รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแห่งความสุขโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 39 จังหวัดนราธิวาส
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การบริหาร, ความสุข, โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 39 จังหวัดนราธิวาสบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการ สร้างรูปแบบการบริหารฯ, ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารฯ และยืนยันรูปแบบการบริหารฯ โดยใช้รูปแบบวิธีการวิจัยและพัฒนา (R&D) โดยรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร ครู บุคลากร ผู้ปกครองคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ในปีการศึกษา 2562
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของกลุ่มตัวอย่าง โดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลางทุก ด้าน (X= 3.85,S.D. = 0.73) และความต้องการพัฒนารูปแบบการบริหารฯ อยู่ในระดับ มากที่สุด (X= 5.75, S.D. = 0.6) 2) ผลการสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการบริหารฯ มี 9 องค์ประกอบได้แก่ ชื่อ วัตถุประสงค์ หลักการ กระบวนการเสริมสร้าง ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ เงื่อนไขความสำเร็จ และข้อมูลย้อนกลับ ผลการประเมิน ภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (X= 4.74, S.D. = 0.42) 3) ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารฯ ในปีการศึกษา 2561ระดับความพึงพอใจของผู้บริหารครู บุคลากร ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน และพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจสูงขึ้น ร้อยละ 4.79 และร้อยละ 0.16 4) ผลการยืนยันรูปแบบการบริหารในกลุ่มโรงเรียนราชประชานุเคราะห์เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจปีการศึกษา 2562 ของผู้บริหาร ครู บุคลากร ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน พบว่ามาตรฐานด้านการบริหารการศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับ ดีมาก (X=4.65, S.D. = 0.47) และระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด (X= 4.55, S.D. = 0.64) รูปแบบการบริหารมีประสิทธิภาพ
References
ชาญ คำภิระแปง. (2560). รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญา นิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ. (2558) นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543) ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2543). พรมแดนความรู้ด้านการวิจัยและสถิติ. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา: ชลบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด (2543) การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ- สุวิริยาสาส์น.
ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). (2561). กำหนดวิสัยทัศน์ของประเทศ. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2561 จาก http://www.prachinburi.go.th/yut-chart20.pdf.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (2545, ธันวาคม 19). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 (ตอนที่ 45 ก).
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (2552). ประเด็นเรื่องประโยชน์ของวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง PDCA. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2561 จาก http://www.ftpi.or.th/2015/2125.
สุดา สุขอำ (2561) รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มีความสุขในโรงเรียน ศึกษา สังเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). HAPPY 8 ความสุขแปดประการ. กรุงเทพฯ: มิชชั่นอินเตอร์พริ้นท์
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาในข่วงแผนเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สวัสดิ์ บรรจงพาศ. (2561) รูปแบบเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุข โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา. สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (งานวิจัยอิสระ)
Burton, 1(2010). WHO Healthy Workplace Framework and Model: Background and Supporting literature and Practices. Geneva, Switzerland: WHO Headquaters.
Lowe, G. S. (2004). Healthy Workplace Strategies: Creating Change and Achieving Results. Toronto. USA: The Graham Lowe Group Inc.
World Health Organization. (2010). Workplace Health Promotion. Retrieved on November 29, 2010 from https://www.who.int/occupational_health/topics/workplace/en/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย สวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.