เหตุผลในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค สำหรับแผนกเด็กอ่อนในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่
คำสำคัญ:
ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค, พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อ, ส่วนประสมทางการตลาดบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาพฤติกรรมส่วนบุคคลในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค แผนกเด็กอ่อน และเพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลที่มีผลต่อเหตุผลในการซื้อ และส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคแผนกเด็กอ่อน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เคยซื้อสินค้าแบรนด์ออร์แกนิคสำหรับเด็กอ่อน จำนวน 422 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเฉพาะผู้ที่อาศัยในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยงตรง เพื่อประเมินหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับเนื้อหาหรือวัตถุประสงค์มีค่าเท่ากับ 0.92 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานด้วยการทดสอบที และสถิติทดสอบเอฟ
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์สำหรับผิวแพ้ง่ายมากที่สุด ความถี่ในการเลือกซื้อ 4-6 ครั้งต่อสัปดาห์ มีค่าใช้จ่ายต่อครั้งประมาณ 1,001-2,000 บาท ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจคือ พนักงานขาย ซื้อให้ความสำคัญต่อส่วนประสมทางการตลาดในด้านผลิตภัณฑ์และช่องทางการจัดจำหน่ายระดับมากที่สุด ในด้านราคาและการส่งเสริมการตลาดระดับมาก
การทดสอบสมติฐานในงานวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ รายได้มีผลต่อเหตุผลในการซื้อผลิตภัณฑ์ ออร์แกนิคแผนกเด็กอ่อนแตกต่างกัน และปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ รายได้มีผลต่อส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคแผนกเด็กอ่อนแตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาด เพื่อสร้างยอดขาย และสร้างการรับรู้แก่แผนกสินค้าเด็กอ่อนมากขึ้น
References
ฉัตยาพร เสมอใจ.(2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วีพริ้นท์.
ภัทรพร ธนสารโสภิณ. (2558). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค (Organic Beauty Product) ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). แนวโน้มและบทวิเคราะห์ธุรกิจ ตลาดออร์แกนิค. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2563 จาก http://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Pages/Thai-SME_Organic-Product.aspx
สรพันธ์ เลอสุมิตรกุล. (2557).พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อขวดนมสำหรับเด็กทารกของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล. บัณฑิตการศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น.
สิริวดี ยู่ไล้. (2558). การวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางออร์แกนิคของข้าราชการในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). ขนาดและโครงสร้างของประชากรตามอายุ เพศ และจังหวัด พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2564 จาก https://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx.
อมลวรรณ ศรีทอง.(2561) พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์แม่ลูกอ่อนและทารก ในอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Etzel, M. J., Wakker, B. J., and Stanton, W. J. (2007) Marketing (14th ed.). Boston: McGraw-Hill/Irwin.
Schiffman, L.G., and Kanuk, L.L. (2007). Consumer behavior (9th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice- Hall.
Kotler, Philip. (2000). Marketing Management (11th ed.). Upper Sanddle River, New Jersey: Prentice Hall.
Koter, P., and Keller, K. (2009). Marketing Management (13th ed.). Pearson Prentice Hall.
Sangkumchaliang, P, and WC. Huang. (2012) Consumers' Perceptions and Attitudes of Organic Food Products in Northern Thailand. International Food and Agribusiness Management Association (IFAMA) Review. No. 15, p 87-1-2
W.G.cochran. (1963). Sampling Techniques. New York: London
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย สวนดุสิต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.