ส่วนประสมการตลาด 4.0 จากมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อภาพลักษณ์และ ชื่อเสียงของแบรนด์ท่องเที่ยวเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • เรวิตา สายสุด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • รองศาสตราจารย์ ดร. เสรี วงษ์มณฑา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • รองศาสตราจารย์ ชวลีย์ ณ ถลาง วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด 4.0, แบรนด์เมืองท่องเที่ยว, ภาพลักษณ์เมืองท่องเที่ยว, เมืองหัวหิน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาด 4.0 จากมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงของแบรนด์ท่องเที่ยวเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนและภาควิชาการ รวมทั้งสิ้น 20คน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ด้วยการจัดความสำคัญ จัดกลุ่มเนื้อหาเป็นหมวดหมู่รวมถึงการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและสรุปประเด็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้อมูล พื้นฐานที่ร่วมกันพัฒนากับนักท่องเที่ยว (Co-creation) มีศักยภาพในการใช้เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการทางการ ท่องเที่ยวและเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานที่สามารถเข้าถึงรสนิยมและความต้องการของนักท่องเที่ยว 2) การปรับราคาและวิธีการจ่ายเงินของนักท่องเที่ยว (Currency) เป็นไปตามกลไกตลาดและช่วงเวลาฤดูกาล ท่องเที่ยว การรับประกันเรื่องราคาที่เป็นธรรมจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเปรียบเทียบเพื่อการตัดสินใจเลือกตามคุณภาพและความพึ่งพอใจ 3) ความร่วมมือของภาคธุรกิจ (Communal Activation)สามารถอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวในการซื้อ และการใช้บริการทางการท่องเที่ยวรวดเร็ว และ ตัดสินใจง่ายขึ้น อีกทั้งภาคธุรกิจที่มีหน่วยขนาดเล็กในท้องถิ่นควรได้รับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการแข่งขันในช่องทางตลาดแบบออนไลน์ 4) พื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ (Conversation) ควรมีการติดตามกระแสความสนใจของนักท่องเที่ยวและมีพื้นที่ให้นักท่องเที่ยวได้แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ ดังนั้นผลการศึกษานี้ควรนำไปประยุกต์ช้เพื่อวางกรอบนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองหัวหิน

References

คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลเมืองหัวหิน. (2560). แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2560-2562). ประจวบคีรีขันธ์: เทศบาลเมืองหัวหิน.

ชฎาภาตงสาลี. (2557). การรับรู้ภาพลักษณ์ของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 7 (3): 1257-1264.

เสรี วงษ์มณฑา, และ ชุษณะ เตชคณา. (2560). การตลาด 4.0 ในบริบทประเทศไทย 4.0. วารสารเศรษฐศาสตร์ และนโยบายสาธารณะ, 8 (15): 1-16.

วรรณดี สุทธินรากร. (2561). การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Data Analysis of the Qualitative Research) (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

วรรณี งามขจรกุลกิจ. (2559). การเข้าใจและเข้าถึงผู้บริโภคยุค 4.0 เพื่อความสำเร็จของแบรนด์. การประชุม วิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม. 11, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม. 1251-1256.

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

da Silva Oliveira, E. (2013). Making Strategies in Destination Branding. [Online] Available: https://www.rug.nl/research/portal/files/15687548/Oliveira_2013_Making_Strategies_in_Destination_Branding.pat20131112_6042_1b5cyvi_libre_libre.pdf [2019, February 13]

Giannopoulos, A. A., Piha, L. P., & Avlonitis, G. J. (2011). "Desti-Nation Branding": what for? From the Notions of Tourism and Nation Branding to An Integrated Framework. [Online] Available: http://www.culturaldiplomacy.org/culturaldiplomacynews/content/articles/participantpapers/2011/april/biec-roa-nua/desti-nation_branding-_antonios_giannopoulos.pdf [2019, March 11]

Kasapi, I., & Cela, A. (2017, July). Destination Branding: A Review of the City Branding Literature. Mediterranean Journal of Social Sciences, 8(4), 129-142. doi:10.1515/mjss-2017-0012

Kotler, P., Kartajaya, H., & Setiawan, I. (2017). Marketing 4.0: Moving from Traditional to Digital. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.

McMillan, J. H., & Schumacher, S. (1997). Research in Education: A Conceptual Introduction. New York: Longman.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-15

How to Cite

สายสุด เ., วงษ์มณฑา เ., & ณ ถลาง ช. (2021). ส่วนประสมการตลาด 4.0 จากมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อภาพลักษณ์และ ชื่อเสียงของแบรนด์ท่องเที่ยวเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(1), 175–192. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/434