การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการจัดซื้อ
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, การจัดซื้อ, บริษัท เอบีซีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อการบริหารการจัดซื้อ (2) ศึกษาตัวแปร ที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการจัดซื้อ (3) เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการจัดซื้อ โดยการวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้รูปแบบคู่ขนาน ซึ่งประกอบด้วย 1) วิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่พนักงานแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่ม แผนกแม่บ้าน แผนกบัญชีและจัดซื้อ แผนกช่างบำรุง/ซ่อมแซม จำนวน 198 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมันของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคุณ โดยวิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นต่อการบริหารการจัดซื้อ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย เรียงลำดับดังนี้ การจัดการข้อมูล รองลงมาการวางแผนในการดำเนินการ การจัดเก็บ ข้อมูลและการควบคุม ส่วนตัวแปรที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการจัดซื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรด้านการควบคุม ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการจัดซื้อมากที่สุดรองลงมาคือ การจัดการข้อมูล และการจัดเก็บข้อมูล มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรพยากรณ์ในรูปแบบมาตรฐานเท่ากับ 0.442, 0.272 และ 0.177 ตามลำดับ 2) วิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ผู้ให้ข้อมูลสำคัญแทนกลุ่มตัวอย่าง เครื่อง มือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์ มีการวิเคราะห์แบบอุปนัย การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการจัดซื้อ สามารถสรุปผลการวิจัยพบว่า การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการจัดซื้อที่ดี ควรมีการควบคุม การจัดการข้อมูล และการจัดเก็บข้อมูลที่ดีทำให้ต้นทุนในการทำงานลดลง ส่งผลให้มีผลกำไรเพิ่มขึ้น
References
ขนิษฐา ไชยพันธุ์, รุ้งสินี เขียวงาม และ มานพ แก้วโมราเจริญ. (2560). การเพิ่มการรับรู้จากการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างให้สอดคล้องกับระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหาร พัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 สำหรับบุคลากร สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2551). การจัดการขนส่ง (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: วิชั่นพรีเพรส.
แจ่มจิต ศรีวงษ์. (2558). การจัดซื้อจัดหาวัสดุด้วยการจัดแบ่งกลุ่ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนกรณีศึกษาบริษัทผู้ผลิตแก้ว จำกัด. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา
ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2554). ห่วงโซ่อุปทาน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ธนพรรณ จันทร์เจือ. (2555). การเพิ่มประสิทธิภาพงานจัดซื้อในศูนย์กระจายสินค้าและโลจิสติกส์กรณีศึกษาบริษัท XXX จำกัด. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ธิดารัตน์ ธีระชิต. (2556). การจัดหาแหล่งจัดส่งวัตถุดิบและกระบวนการในการเสนอราคาในการจัดซื้อของกรณีศึกษาของ บริษัท เอ็มเค เรสโตรองค์ กรุ๊ป จำกัด. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด (2547) วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาสน์.
พรหมภัสสร ปุญญบาล และวรินทร์ วงษ์มณี. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพ กระบวนการจัดซื้อเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองกับซัพพลายเออร์ กรณีศึกษา บริษัท เอบีซี เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
วงศกร พงษ์ชีพ. (2561). การปรับปรุงลดปริมาณใบขอซื้อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดซื้อ กรณีศึกษา: โรงงานผลิตน้ำตาลแห่งหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศูนย์วิจัยกสิกร. (2560). สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2559 และแนวโน้มปี 2560. [Online]. Available: http://www.thaismescenter.com.
สาธิต พะเนียงทอง (2548) การจัดการโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์: Supply Chain Strategy. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น
สิทธิชัย ฝรั่งทอง (2553), ขับเคลื่อนโลจิสติกส์ด้วยการตลาด, กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
สุดใจ ดิลกทรรศนนท์. (2558) กลยุทธ์ด้านการจัดซื้อ. (หิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สามลดา
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย สวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.