิริวัฒน์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค. [Online]. Available: https://www.doctemple.wordpress.com/2017/01/25/. [2565, มีนาคม 13].
รัชนีพร แก้ววิชิต. (2561). การรับรู้ละการเข้าถึงผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน BTS SkyTrain. การค้นคว้าอิสระ ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วราพร วัฒนชัยยงค์. (2564). ความต้องการและการตัดสินใจซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองของ ผู้ป่วยเบาหวานในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุธาสินี ตุลานนท์. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Amrutha Shridhar. (2020). Understanding Path to Purchase 2020 Consumer Types. Euromonitor International London. [Online]. Available: https://go.euromonitor.com/white-paper-survey-2020-consumer-types-path-to-purchase.html. [2022, March 13].
Davis, F. D. (1989). Perceived Usefulness and Perceived Ease of Use and user Acceptance of Information Technology. Management Information System Research Center. University of Minnesota. 13 (3): 319-340.
Kotler and Armstrong. (2016). Marketing Management, 15th Global Ed. (2016). NJ: Pearson Education.
Liu, Y., and Yang. Y. (2018). Empirical Examination of User is Adoption of the Sharing Economy in China Using an Expanded Technology Acceptance Model. Sustainability. 10 (4), 1262.
Simon, K. (2021). Digital 2021 Thailand Accessed in Online. [Online]. Available: https://datareportal.com/reports/digital-2021-thailand. [2022, March 13].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.