การพัฒนาชุดฝึกอบรมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมการตลาด สำหรับผู้ประกอบการของวิสาหกิจชุมชน ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ชุดฝึกอบรมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ, การส่งเสริมการตลาด, วิสาหกิจชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมการตลาด 2) เพื่อสร้าง และหาประสิทธิภาพชุดฝึกอบรมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของชุดฝึกอบรมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อชุดฝึกอบรม 5) เพื่อติดตามผลการฝึกอบรม โดยใช้ชุดฝึกอบรม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัย และพัฒนากลุ่มตัวอย่าง เพื่อศึกษาความต้องการ จำนวน 7 วิสาหกิจชุมชน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างเพื่อหาประสิทธิภาพและศึกษาประสิทธิผลของชุดฝึก ได้แก่ 2 วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ 72 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ความต้องการการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ชุดฝึกอบรม แผนการอบรม แบบทดสอบ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นต่อการใช้ชุดฝึกอบรม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยการทดลองใช้ การหาค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ประกอบการมีความต้องการในการพัฒนาภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการทักทาย การถามราคา การถามรสชาติอาหาร และการกล่าวขอบคุณลูกค้า 2) ประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ มีค่าเท่ากับ 75.80/ 76.22 3) ประสิทธิผลของชุดฝึกอบรมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ หลังการการอบรม สูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4 ) ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจต่อการอบรมโดยใช้ชุดฝึกอบรมในระดับมาก 5) ผลการติดตามการใช้ชุดฝึกอบรม พบว่า มีการจัดทำป้ายรายการอาหารเป็นภาษาอังกฤษ และมีแนวทางในการสื่อสารกับชาวต่างชาติ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). นโยบายปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ปีพุทธศักราช 2557. [Online]. Available: https://english.obec.go.th/english/2013/index.php/th/2012-08-08-10-26-5/60-2014-04-05-08-29-13. [2563, กรกฎาคม 10].
กลุ่มส่งเสริมการเรียนการสอนและประเมินผล. (2548). การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กาญจนาพร รุจิโฉม. (2561). การสื่อสารภาษาอังกฤษของคนไทยกับการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21.วารสารศิลปการจัดการ. 2 (3), 199-210.
ถนอมพร (ตัณติพัฒน์) เลาหจรัสแสง. (2541). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ภาควิชาโสตทัศนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญญลักษณ์ วีระสมบัติ. (2555). AEC ดี หรือ เสีย ต่อแรงงานไทย. กรุงเทพธุรกิจ.[Online]. Available http://www.bangkokbiznews.com. [2563, มิถุนายน 4].
ธนาภัสสร์ สนธิรักษ์. (2562). แนวทางการส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษในชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีของตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์.วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 6 (2), 61-70.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2520). ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิชัย สดภิบาล. (2553). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม : ปัจจัยเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว. [Online]. Available: http://www.thaiblogonline.com/sodpichai.blog?. [2563, กันยายน 19].
ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2549). การสร้างและวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือสำหรับการวิจัย. อุตรดิตถ์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
รัชนี ศรีไพรวรรณ. (2527). แบบฝึกหัดทักษะวิชาภาษาไทยสําหรับเด็กแรกเรียน ในคู่มือแนวคิดและทัศนะบางประการเกี่ยวกับกุศโลบายกับการสอนเด็กที่เริ่มเรียนพูดสองภาษา. นครราชสีมา: สํานักงานศึกษาธิการเขต 11.
วนิดา เลิศพิพัฒนานนท์. (2555). ความต้องการพัฒนาตนเองของพนักงานในสถานประกอบการประเภทโรงแรม รีสอร์ท และโฮมสเตย์ ในอำเภออัมพวา.วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 7 (2), 27-38.
ศิริพรรณ สายหงษ์ และสมประสงค์ วิทยเกียรติ. (2534). ชุดฝึกอบรมในเอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาและการใช้สื่อการศึกษานอกระบบ หน่วยที่ 9-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมนึก ภัททิยธานี. (2543). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
Ellis, R. (2007). TBL: Task- Based Learning Slide share. [Online]. Available https://www.slideshare.net/tortadericota/tbl-1. [2020, August 6].
Gunter, M. et al. (1990). Instruction: A Model Approach. Massachusetts: Allynn and Bacon.
Lado, R. (1988). Language Leaning Teaching and Learning English. New York : McGraw-Hill.
Littlewood, William F. (1981). Communicative Language Teaching. 18th ed. Cambridge: Cambridge University Press.
Longenecker, J. G., Moore, C. W., Petty J. W., and Palich, L. E. (2006). Small Business Management: An Entrepreneurial Emphasis. London, England: Thomson South Western.
Marketing Oops. (2018). Cosmetic Industry, Increasing 7.8% in Thailand 2018. [Online]. Available: https://www.marketingoops.com/news/biz-news/. [2020, June 12].
Richards, J.C.& Rodgers, T. (2001). Approaches and Methods in Language Teaching. Second Edition. New York: Cambridge University Press.
Willis, D., & Willis, J. (1996). Consciousness-raising Activities. Oxford: Macmillan Heinemann.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.