ปัญหาและแนวทางการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมปริมาณการบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.ศิริญญา ดุสิตนานนท์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปกรณ์ วิญญูหัตถกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุบนท้องถนน, พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มและแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551, พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกรณีที่จะก่อให้เกิดอันตราย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนของต่างประเทศ และประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบด้านกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน และนำเสนอข้อเสนอด้านนโยบายในเชิงกฎหมาย เศรษฐกิจ และสังคมแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาเอกสาร กฎหมาย นโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ทำให้ทราบถึงปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนของประเทศไทยที่มาจากการการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะด้วยเหตุการเมาแล้วขับ การดื่มก่อนวัยอันควร หรือการดื่มในปริมาณที่มากเกินพอดี ผลของการวิจัยได้เสนอข้อเสนอแนะ ประการแรก การเพิ่มมาตรการเรื่องปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกาย โดยการใช้ปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายเป็นเกณฑ์ในการกำหนดบทลงโทษ ประการที่สอง สนับสนุนการให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อร่างกาย และความเข้าใจเกี่ยวกับ ดื่มมาตรฐาน (Standard Drink) ประการที่สาม ส่งเสริมให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการป้องกันและลดปัญหาเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์อย่างไม่รับผิดชอบ ประการที่สี่ เพิ่มมาตรการจำแนกความร้ายแรงของการกระทำความผิด โดยพิจารณาจากจำนวนครั้งในการกระทำความผิด ประการที่ห้า การเพิ่มมาตรการบังคับติดตั้งเครื่อง Ignition Interlock เมื่อผู้กระทำความผิดเมาแล้วขับมีพฤติกรรมและความผิดที่ร้ายแรง

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ส่องผลร้าย ที่ได้จากการดื่มแล้วขับ. [Online]. Available: http://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=1036. [2565, กรกฎาคม 8].

กรมคุมประพฤติ. (2555). แนวปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดคดีขับรถขณะเมาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. [Online]. Available: https://probation.go.th/contentdl.php?id=31370. [2565, พฤษภาคม 15].

มูลนิธิเมาไม่ขับ. (2565) สถิติผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนทั่วประเทศ. [Online]. Available: https://www.ddd.or.th/StatisticsOfDeathAndInjuries/index/2020. [2565, สิงหาคม 8].

ไวพจน์ กุลาชัย. (2555). การบังคับใช้กฎหมายกรณีเมาแล้วขับในประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ เวียดนาม สิงคโปร์และไทย. [Online]. Available: https://dric.nrct.go.th/Search/ShowFulltext/2/275777. [2565, พฤษภาคม 15].

ไวพจน์ กุลาชัย และ จินดา กลับกลาย. (2558). การบังคับใช้กฎหมาย “เมาแล้วขับ”. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). โครงการการศึกษาช่องว่างและแนวทางที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายต่อการลดพฤติกรรมการเมาแล้วขับบนท้องถนน. [Online]. Available: http://www.roadsafetythai.org/edoc/doc_20201019112437.pdf. [2565, กรกฎาคม 8].

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2560). กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. ๒๕๒๒. [Online]. Available: https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=570840&ext=htm. [2565, กรกฎาคม 8].

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2560). ประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับฉลากของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๘. [Online]. Available: https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=721338&ext=htm. [2565, กรกฎาคม 8].

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติ ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑. [Online]. Available: https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=571438&ext=htm. [2565, กรกฎาคม 8].

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒. [Online]. Available: https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=570840&ext=htm. [2565, กรกฎาคม 8].

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2562). คกก. นโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ เห็นชอบมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สนับสนุนการลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์. [Online]. Available: https://gnews.apps.go.th/news?news=37460. [2565, พฤษภาคม 15]

Bakermckenzie. (2020). Consumer Goods & Retail Vietnam. [Online]. Available: https://www.bakermckenzie.com/en/media/images/insight/publications/2020/02/vietnam-adopts-new-law-to-tackle-effects-of-alcohol.pdf. [2022, August 8].

European Transport Safety Council. (2019). Progress in Reducing Drink–Driving and Other Alcohol–Related Road Deaths in Europe. [Online]. Available: https://etsc.eu/wp-content/uploads/reducingdrinkdriving_031219_design_final.pdf. [2022, May 15].

Government of the United Kingdom. (2022). Road Traffic Act 1988. [Online]. Available: https://www.legislation.gov.uk/ukpga/1988/52/contents#top. [2022, August 8].

Institute of Alcohol Studies. (2010). Drinking & Driving: IAS factsheet. London: Institute of Alcohol Studies.

Traffic Injury Foundation. (2019). TIRF USA releases Road Safety Monitor: Alcohol-Impaired Driving in the United States, 2019. [Online]. Available: https://tirf.us/tirf-usa-releases-road-safety-monitor-alcohol-impaired-driving-in-the-united-states-2019/. [2022, August 22].

World Health Organization. (2022). Launch of the Global Status Report on Road Safety 2018 in Thailand. [Online]. Available: https://www.who.int/thailand/news/detail/19-12-2018-launch-of-the-global-status-report-on-road-safety-2018-in-thailand#:~:text=According%20to%20WHO%20estimates%20for,between%2015%20and%2029%20years. [2022, July 8].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-15

How to Cite

ดุสิตนานนท์ ศ. ., & วิญญูหัตถกิจ ป. . (2022). ปัญหาและแนวทางการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมปริมาณการบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนของประเทศไทย. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(3), 89–102. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/440