รูปแบบการบริหารครูของโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชน เขตตรวจราชการ 1

ผู้แต่ง

  • ธานัฐ ภัทรภาคร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • รองศาสตราจารย์ ดร. ประกฤติ พูลพัฒน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ผดุง พรมมูล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • รองศาสตราจารย์ ดร. สุขุม เฉลยทรัพย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

การบริหารครู, โรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชน, เขตตรวจราชการ, ปัจจัย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยนี้คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารครูของโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชนเขตตรวจราชการ 1 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบในการบริหารครูของโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชนเขตตรวจราชการ 1 (3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารครูของโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชนเขตตรวจราชการ 1

รูปแบบการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยเก็บ ข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 5 คน และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่างครู โดยใช้การสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย จำนวน 346 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพล้วนให้ความเห็นตรงกันว่า รูปแบบการบริหารครูของโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชน เขตตรวจราชการ 1 มีองค์ประกอบ 3 ด้านคือ 1) ด้านการบริหารจัดการครู 2) ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ 3) ด้านแรงจูงใจ ในระดับมากและมากที่สุด

References

จินตนา ศักดิ์ภู่อร่าม. (2545). การนำเสนอรูปแบบการบริหารโรงเรียนในกำกับของรัฐสำหรับประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นงลักษณ์ เรือนทอง. (2550). รูปแบบการบริหารปรัชญาโรงเรียนที่มีประสิทธิผล. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บรรเจิด อุ่นมณีรัตน์. (2552). รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มพลังอำนาจการทำงานของครูในสถานศึกษาระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยอีสเทอร์นเอเชีย

พัชสิรี ชมภูคำ. (2552). องค์การและการจัดการ (Organization and Management). กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.

มัลลิกา ต้นสอน. (2544). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: เอ็กเปอร์เน็ท.

สมชาติ พนาเกษม. (2553). "การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชน (The Development of Administration Strategies for Excellence of Private Schools)". วารสาร วิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 6 (2): 179.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2556). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร (Management : from the Executive's Viewpoint). กรุงเทพฯ: จี.พี.ไซเบอร์พรินท์.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 52. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักนายกรัฐมนตรี. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121, ตอนพิเศษ 79 ก (23 ธันวาคม 2547): 34-52.

สุพัตรา สุภาพ. (2536). เทคนิคการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพยุคใหม่, "เน้นพฤติกรรมมนุษย์" กรุงเทพฯ: ธรรมนิมิต.

สุนันทา เลาหนันท์. (2542) การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work (Second Edition.). [By] F. Herzberg, Bernard Mausner, Barbara Bloch Snyderman. New York; Chapman & Hall: London; printed in the U.S.A.

Herzberg, F. et al. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

Rakich, JS., Longest, BB., and Darr, K. (1994). Managing Health Services Organizations (3' ed.). Health Professions Press: Baltimore, 1994. Journal of Production Economics, 2009.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-15

How to Cite

ภัทรภาคร์ ธ., พูลพัฒน์ ป., พรมมูล ผ., & เฉลยทรัพย์ ส. (2021). รูปแบบการบริหารครูของโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชน เขตตรวจราชการ 1. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(2), 89–107. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/411