การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง หลักการนับเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องหลักการนับเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงทดลอง โดยดำเนินการตามวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1. เพื่อสร้าง และหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อน และหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 36 คน 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ, แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าความยาก อยู่ระหว่าง 0.31-0.74 ค่าดัชนีอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.31-0.99 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.73 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัย พบว่า 1. กิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมในระดับมาก "(" ¯("X" ) " = 4.49,S.D.=0.69)" และผลการหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ 83.05/81.83 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก "(" ¯("X" ) "=3.80,S.D.=0.77)"
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชนาธิป พรกุล. (2544). จัดการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. วารสารวิชาการ. 4 (9), 2-7.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5 (1), 7-20.
ชุลีพร ตั้งล้ำเลิศ. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเคมี เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 สายการเรียนวิทยาศาสตร์ ที่มีกิจกรรมนอกห้องเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุญยงค์ ตาลวิลาส. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือแบบ TAI เรื่อง เรขาคณิตวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ คุรุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12) กรุงเทพฯ: สุทธาการพิมพ์.
ธนภรณ์ กาญจนพันธ์. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา การกำกับตนเอง และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร.
ยุภาพร ด้วงโต้ด. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วิจารณ์ พานิช. (2557). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
วุฒินันทน์ น้อยหัวหาด. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น เพื่อส่งเสริมทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สิริพร ทิพย์คง และทรงชัย อักษรคิด. (2553). การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. วารสารคณิตศาสตร์. 55 (623-625), 4-23.
อุบลวรรณ ปัญนะ. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับทางที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Jacob, L.B and Matthew, A.V. (2013). The Flipped Classroom: A Survey of the Research. Retrieved August 5, 2020, from https://www.researchgate.net/publication/285935974_The_flipped_classroom_A_survey_of_the_research.
Marlowe, C. A. (2012). The Effect of the Flipped Classroom on Student Achievement and Stress. A Professional Paper the Degree of Master of Science, Montana State University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.