การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการวัดและประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร: การวิเคราะห์ผลกระทบไขว้

ผู้แต่ง

  • สุรี เขียวตื้ออินทร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ดร.ภิรดี วัชรสินธุ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

การวัดและประเมินการอ่าน, การวิเคราะห์ผลกราทบไขว้, คิดวิเคราะห์, และเขียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพและปัญหาในการวัดและประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการวัดและประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิเคราะห์ผลกระทบไขว้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงสำรวจ คือ ครูสังกัดกรุงเทพมหานครซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวนทั้งสิ้น 450 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา มีค่า 0.60-1.00 และมีความเชื่อมั่น 0.97-0.98 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้บริหารการศึกษาและคณาจารย์ในสถาบัน อุดมศึกษา ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้ตามแนวทางของ Gordon, T.J. (1994) ผลการวิเคราะห์ 1) สภาพการดำเนินงานในการวัดและประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนในภาพรวม สถานศึกษามีการปฏิบัติด้านการวัดและประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.35 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 ผลการสำรวจปัญหาด้านการวัดและประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน พบว่าในภาพรวมมีปัญหาในระดับน้อย โดยมีค่าเฉลี่ย 1.30 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.03 2) ผลการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้ปัจจัยที่ส่งผลต่อการวัดประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน พบว่าเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อกันมากที่สุด คือการที่ครูทราบถึงหลักการและเข้าใจแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนตามที่ระบุในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งผลกระทบมากที่สุดต่อการใช้เทคนิควิธีที่หลากหลายในการวัดและประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียน

References

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

เบญจพร ภิรมย์ และสมศักดิ์ ลิลา. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสามารถการคิดวิเคราะห์ของ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. ดุษฎีนิพนธ์สาขาวิชาวิจัย วัดผล และสถิติการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศรีแพร ผลบุญ. (2559). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of Education Objective Handbook 1: Cognitive Domain. NY: David Mckey.

George, H. (2011). Teaching argument writing, grades 6-12: Supporting claims with relevant evidence and clear reasoning. Portsmouth, NH: Heinemann.

Gordon, T. J. (1994). Cross Impact Method. Technological report, United Nations University Millenniu Project.

Stover, J. and Gordon, T. J. (1978).). Cross Impact Analysis. Handbook of Futures Research. Jib Fowles, Greenwood Press.

Thaneerananon, T., Triampo, W., & Nokkaew, A. (2016). Denvelopment of a Test to Evaluate Students' Analytical Thinking Based on Fact versus Opinion Differentiation. International Journal of Instruction. 9 (2), p.123-138.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-15

How to Cite

เขียวตื้ออินทร์ ส., & วัชรสินธุ์ ภ. (2021). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการวัดและประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร: การวิเคราะห์ผลกระทบไขว้. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(2), 129–150. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/414