การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • ธิดารัตน์ ผอบงา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • รองศาสตราจารย์ ดร.สรวงพร กุศลส่ง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

เด็กปฐมวัย, กิจกรรมเสริมประสบการณ์, ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, ทักษะทางภาษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้และทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อสร้างและทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย และ 3) เพื่อประเมินการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างคือเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้าน กม. 35 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรม 20 แผน คู่มือการจัดกิจกรรม 4 ชุด และแบบทดสอบวัดทักษะทางภาษา 2 ชุด ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัย One-Group Pretest-Posttest Design และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลจากการศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรม มีองค์ประกอบ 6 ด้าน 2) ผลการสร้างและทดลองใช้รูปแบบ (2.1) ผลการสร้างรูปแบบ มีขั้นตอน ดังนี้ (1) ขั้นเตรียมความพร้อม (2) ขั้นประสบการณ์เดิม (3) ขั้นสอน (4) ขั้นทบทวนและสรุปความรู้ (2.2) ผลการหาคุณภาพของแผน ( gif.latex?x\bar{} = 4.66) อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด (2.3) ผลการทดลองรูปแบบ ภาพรวม ก่อนจัดกิจกรรม (gif.latex?x\bar{} = 17.57) หลังจัดกิจกรรม (gif.latex?x\bar{} = 34.14) ส่งผลให้มีคะแนนสูงขึ้น (gif.latex?x\bar{} = 16.57) 3) ผลการประเมินการใช้รูปแบบ โดยภาพรวม (gif.latex?x\bar{} = 4.60) อยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุด 4) ผลจากแบบทดสอบวัดทักษะทางภาษา ภาพรวม ก่อนจัดกิจกรรม (gif.latex?x\bar{} = 17.57) หลังจัดกิจกรรม (gif.latex?x\bar{} = 34.13) ส่งผลให้มีคะแนนสูงขึ้น (gif.latex?x\bar{} = 16.57)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2557). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรนเบสบุ๊คส์.

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2559). การออกแบบสื่อการศึกษาสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐาปนี สิทธิเลิศ. (2558). ความรู้พื้นฐานของการฟัง. [Online]. Available: http://mcpswis.mcp.ac.th/ [2565, กุมภาพันธ์ 1].

ณเอก อึ้งเสือ. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และ เทคโนโลยีเรื่อง งานประดิษฐ์ใบตอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต หลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐวดี ศิลากรณ์. (2556). ความสามารถทางการพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบหุ่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร

วิโรฒ.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

(พิมพ์ครั้งที่ 16) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยนันท์ พูลโสภา. (2560). การพัฒนาการเล่นเพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 32 (1), 20.

ปภาภรณ์ ชัยหาญชาญชัย. (2558). การรับรู้ถึงความใกล้ชิดกับพ่อแม่และการเปิดเผยตนเองของลูกในวัยรุ่น.วารสารนิเทศศาสตร์. 33 (2), 110.

พรรณิดา ผุสดี. (2545). พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย.[Online]. Available: http://oknationnationtv.tv/blogpannida .[2565, กุมภาพันธ์, 1].

พรพิมล ริยาย และธนางกูร ขำศรี. (2555). การพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักศึกษา ชั้นปีที 1 โดย ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่.

วสุกาญจน์ อินแสน. (2554). การศึกษาความสามารถในการฟังพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดบ้านไร่ที่ได้รับการสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน (Gear-tased Approach) โดยให้อรถสักษณะของการเล่านิทาน (Narrative Genre Features). วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

ศุภมาส จิรกรอบสกุล. (2559). ทักษะทางภาษาด้านการอ่านและการเขียนของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการอ่านนิทานร่วมกัน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัญฑิต หลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

อนุวัฒิ คูณแก้ว. (2555). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สู่ผลงานทางวิชาการเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Saylor, J .: Alexander, W.M. Lewis, AJ. (1981). Curriculum Planning for Better Teaching and Learning eth ed New York Holt, Rinehart and Winston.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-15

How to Cite

ผอบงา ธ. . ., & กุศลส่ง ส. . . (2022). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(3), 37–53. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/384