สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี: การวิจัยเชิงสำรวจและการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาแบบผสานวิธี
คำสำคัญ:
การวิจัยเชิงสำรวจ, การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา, การประเมินแบบผสานวิธีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพปัญหาในการใช้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี และ 2) ประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนคลองโยงเวทีอุปถัมภ์ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต ประสิทธิผล และความพึงพอใจ การสำรวจสภาพปัญหาและประเมินหลักสูตรสถานศึกษา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจและแบบประเมินหลักสูตรจากประชากรกลุ่ม ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 28 คน และกลุ่มตัวอย่างครูผู้สอน จำนวน 300 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น สำหรับการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้ เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้อำนวยการ/คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 9 คน กลุ่มครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และผู้สำเร็จการศึกษา กลุ่มละ 10 คนโดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาการใช้หลักสูตรสถานศึกษาในภาพรวมพบว่ามีสภาพปัญหาในระดับปานกลาง (X = 1.56, SD = 0.95) 2) ผลการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาเชิงปริมาณ ตามตัวแปรทั้งหมดในภาพรวม พบว่า หลักสูตรสถานศึกษามีตัวแปรทั้ง 6 ด้านอยู่ในระดับมาก (X = 2.63, S.D. = 0.83) 3) ผลการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาเชิงคุณภาพพบว่าสิ่งที่ควรพัฒนา คือ การนำความต้องการของท้องถิ่นและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ควรมีผู้รับผิดชอบในการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาที่ชัดเจน นอกจากนั้นครูควรนำหลักสูตรสถานศึกษามาใช้ในการกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงกับท้องถิ่นและเน้นการปฏิบัติจริง
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). หลักการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์การพิมพ์.
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร: หลักสูตรและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: อลีนเพลส.
ฐิติมา นิติกรวรากุล. (2553). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนวัดบ้านโป่ง "สามัคคีคุณูปถัมภ์" จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัตนะ บัวสนธ์. (2556). รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5 (2), กรกฎาคม-ธันวาคม 2556: 7-24.
รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานสำหรับการวิจัยและประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์. (2542). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น: สานต่อที่ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เซ็นเตอร์ดิสคัฟเวรี่จำกัด.
Stufflebeam, Daniel L. (1971). Education Evaluation and Decision Making. Itasca, Illinois: F. E. Peacock.
Stuffebeam, D. L. & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation Theory, Models & Applications. CA: Jossey-Bass.
Tyler, R. W. (1987). Education: Curriculum Development and Evaluation: Oral history transcript. Berkeley, CA: University of California, Regional Oral History Office.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย สวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.