ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ดร.สุวมาลย์ ม่วงประเสริฐ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • จิร์ยาภรณ์ ศรีบุญรอด มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพการเรียนการสอนออนไลน์, ประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์, การเรียนการสอนออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ปีการศึกษา 2564 จำนวน 6,288 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamana ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 377 คน ใช้แบบสอบถามความคิดเห็น เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าสถิติแอลฟาโคเอฟฟิเชียลของครอนบาค เท่ากับ 0.986 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยที่สำคัญ มีดังนี้ 1) ปัจจัยนำเข้าด้านเทคโนโลยีการเรียนรู้ออนไลน์ส่งผลและมีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านกระบวนการ สามารถอธิบายถึงผลกระทบร่วมกันที่เกิดขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 77 (R2 = 0.773) โดยมีค่าน้ำหนักสัมพันธ์มาตรฐาน เท่ากับ 0.120 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยปัจจัยนำเข้าด้านผู้สอนและบุคลากรสนับสนุนส่งผลและมีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านกระบวนการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.050 และปัจจัยนำเข้าด้านการบริหารจัดการรายวิชาส่งผลและมีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านกระบวนการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 2) ปัจจัยด้านกระบวนการส่งผลและมีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านประสิทธิภาพการเรียนการสอนออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.000 และ 3) ปัจจัยด้านประสิทธิภาพการเรียนการสอนออนไลน์ส่งผลและมีอิทธิพลต่อปัจจัยด้านประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

References

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2564). จำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต ปีการศึกษา 2564. สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

Coman, C., & et al. (2020). Online Teaching and Learning in Higher Education during the Coronavirus Pandemic: Students’ Perspective. Sustainability 2020, 12, 10367: 1-24. [Online]. Available: https://www.mdpi.com/journal/sustainability.

Drucker, P. F. (1967). The Effective Decision. Issue of Harvard Business Review in the January 1967. [Online]. Available: https://hbr.org/1967/01/the-effective-decision.

Gagne, R.M., & Briggs, L. (1974). Principles of Instructional Design. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Hubbard, P. (2019). Five Keys from the Past to the Future of CALL. International Journal of Computer-Assisted Language Learning and Teaching. 9(3): 1-13.

Hussain, I., Saeed, B.D., & Syed, F.A. (2020). A Study on Effectiveness of Online Learning System during COVID-19 in Sargodha. International Journal of Language and Literary Studies. 2(4): 122-137. [Online]. Available: https://ijlls.org/index.php/ijlls.

MacDonald, J., & Mason, R. (1998). Information Skills and Resource-based Learning in an Open University Course. The Journal of Open and Distance Learning. 13(1): 38-42.

Martinez, A.M., Sauleda, N., & Guenter, H. (2001). Metaphors as Blueprints of Thinking about Teaching and Learning. Teaching and Teacher Education. 17(8): 965-977. [Online]. Available: https://www.researchgate.

Morrison, J., & Khan, B. (2003). The Global E-Learning Framework: An Interview with Badrul Khan. Technology Source. May/June 2003. [Online]. Available: http://ts.mivu.org/default.asp?show=article&id=1019.

Ryan, S., Scott, B., Freeman, H. & Patel, D. (2000). The Virtual University: The Internet and Resource-based Learning. London: Stylus Publishing.

Siragusa, L. (2002). The Effectiveness of Online Learning in Higher Education: Survey Findings. Proceedings Western Australian Institute for Educational Research Forum 2002. [Online]. Available: https://www.waier.org.au/forums/2002/siragusa.html.

Tophat. (2021). Online Learning. [Online]. Available: https://tophat.com/glossary/o/online-learning/.

University of Illinois Springfield. (2021). Strengths and Weaknesses of Online Learning. [Online]. Available: https://www.uis.edu/ion/resources/tutorials/online-educationoverview/strengths-and-weaknesses/.

Zou, B., Huang, L., M,a W., & Qiu, Y. (2021). Evaluation of the Effectiveness of EFL Online Teaching during the COVID-19 Pandemic. SAGE journals. October-December 2021: 1–17. [Online]. Available: https://journals.sagepub.com/doi/full/10.1177/21582440211054491

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-15

How to Cite

ม่วงประเสริฐ ส. ., ผลพันธิน ศ. ., ตั้งดำเนินสวัสดิ์ ส. ., & ศรีบุญรอด จ. . (2022). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(3), 73–88. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/403