ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกโรงเรียนสองภาษาเอกชน A ของผู้ปกครองสำหรับบุตรหลานในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ดร. กันตรัตน์ สุจิตวนิช วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วัลลภา เฉลิมวงศาเวช วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจ, โรงเรียนสอนภาษาเอกชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้ปกครองในเรื่องปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกโรงเรียนสองภาษาเอกชน Aของผู้ปกครองสำหรับบุตรหลานในจังหวัดปทุมธานี และ 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกโรงเรียนสองภาษาเอกชน A ของผู้ปกครองสำหรับบุตรหลานในจังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนสองภาษาเอกชน A ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 280 คน โดยทำการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ของข้อคำถามอยู่ระหว่าง 0.70-1.00 และค่าความเชื่อมั่น ด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (α) เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองมีระดับความคิดเห็นของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X = 4.09, S.D. = 0.59) และจากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคุณพบว่า ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้ง ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านราคา และ ด้านลักษณะทางกายภาพ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกโรงเรียนสองภาษาเอกชน A ของผู้ปกครองสำหรับ บุตรหลานในจังหวัดปทุมธานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 73.10 (R^2= 0.731)

References

กาญจนา มักเชียว. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนโชติกาญจน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จำลอง สุริวงค์. (2559). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานศึกษาเอกชนให้บุตรหลานของ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเอกชนในจังหวัดพิจิตร. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการ "ราชภัฏนครสวรรค์วิจัย ครั้งที่ 1" (หน้า 77-90). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์บัณฑิตวิทยาลัย คณะครุศาสตร์และศูนย์วิทยาศาสตร์.

ชัยวัฒน์ ขัตติวงค์ และพุฒิธร จิรายุส. (2561). ปัจจัยด้านการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัย ดุสิตธานี 12 (3): 382-396.

ณัฏฐ์วิกร หรรษาพันธุ์. (2559). การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลมารีนิรมล จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

โนรี คำวิชิต และนันทิยา น้อยจันทร์. (2558). การศึกษาการตัดสินใจเลือกสถานศึกษาให้บุตรหลานของ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดสิงห์สถิต จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการเครือข่าย บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 5 (8): 25-44.

บรรยงค์ โตจินดา. (2548). องค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

ยอดขวัญ ผดุงมิตร. (2559). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโครงการโรงเรียนสองภาษาในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. สุทธิปริทัศน์, 30 (93): 235-249.

วรพจน์ บุษราคัมวดี. (2551). องค์การและการจัดการ. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ศิริพร พงศ์ศรีโรจน์. (2540). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: เทคนิค 19.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541) พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ พัฒนาศึกษา ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาด: ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สมคิด บางโม. (2548), องค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 4), กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). หลักสูตรโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2563 จาก http://www.isat.or.th/th/education-systems.

สาคร สุขศรีงศ์ (2562) โรงเรียนนานาชาติ เติบโตเฉลี่ย 12% ตลาดรวมของธุรกิจ 60,500 ล้านบาท/ปี. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2563 จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/837945.

สายพิณ มัตตะนามะ. (2559), การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียน บ้านลุงพลู อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

เหม หมัดอาหวา. (2559). ระดับปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในสถานศึกษาเอกชนระดับอนุบาลนครหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

เหมือนฝัน ธัญญศรีชัย. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนโรงเรียนกวดวิชาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อมรีภรณ์ สมจริง. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจศึกษาต่อสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

อรชร มณีสงฆ์, จำเนียร บุญมาก, มานพ ชุ่มอุ่น, และพงศ์เทพ เติมสงวนวงศ์. (2548). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.

อภิชาต ทองอยู่ (2562). โลกใบใหม่: 10 เรื่องสำคัญ...ที่การศึกษายุคใหม่ต้องทำ. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2563 จาก https://www.ryt9.com/s/tpd/2992089.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing (5th ed.). New York: Harper & Row Publishers.

Kotler, (2011). Marketing Management: Analysis Planning Implementation and Control (13th ed.). New jersey: Prentice Hall International.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3): 607-610.

Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archieves of Psychology, 19 (140): 44-53.

Wayne, K. H., & Cecil, G. M. (2013). Educational Administration: Theory, Research, and Practice (9th ed.). New York: The McGraw-Hill Companies, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-15

How to Cite

สุจิตวนิช ก., & เฉลิมวงศาเวช ว. (2021). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกโรงเรียนสองภาษาเอกชน A ของผู้ปกครองสำหรับบุตรหลานในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(2), 71–88. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/410