การศึกษาวิธีการทำความสะอาดรถพยาบาลฉุกเฉินขั้นสูง เพื่อลดการปนเปื้อนโดยใช้การตรวจหาคราบเลือดเบื้องต้น
คำสำคัญ:
รถพยาบาลฉุกเฉินขั้นสูง, คราบเลือด, การลดการปนเปื้อน, ฟีนอล์ฟทาลีนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิธีการทำความสะอาดรถพยาบาลฉุกเฉินขั้นสูงจากการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่แตกต่างกันโดยการใช้ชุดทดสอบฮีมาสติก (Hemastix) และ ฟีนอล์ฟทาลีน (Phenolphthalein) ตรวจหาคราบเลือดเบื้องต้นในทางนิติวิทยาศาสตร์ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการปนเปื้อนภายในรถพยาบาลฉุกเฉินขั้นสูงหลังการทำความสะอาดด้วยแผ่นเช็ดฆ่าเชื้อและผงฆ่าเชื้อ โดยจำลองการปนเปื้อนของเลือดภายในห้องโดยสารจำแนกตามพื้นผิว คือ หนังสังเคราะห์ สแตนเลส และไฟเบอร์กลาส หยดเลือดของอาสาสมัคร ปริมาณ 0.1 มิลลิลิตร ลงบนพื้นผิวที่กำหนด จากนั้นทำความสะอาดด้วยแผ่นเช็ดฆ่าเชื้อและผงฆ่าเชื้อ กำหนดความถี่ของการเช็ดทำความสะอาด เป็นจำนวน 3 ครั้ง 5 ครั้ง และ 10 ครั้ง ตรวจหาคราบเลือดภายหลังการทำความสะอาดด้วยชุดทดสอบคราบเลือด Hemastix และชุดทดสอบคราบเลือด Phenolphthalein ผลการศึกษาพบว่า เมื่อพิจารณาพื้นผิวแต่ละชนิด 1) ผงฆ่าเชื้อสามารถขจัดคราบเลือดได้ดีกว่าแผ่นเช็ดฆ่าเชื้อในทุกพื้นผิว และพบว่าความถี่ของการเช็ดทำความสะอาดส่งผงต่อการตรวจพบคราบเลือด โดยเมื่อเพิ่มจำนวนครั้งในการเช็ดทำความสะอาด 2) พื้นผิวหนังสังเคราะห์ให้ผลการตรวจพบคราบเลือดสูงกว่าไฟเบอร์กลาส และสแตนเลส ตามลำดับ ทั้งนี้พื้นผิวชนิดไม่เรียบและมีลักษณะกึ่งรูพรุนต้องการความถี่ในการเช็ดทำความสะอาดมากกว่า 5 ครั้ง ดังนั้น การลดการปนเปื้อนภายในรถพยาบาลฉุกเฉินขั้นสูงต้องพิจารณาสภาพพื้นผิวเพื่อเลือกวิธีการทำความสะอาดที่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดความพร้อมและความรวดเร็วในการให้บริการ
References
กรุณา เหลืองเอกพันธุ์, ภัทราวดี ชัยเฉลียว, สุธาสินี หัสแดง และฤทัยรัตน์ สิริวัฒนรัชต์. (2565). การตรวจหาคราบเลือดแห้งบนผ้าฝ้ายที่ผ่านการซักด้วยผงซักฟอกและน้ำยาซักผ้าขาว ด้วยการทดสอบฟีนอล์ฟทาลีนและชุดทดสอบแบบแถบฮีมาสติกซ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ราชภัฏสุราษฎร์ธานีวิจัย ครั้งที่ 17 วันที่ 6-8 มิถุนายน 2565. (431-439). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
จิตติมาพร เลิศชัยพร. (2566). การเตรียมน้ำยาฟีนอล์ฟทาลีน (Phenolphthalein) เพื่อใช้ในการตรวจคราบเลือด. วารสารนิติเวชศาสตร์, 15(1), 5-12.
ธนกร ศิริสมุทร. (2564). พิษวิทยาของเอธิลแอลกอฮอล์และไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล. 31(1), 14-23.
ธนกร ศิริสมุทร. (2555). พิษวิทยาของสารทำความสะอาดคลอโรไซลีนอลและเบนซาลโคเนียมคลอไรด์. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล, 22(3), 258-262.
ธีระ ศิริสมุด, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, ปญาดา ชื่นสำโรง และพรทิพย์ วชิรดิลก. (2565). การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสู่ภาวะปกติใหม่ (EMS new Normal) : แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพด้านเวลาในการเข้าถึงระบบ บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://www.niems.go.th/1/Ebook/Detail/16748?group=34.
พินิตา กรทอง, สุทธิเดช ปรีชารัมย์ และวีรชัย พุฒวงศ์. (2558). เปรียบเทียบการตรวจคราบโลหิตโดยวิธี Kastle-Meyer,LuminolและBluestar บนพื้นผิวที่มีรูพรุนและไม่มีรูพรุน. ใน โครงการจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 5 วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558. (1-9). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2557). การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล Interfacility Patient Transfer. นนทบุรี. อัลทิเมทพริ้นติ้ง.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2551). การดำเนินงานและบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี. อาร์ตวอลิไฟท์.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี. (2566). แผนยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2570. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2567 จาก https://rbpho.moph.go.th/upload-file/doc/files/21122022-025208-2292.pdf.
อรรถพล แช่มสุวรรณวงศ์, เทียมศักดิ์ อัศวรักษ์, ประพัฒน์ คนตรง, สุวิไล คุณาชีวะ, สมชาย ศิริพันธ์, ชัยวัฒน์ เชาวน์ดี, ถาวร สุทธิวณิชย์, สันติ สุขวัจน์, เลี้ยง หุยประเสริฐ, กิตติ ฉัตตะวานิช และอภิชาต โกญจนาท. (2546). นิติวิทยาศาสตร์ 2 เพื่อการสืบสวนสอบสวน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ทีซีจี พริ้นติ้ง.
Alsheekhly, B., Al-Sadoon, T. H., & Al-Rawi, R. A. (2019). Kastle-Meyer Test Enhancing Diagnosis of Occult Blood in Dentistry. Indian Journal of Forensic Medicine & Toxicology, 13(4), 887–890. Retrieved on Dec 4, 2023 from https://doi.org/10.5958/0973-9130.2019.00407.9.
Banfi, G., Salvagno, G. L., & Lippi, G. (2007). The Role of Ethylenediamine Tetraacetic acid (EDTA) as in Vitro Anticoagulant for Diagnostic Purposes. Clin Chem Lab Med., 45(5), 565-576.
Lee, J.B., Levy, M., & Walker, A. (2006). Use of a Forensic Technique to Identify Blood Contamination of Emergency Department and Ambulance Trauma Equipment. Emergency Medicine Journal, 23(1), 163-163. Retrieved on Dec 8, 2023 from https://doi.org/10.1136/emj.2005.025346
Mushtaq, S., Rasool, N. & Firiyal, S. (2016). Detection of dry bloodstains on different fabrics after washing with commercially available detergents, Australian Journal of Forensic Sciences, 48(1), 87-94. Retrieved on Jan 11, 2024 from https://doi.org/10.1080/00450618.2015.1029971.
WHO. (2011). Definitions of Key Concepts from the WHO Patient Safety Curriculum Guide (2011). Retrieved on May 24, 2024 from https://cdn.who.int/media/docs/default-source/patient-safety/curriculum-guide/resources/ps-curr-handouts/course01a_handout_patient-safety-definitions.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.