การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของแฮร์โรว์ และการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ
คำสำคัญ:
การสังเคราะห์, การจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของแฮร์โรว์, การจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของแฮร์โรว์ และการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ ระหว่างปี พ.ศ. 2548 - 2561 มีประเด็นสังเคราะห์ คือ 1) ด้านข้อมูลพื้นฐาน 2) ด้านวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3) ด้านวิธีดำเนินการวิจัย 4) ด้านผลการศึกษา นำเสนอผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยการพรรณนาเป็นความเรียง เอกสารวิจัย จำนวน 24 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูล คุณลักษณะวิทยานิพนธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้าน ข้อมูลพื้นฐาน ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยของคณะครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน งานวิจัย ส่วนใหญ่ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) ด้านวัตถุประสงค์ของการวิจัย ส่วนใหญ่เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนและหลัง 3) ด้านวิธีดำเนินการวิจัย งานวิจัยส่วนใหญ่เลือกใช้กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เป็นงานวิจัยเพื่อพัฒนาโดยใช้ทฤษฎีของคนอื่น มีการอ้างอิงจากสื่อสิ่งพิมพ์ภายในประเทศหาคุณภาพเครื่องมือโดยการหาค่าความเที่ยงตรง ส่วนใหญ่ผลการวิจัยเป็นไปตามสมมติฐาน 4) ด้านผลการ วิจัย การจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ มี 5 ขั้นตอน โดยการเลียนแบบจากการสังเกตและลงมือทำตามคำสั่ง ผู้เรียนฝึกฝนให้ถูกต้องและชำนาญ ทำให้สามารถแสดงออกได้อย่างธรรมชาติ นิยมนำมาใช้ในวิชาดนตรี ศิลปะ เทคโนโลยีและการงานอาชีพ แนวคิดการสอนดนตรีของคาร์ล ออร์ฟ จะพัฒนาทักษะทางดนตรีจากง่ายไปหายาก จากจังหวะ ระดับเสียง สัญลักษณ์ตัวโน้ต การอ่านโน้ต และเครื่องดนตรี จึงทำให้ผู้เรียนเกิด พัฒนาการทางด้านดนตรีได้เป็นอย่างดี
References
กระทรวงศึกษาธิการ (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จุไรรัตน์ สุรุ่ง. (2552). การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตที่เกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จินตวีร์ โยสีดา. (2554). การพัฒนาชุดกิจกรรมสืบเสาะหาความรู้เรื่องไบโอดีเซล สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรต.
ฌานดนูไล้ทอง. (2560). ผลการใช้ชุดแบบฝึกตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟเพื่อพัฒนาความเข้าใจทางด้าน จังหวะของนักเรียนวงโยธวาทิตระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณรงค์ ศรีสวัสดิ์. (2554). วิธีการวิจัยทางสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธ์. (2558). การสังเคราะห์งานวิจัย. นนทบุรี: สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นงลักษณ์ วิรัชชัย และทิศนา แขมมณี. (2546). เก้าก้าวสู่ความสำเร็จในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและการสังเคราะห์งานวิจัย. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
พรทิพย์ พันตา. (2554). การสังเคราะห์งานวิจัยนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์การวิเคราะห์อภิมาน และการวิเคราะห์กลุ่มแฝง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรทิพย์ สินธนันชัย. (2554). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติแฮร์โรว์กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง เชิ้งศูนย์ศิลป์ดินปั้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การศึกษาค้นคว้า อิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2555). มาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการครุสภา.
เวชฤทธิ์ อังกนภัทรขจร. (2546). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศกร พรหมทา. (2557). การสังเคราะวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภัชชา โพธิ์เงิน. (2554). การนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4- 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2545). เคล็ดลับการทำวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย
สิริวรรณ จันทร์กูล. (2554). การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ทางการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารยา องค์เอียม. (2561). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย บทพื้นฟูวิชาการ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.
Harrow. (1972). A Taxonomy of the Psychomotor Domain: A Guide for Developing Behavioral Objectives. New York Longman.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย สวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.