การส่งเสริมสินค้าเกษตรอินทรีย์: ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติและปัจจัยทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค

ผู้แต่ง

  • ดร. สุณี หงษ์วิเศษ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ดร. ปริญญา นาคปฐม วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กฤษฎิพัทธ์ พิชญะเดชอนันต์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • รองศาสตราจารย์ ดร. ธนวัฒน์ พิมลจินดา คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

เกษตร, เกษตรอินทรีย์, สินค้าเกษตรอินทรีย์, การตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับ ปัจจัยทางการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในมุมมองของผู้บริโภค และ (2) เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการส่งเสริม สินค้าเกษตรอินทรีย์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่ม ตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้ที่เลือกซื้อและได้ซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ จากห้างสรรพ สินค้า ร้านจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ และตลาดทั่วไป จำนวน 1,182 ตัวอย่าง ครอบคลุม 12 จังหวัด ใน 5 ภูมิภาค ทำการวิเคราะห์ผลใน 2 รูปแบบ คือ (1) ความรู้ความเข้าใจใช้แบบสอบถามเลือกตอบ แสดงผลเป็นเข้าใจถูกต้อง เข้าใจไม่ถูกต้อง และไม่แน่ใจ สรุปผลเป็นความถี่และร้อยละ และ (2) ทัศนคติและปัจจัยการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ใช้แบบสอบถามแบบ Rating Scale โดยแสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เนื่องจากขาดการสื่อสารทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ในขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและต้องการบริโภค สินค้าปลอดสารปนเปื้อนโดยมีหน่วยงานที่น่าเชื่อถือรับรอง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเกษตรอินทรีย์ ปัจจัยทางการตลาด พบว่า ผู้บริโภคต้องการสินค้าคุณภาพที่มีความหลากหลาย และให้ความสำคัญกับราคาและแหล่งจำหน่ายที่เข้าถึงได้ง่าย ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ควรให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้บริโภค และควรส่งเสริมเกษตรกรให้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่หลากหลาย ด้วยวิธีการที่มีต้นทุนต่ำ เพื่อให้ราคาขายลดลง และควรส่งเสริมให้มีการขยายตัวของผู้ประกอบการเพื่อรองรับความ ต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง

References

กรมวิชาการเกษตร. (2555). มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 9000 เล่ม 1-2552. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กรีนเนท. (2557). สถานการณ์เกษตรอินทรีย์ไทย. [Online]. Available: http://www.greennet.or.th/article/organic-farming. [2558, มกราคม 3].

ณัชชา ลูกรักษ์, ดุสิต อธินุวัฒน์ และธีระ สินเดชารักษ์. (2556). ปัญหาและอุปสรรคในการปรับเปลี่ยนเพื่อการผลิตพืชผักอินทรีย์ของเกษตรกรจังหวัดราชบุรีที่ผ่านการอบรมโครงการพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์. Thai Journal of Science and Technology, 2 (2): 125-133.

ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์ (2562). เกษตรอินทรีย์ วิถียโสธร...แนวทางการเกษตรจากเมืองเกษตรอินทรีย์ต้นแบบของประเทศไทย. วารสารสิ่งแวดล้อม, 23 (2): 1-13.

วริพัสย์ เจียมปัญญารัช. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของเกษตรกรอินทรีย์ของไทย: บทเรียนจากเกษตรกรรายย่อย, วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20: 199-215.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ตลาดออร์แกนิค ธุรกิจสร้างเงิน SME ไทย, กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารกสิกรไทย.

สมเกียรติ วงศ์ประเสริฐ และวิลาวรรณ์ เชื้อบุญ. (2561). ทัศนคติต่อสินค้าอาหารอินทรีย์ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. Thai Journal of Science and Technology, 7 (4): 399-407.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.). (2552). มาตรฐานและข้อกำหนดสำหรับหน่วยรับรองตามมาตรฐาน IFOAM, JAS, และ NOP. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สถิติรายได้และรายจ่ายครัวเรือน. [Online]. Available: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/08.aspx. [2562, มิถุนายน 10].

สุณัฐวีย์ น้อยโสภา. (2558). "เกษตรอินทรีย์" โอกาสการส่งออกของเกษตรกรไทยในตลาดโลก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 9 (18): 83-91.

อภิชาต ใจอารีย์. (2561). แนวทางการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารปลอดภัยสำหรับชุมชน: บทสะท้อนจากภาคปฏิบัติ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38 (5): 1-17.

Assael, H. (1995). Consumer Behavior and Marketing Action (5th ed.). U.S.A.: International Thomson.

Belch, G. E. & Belch, M. A. (2007). Advertising and Promotion: An Integrated Marketing Communications Perspective. Boston, MA: Graw-Hill Irwin.

Best, J. & Kahn, J. V. (1993). Research in Education. Boston: Allyn and Bacon.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16 (3): 297-334.

Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: Experimental Designs.

Kotler, P. (2011). Marketing Management: Analysis Planning Implementation and Control. New Jersey: Prentice Hall International, Inc.

Lemon, K. & Verhoef, P. (2016). Understanding Customer Experience Throughout the Customer Journey. Journal of Marketing: AMA/MSI Special Issue, 80: 69-96.

Lernoud, J. & Willer, H. (2019). Organic Agriculture Worldwide: Key Results from the FiBL Survey on Organic Agriculture Worldwide 2019. Switzerland: Research Institute of Organic Agriculture.

Pornpratansombat, P., Bauer, B. & Boland, H. (2011). The Adoption of Organic Rice Farming in Northeastern Thailand. Journal of Organic Systems, 6 (3): 4-12.

Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (2007). Consumer Behavior (9th ed.). New Jersey: Prentice Hall International, Inc.

Vivek, S. D., Beatty, S. E. & Morgan, R. M. (2012). Customer Engagement: Exploring Customer Relationships Beyond Purchase. Journal of Marketing Theory and Practice, 20 (2): 122-146.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-15

How to Cite

หงษ์วิเศษ ส., นาคปฐม ป., พิชญะเดชอนันต์ ก., & พิมลจินดา ธ. (2021). การส่งเสริมสินค้าเกษตรอินทรีย์: ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติและปัจจัยทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(1), 231–248. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/437