การศึกษาเปรียบเทียบการปรากฏขึ้นของรอยลายนิ้วมือแฝงบนเครื่องหนัง ด้วยวิธีการซุปเปอร์กลู
คำสำคัญ:
รอยลายนิ้วมือแฝง, เครื่องหนัง, ซุปเปอร์กลูบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบการปรากฏขึ้นของรอยลายนิ้วมือแฝงด้วยวิธีการ ซุปเปอร์กลู จำแนกตามช่วงระยะเวลาและประเภทหนังที่แตกต่างกัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยทำการทดลองตรวจเก็บรอยลายนิ้วมือด้วยวิธีการซุปเปอร์กลูบนเครื่องหนัง 4 ประเภท คือ หนัง Top Grain, หนังกลับ, หนัง PU และหนังแก้ว ในระยะเวลาที่แตกต่างกัน 8 ช่วงเวลา คือ ทันที่หลังประทับลายนิ้วมือ, 3 ชั่วโมง, 6 ชั่วโมง, 12 ชั่วโมง, 1 วัน, 3 วัน, 5 วัน และ 7 วัน หลังจากนั้นจึงทำการตรวจพิสูจน์คุณภาพรอยลายนิ้วมือแฝงโดยการนับจำนวนจุดลักษณะสำคัญพิเศษด้วยเครื่องตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือ อัตโนมัติ แล้วนำค่าที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจั พบว่า คุณภาพรอยลายนิ้วมือแฝงบนเครื่องหนังแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 (F = 11.586, Sig = 0.000) เมื่อพิจารณาคุณภาพของรอยลายนิ้วมือบนเครื่องหนังแต่ละประเภทแล้ว พบว่า รอยลายนิ้วมือแฝงที่ปรากฏขึ้นบนหนัง Top Grain มีคุณภาพของรอยลายนิ้วมืออยู่ในระดับสูงที่สุด ในขณะที่การปรากฏขึ้นของรอยลายนิ้วมือแฝงบนเครื่องหนังในแต่ละช่วงเวลานั้นไม่แตกต่างกัน
References
จิตรกร คอวนิช. (2547). การศึกษาสภาพและปัญหาการส่งออกในธุรกิจอุตสาหกรรมกระเป๋าหนัง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ชนินทร์ จิตต์โกมุท. (2551). ความรู้เรื่องเครื่องหนัง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชวลิต ศรีทับทิม และประภาศรี โพธิ์ทอง. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง การสร้างหลักสูตรระยะสั้นการทำผลิตภัณฑ์หนัง. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ณุชชนา สวัสดี. (2552). วิธีปฏิบัติในการรักษาสภาพของสถานที่เกิดเหตุในคดีฆาตกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกบริหารกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ทวีทรัพย์ เล็กประดิษฐ์. (2553). การพัฒนาตู้อบสำหรับใช้สาร Cyanoacrylate เพื่อหารอยลายนิ้วมือแฝง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศิลปากร.
นฤพล บำรุงเรือน. (2558). ความมีชีวิตในผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง. ศิลปนิพนธ์ปริญญาบัณฑิต สาขาวิชา ทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รุ้งรวีย์ ทองธรรมชาติ (2561). การพัฒนาผงฝุ่นจากแกลบดำในการตรวจหารอยลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิว ที่แตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ คณะ นิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ.
สกลกฤษณ์เอกจักรวาล. (2554). การเปรียบเทียบระยะเวลาที่สามารถตรวจพบรอยลายนิ้วมือแฝงบนปลอกกระสุนปืนออโตเมติกประเภททองเหลือง ขนาด 9 และ 11 มิลลิเมตร. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมจารี คันธชาติกุล. (2558). การศึกษาหาระยะเวลาการคงอยู่ลายนิ้วมือแฝงบนพลาสติก 3 ประเภทโดยใช้วิธีซุปเปอร์กลูในสภาวะวดล้อมที่แตกต่างกัน. ใน รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 กลุ่มระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุภาพร ยิ่งยง. (2554). การเปรียบเทียบวิธีการตรวจหาลายนิ้วมือแฝงบนผลไม้ด้วยวิธีปัดผงฝุ่นและ วิธีซุปเปอร์กลู.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.
อนุชา ชูวงษ์. (2549). ออกแบบเครื่องทดสอบวัสดุหนัง เพื่อความเหมาะสมกับการออกแบบผลิตภัณฑ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการผลิต บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
อรรถพล แช่มสุวรรณวงศ์ และคณะ. (2544). นิติวิทยาศาสตร์ 2 เพื่อการสืบสวนสอบสวน. กรุงเทพฯ: ดาวฤกษ์.
The Leather Dictionary. (2020). Patent leather. [Online]. Available: https://www.leatherdictionary.com/index.php/Patent_leather [2020, April 1].
Rory P. Downham et al. (2015). Feasibility Studies of Fingermark Visualization on Leather and Artificial Leather. Journal of Forensic Identification, 65 (2): 138-159.
Xiaochun Zheng et al. (2017). The effectiveness and practicality of using simultaneous superglue & iodine fuming method for fingermark development on 'low yield' leather surfaces: A feasibility study. Forensic Science International, 281: 152-160.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย สวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.