ความต้องการสวัสดิการของผู้สูงอายุบ้านห้วยทรายเหนือจังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, ชมรมผู้สูงอายุ, ความต้องการสวัสดิการ, บ้านห้วยทรายเหนือบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการสวัสติการต้านร่างกาย ด้านอาชีพ และด้านสังคมของผู้สูงอายุบ้านห้วยทรายเหนือจังหวัดเพชรบุรี ผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัย เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุบ้านห้วยทรายเหนือ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แพทย์และพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน รวบรวม ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และวิเคราะห์แก่นสาระตามกลุ่มประเด็นเรื่องผลการวิจัย พบว่า ชมรมผู้สูงอายุบ้านห้วยทรายเหนือจังหวัดเพชรบุรี ก่อตั้งขึ้นในปี 2548 ในความดูแลของเทศบาลเมืองชะอำ มีการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันและทำอาหาร ความต้องการสวัสติการของ ผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 3 ต้าน ได้แก่ 1) ความต้องการต้านร่างกาย คือ ต้องการรับการสนับสนุนอุปกรณ์การเล่น อังกะลุง คำแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เพิ่มจำนวนครั้งการตรวจสุขภาพ โดยบริการตรวจที่บ้าน และต้องการกิจกรรมเสริมสุขภาพ 2) ความต้องการต้านอาชีพ คือ ต้องการรวมกลุ่มสมาชิกเพื่อทำอาหารและผลิตภัณฑ์อื่น เชิญผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับอาชีพ ต้องการทำงานเพิ่มรายได้ และให้จัตกิจกรรมอบรมวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ และ 3) ความต้องการต้านสังคม คือ ต้องการทำงานช่วยเหลือ สังคมให้จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนวัยสูงอายุ และต้องการเครื่องใช้ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับดำเนินชีวิตประจำวัน งานวิจัยมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนตรวจการสุขภาพ ผู้สูงอายุโดยเพิ่มรอบการตรวจ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพเป็นกรณีพิเศษเชิญวิทยากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุมาให้การอบรมวิชาชีพ และสนับสนุนให้ผู้สูงอายุถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบที่เหมาะสมในฐานะภูมิปัญญาท้องถิ่น
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545- 2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติเรื่องสังคมผู้สูงอายุ 6 Sustainable 4 Change (ฉบับปรับปรุง) กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง พับลิชชิ่ง.
ฐิติชญา ฉลาดล้น, สุทธีพร มูลศาสตร์ และวรรณรัตน์ ลาวัง. (2560). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชมรรผู้สูงอายุ คลังปัญญา อำเภอบ้านโป่ง ราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 27 (2): 154-167.
ณัฏฐ์อิตตา เทวาเลิศสกุล, วณิฎา ศิริวรสกุล และ ชัชสรัญ รอดยิ้ม. (2559) แนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุจากภาระให้เป็นพลัง กรณีศึกษาเทศบาลนครรังสิต. Veridian E-Journal, Silpakorn University.9 (1): 529-545.
ทักษิกา ชัชวรัตน์ และ สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์ (2560). การพัฒนาแนวทางส่งเสริมการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าของผู้สูงอายุ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 4 (3): 176-188.
ภูมิจิตร วงศ์สถิต และ สุมนต์ สกลไชย. (2554). สถานการณ์และแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลเขื่อนอุบลรัตน์. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 4 (2): 12-23.
วิไลวรรณ ทองเจริญ. (2558). การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ สรีรวิทยา จิตสังคม และจิตวิญญาณในผู้สูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอ็นพีเพรส.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร (2534). แนวทางการจัดบริการสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุกัญญา หวันล่าโส๊ะ. (2557). แนวทางการส่งเสริมอาชีพสำหรับผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลบ้านไร่ อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา. เอกสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 5. สงขลาสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2552). แนวทางขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้สูงอายุอย่างบูรณาการ. ม.ป.ท.
อัญชลี ชุ่มบัวทอง และคณะ. (2558). คุณภาพการนอนหลับ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับและความรู้สึก มีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ วารสารวิชาการสาธารณสุข. 24 (5): 833-843.
อาชัญญา รัตนอุบล. (2562). ข้อเสนอการพัฒนาการดำเนินงานส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุสมบูรณ์. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 11 (1): 26-46.
Maslow, A.H. (1970). Motivation & Personality. New York: Harper and Row. Publishers.
United Nations. (2015). World Population Ageing 2015. New York: United Nations.
World Health Organization. (2017). 10 fact on aging and Health. Retrieved on June 1, 2018 from http://www.who.int/features/factfles/ageing/en/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย สวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.