กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนริมน้ำจันทบูร จังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
การสื่อสารการตลาด, การท่องเที่ยวชุมชน, ชุมชนริมน้ำจันทบูรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการสื่อสารการตลาด และกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนริมน้ำจันทบูร จังหวัดจันทบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวนทั้งสิ้น 8 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจันทบุรี ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี อุปนายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยว จังหวัดจันทบุรี ผู้นำชุมชนและผู้ประกอบการภายในชุมชน โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-dept Interview) การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) การระดมสมอง (Brainstorming) และวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการสื่อสารการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนริมน้ำจันทบูร คนในชุมชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการทำสื่อประชาสัมพันธ์ชุมชนต้องเป็นตัวตั้งในการบริหารจัดการชุมชน การสื่อสารการตลาดในชุมชน ผ่านการตลาดอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อการ ท่องเที่ยวชุมชนริมน้ำจันทบูร การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยว ได้มีการพัฒนาตลาดชุมชนโดยการสร้างภาพ ลักษณ์ (Brand) ซึ่งมีรูปแบบ คือ การสร้างจุดขายผ่านประวัติศาสตร์ของแต่ละชุมชน ให้เป็นเรื่องราว (Story)และพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product) ท้องถิ่น โดยผลักดันให้เป็นสินค้า OTOP ในแต่ละเขตชุมชนให้เป็นเอกลักษณ์ที่จะต้องมีความเป็นการตลาดแนวใหม่ (Modern Marketing) ในการสะท้อนการใช้ชีวิตแบบดั้งเดิม สร้างจุดแลนมาร์ค จุดเช็คอิน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายภาพเก็บบรรยากาศซึ่งมีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวซ้ำอีกในครั้งต่อไป
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2551) เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 2545. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็ท เซเทรา จำกัด.
กองกลยุทธ์การตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558), บทสรุปผู้บริหาร สถานการณ์การเดินทาง ท่องเที่ยวปี 2558 และคาดการณ์ปี 2559. [Online]. Available: https://tatic.tourismthailand.org/. [2562, กรกฎาคม 9].
ฉลองศรี พิมลสมพงษ์. (2551). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ณรงศักดิ์ คำหาญสุนทร. (2554). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่ ตำบลเขาน้อยอำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาการปกครองท้องถิ่น คณะวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดารา ทีปะปาล และธนวัฒน์ ทีปะปาล. (2553). การสื่อสารการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
ติกาหลัง สุขกุล. (2556). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารเกษมบัณฑิต 14 (1): 55-74.
ธนพล จันทร์เรืองฤทธิ์ (2562). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนริมน้ำจันทบูร อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธนินนุช เงารังษี. (2558). เครื่องมือการสื่อสารการตลาดกับการตัดสินใจท่องเที่ยวภายในประเทศของ นักท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขา วิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2555). การสื่อสารการตลาด Marketing Communication. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญเลิศ จิตตั้งวันา. (2556). การขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปิยะพงษ์ นาไชย. (2552). แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร. รายงานการศึกษาอิสระบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พรรษกฤษ ศุทธิเวทิน (2559). กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อประชากรรุ่นแซด ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 11 (1): 99-110.
พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา บ้านโคกไครจังหวัด พังงา. วารสารวิชาการ Veridian E-journal. 7 (3): 650-665.
พจนา สวนศรี. (2546). การท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน.
ศรัญญา เลิศมนไพโรจน์ (2550), การศึกษาความต้องการของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวเกี่ยวกับเนื้อหาวิชา อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2540). การดำเนินการเพื่อกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ: กองบริการที่ปรึกษา ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.
สุรีย์ เข็มทอง. (2555). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาการจัดการการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวและโรงแรม. (พิมพ์ครั้ง ที่ 1). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อภิรัตน์ สงสุข. (2559). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ช่าวจีนในเมืองพัทยา. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลกมหาวิทยาลัยบูรพา.
Belch, G. E., & Belch, M. A. (2007). Advertising and Promotion: An Integrated Marketing Communications Perspective 7th ed. Boston: McGraw-Hill.
Gee, Y., James, C., Deriter, J., Choy, L. (2007). Travel Industry. 2nd ed. New York: John Wiley & Sons.
Kotler , Philip., (2003). Marketing Manageing. 11th ed.Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall Intentional Inc.
Ministry of Tourism and Sports, (2020). Domestic Tourism Statistics. (Online]. Avallable: https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=594. [2020, Jan 27].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย สวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.