การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระและชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะบนผ้าที่ปนเปื้อนเลือด

ผู้แต่ง

  • เพียงจิตร เงื่อนไข่น้ำ คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พันตำรวจโท ดร. ธิติ มหาเจริญ คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

คำสำคัญ:

ชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ, ชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะ, เส้นใยผ้า, ฮีโมโกลบิน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความไว ความจำเพาะและประสิทธิภาพของ ชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระและชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะจากผ้าที่ปนเปื้อนคราบเลือดเพื่อช่วยในการตรวจคราบเลือดเบื้องต้น ในการทดลองครั้งนี้ใช้เลือดจากกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครที่มีผลการทดสอบเลือดว่า มีค่าความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือดต่างกัน 3 ระดับ โดยนำเลือดมาหยดลงบนผ้าตัวอย่างและเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง เมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดจึงนำมาทดสอบกับชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระ ชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะและทำการวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติ t-test

ผลการวิจัยพบว่า ชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระและชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะมีความจำเพาะต่อเลือดมนุษย์ โดยให้ผลบวกกับเลือดมนุษย์เท่านั้นและให้ผลลบกับเลือดสัตว์ (หมู) ในด้านความไว พบว่า ชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระมีความไวต่อเลือดมนุษย์มากกว่าชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะ โดยชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระสามารถตรวจพบเลือดที่ทำการเจือจางได้ถึงระดับความเข้มข้นที่ 1 : 20,000 ในขณะที่ชุดตรวจเลือดแผงในปัสสาวะให้ผลตรวจพบเลือดที่ทำการเจือจางถึงระดับความเข้มข้นที่ 1: 2,000 ในส่วนของผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระและชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะเพื่อตรวจหาคราบเลือดบนผ้าที่ปนเปื้อนเลือดในสัปดาห์ที่ 1, 2, 3 และ 4 โดยการเปรียบเทียบความไว ความจำเพาะ จากผ้า ตัวอย่าง ระยะเวลาและค่าความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือด พบว่า ชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระมีความประสิทธิภาพในการตรวจหาคราบเลือดบนผ้าที่ปนเปื้อนเลือดมากกว่าชุดตรวจปัสสาวะอย่างมีนัยสำคัญทาง สิติที่ระดับ 0.01

References

จารุวรรณ อัมพฤกษ์. (2555). การวิเคราะห์เส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์ในงานทางนิติวิทยาศาสตร์โดย Fouler Trunsform Infrared Spectroscopy (FT-IR). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เมดไทย. (2561). การตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ. [Online]. Available: https://medthai.com-stool-occult-blood. [2561, กันยายน 20].

วีรชัย พุทธวงศ์. (2560). เผยวิธีตรวจร่องรอยของเลือด ฝังแน่นเป็นปี ล้างยังไงก็ไม่ออก. [Online]. Available: http://www.thaitribune.org/contents/detail/329?content_id=27863& [2562 พฤษภาคม 19J.

ศศิญดา ศรีน่วม. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำยา Kastle-Meyer Test และ ชุดทดสอบ FOB 1-Step Fecal Occult Blood เพื่อใช้ตรวจคราบโลหิตมนุษย์ในงานตรวจสถานที่เกิดเหตุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

หน่วยปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนาสิ่งทอศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค). (2545). ความรู้เทคโนโลยีสิ่งทอ. [Online]. Available: http://ww2.mtec.or.th/research//textile/introducttion.html [2561, กรกฎาคม 17].

อาภรทิพย์ เปียปาน. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของชุดทดสอบ Hexagon OBTI และชุดทดสอบ One-step Fecal Occult Blood (FOB) ที่ใช้ในการตรวจคราบเลือดมนุษย์ในงานนิติวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Andrade, A.F.B., et al. (2014). Forensic Identification of Human Blood: comparison of two one-step Presumptive Tests for Blood Screening of Crime Scene Sample. Revista brasileirade Criminalistica: 12-15.

Edelman, G., et al. (2012). Identification and Age Estimation of Bloodstains on Colored Background by Near Infrared Spectroscopy. Forensic Science International, 220: 239-244.

My health. (2016). Urine Strip. [Online]. Available: http://www.myhealth.gov.my/en/urine-test-strip [2018, September 20].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-15

How to Cite

เงื่อนไข่น้ำ เ., & มหาเจริญ ธ. (2021). การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของชุดตรวจเลือดแฝงในอุจจาระและชุดตรวจเลือดแฝงในปัสสาวะบนผ้าที่ปนเปื้อนเลือด. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(1), 121–133. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/431