อิทธิพลของการรับรู้ความเสี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ของพร้อมเพย์ที่ส่งผลต่อกระบวนการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ภูริทัต สุนทรห้าว คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรารัตน์ วรพิเชฐ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

QR Code ของพร้อมเพย์, การรับรู้ความเสี่ยง, กระบวนการยอมรับเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความแตกต่างของกระบวนการยอมรับเทคโนโลยี ของผู้ใช้งานในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ 2) อิทธิพลของการรับรู้ความเสี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ของพร้อมเพย์ ที่ส่งผลต่อกระบวนการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีศักยภาพที่สามารถใช้งานสมาร์ทโฟนและเข้าถึงแอปพลิเคชันที่รองรับ QR Code ของพร้อมเพย์จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าครอนบาชอัลฟ่าเท่ากับ 0.946 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ใช้งานที่มีอายุ อาชีพ และรายได้แตกต่างกันมีกระบวนการยอมรับเทคโนโลยีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 2) อิทธิพลของการรับรู้ความเสี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินด้านกายภาพและจิตวิทยาส่งผลต่อกระบวนการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานในขั้นตระหนักหรือขั้นตื่นตัว, อิทธิพลของการรับรู้ความเสี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินด้านกายภาพส่งผลต่อกระบวนการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานในขั้นสนใจ, อิทธิพลของการรับรู้ความเสี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินด้านสังคม และจิตวิทยาส่งผลต่อต่อกระบวนการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานในขั้นประเมินผล, อิทธิพลของการรับรู้ความเสี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินด้านกายภาพ และจิตวิทยาส่งผลต่อกระบวนการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานในขั้นทดลอง อิทธิพลของการรับรู้ความเสี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินด้านทางกายภาพ สังคม และจิตวิทยาส่งผลต่อต่อกระบวนการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานในขั้นยอมรับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

References

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2560). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ซอฟท์เบค ประเทศไทย. (2562). พร้อมเพย์มาถึงแล้ว. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://promptpay.io/.

ฐิตินี จิตรัตนมงคล. (2560).อิทธิพลของความคาดหวังต่อคุณภาพการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์คุณประโยชน์และความง่ายในการใช้งานที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีในการชำระเงินผ่าน QRCode ของผู้บริโภคในจังหวัfกรุงเทพมหานคร.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี, ธัญญลักษณ์ พลวัน และ สุพรรษา กุลแก้ว. (2557). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีและปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี QR Code ของกลุ่มประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. วิศวกรรมสาร มก.27(88);29-40.

ธนวรรณ สำนวนกลาง. (2559). การยอมรับเทคโนโลยการทำธุรกรรมทางการเงิน รูปแบบ M-Banking. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559) PromptPay. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/PSServices/PromptPay/Pages/default.aspx.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559) รายชื่อผู้ให้บริการพร้อมเพย์. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/PSServices/PromptPay/Documents/PromptPay_ServiceProvider.pdf.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559). เรื่อง บริการโอนเงินและรับโอนเงินแบบใหม่ “พร้อมเพย์–PromptPay”. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/News2559/n3159t.pdf.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). QR Code มิติใหม่ของการชำระเงิน. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/FinTech/Documents/QRCodeSlide20170830.pdf.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). คำถามคำตอบการให้บริการโอนเงินแบบ “พร้อมเพย์ –PromptPay”ชุดที่ 1 เรื่อง ทั่วไปเกี่ยวกับพร้อมเพย์. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/PSServices/PromptPay/Documents/FAQ_1.pdf.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560ค). เรื่อง ความร่วมมือการใช้มาตรฐานคิวอาร์โค้ดเพื่อการชำระเงิน. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/News2560/n4160t.pdf.

นางสาวชวิศา พุ่มดนตรี. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้บริการพร้อมเพย์ (PromptPay) ของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นาตยา ศรีสว่างสุข. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับแอปพลิเคชั่นมายโมในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่: กรณีศึกษา ธนาคารออมสินในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พิพิธ โหตรภวานนท์. (2557). กระบวนการยอมรับนวัตกรรมรถยนต์ระบบไฮบริดของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร.ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาชาวิชาการตลาดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รุ่งโรจน์ สุขใจมุข. (ไม่ระบุปีที่พิมพ์) ความเสี่ยงจากการทำธุรกรรมผ่านอนิเตอร์เน็ต. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://roongrote.crru.ac.th/CP4904/ธุรกรรม%203.pdf.

วีซ่า. (2560). วีซ่าเผย คนไทยกว่าครึ่งพร้อมใช้ “QR Code มาตรฐาน” ในการชำระเงินโดยเฉพาะคน“เจนวาย”. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://www.visa.co.th/th_TH/about-visa/newsroom/press-releases/nr-th-171219.html.

วุฒิ สุขเจริญ. (2555). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: จี. พี. ไซเบอร์พรินท์.

ศศิพร เหมือนศรีชัย. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับ ERP Software ของผู้ใช้งานด้านบัญชี.บัญชีหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). ทฤษฎีด้านประชากรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาการศึกษา.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2549). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: บ้านเสรีรัตน์.

ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้งานทางการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย. (2557) การชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2562 จาก http://www.1213.or.th/th/serviceunderbot/payment/Pages/internet-payment.aspx.

สวรส อมรแก้ว. (2555). ปัจจัยด้านการรับรู้ความเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าอาหารจากตลาดสดในกรุงเทพมหานครของผู้บริโภค.ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ.ปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

อรทัย เลื่อนวัน. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ: กรณีศึกษา กรมการพัฒนาชุมชนศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ.การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Goldstein, E.B. (2010). Sensation and Perception. 8th ed. California: Wadsworth Cengage Learning.

Hoyer, W.D. and Macinnis, D.J. (2010). Consumer Behavior. 5th ed. Ohio: South-Western Cengage Learning.

Leon G. Schiffman and Leslie Lazar Kanuk. (2010). Consumer Behavior. 10th ed. New Jersey: PearsonPrentice Hall.

Leon G. Schiffman and Leslie Lazar Kanuk. (2010). Consumer Behavior. 10th ed. New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Barbara F. Ryan, Thomas A. Ryan, Jr., and Brian L. Joiner. (2013). Regression Analysis: How Do I Interpret R-squared and Assess the Goodness-of-Fit?. Retrieved on October 1, 2019 from https://blog.minitab.com/blog/adventures-in-statistics-2/regression-analysis-how-do-i-interpret-r-squared-and-assess-the-goodness-of-fit.

Barbara F. Ryan, Thomas A. Ryan, Jr., and Brian L. Joiner. (2014). HowHigh Should R-squared Be in Regression Analysis?.Retrieved on October 1, 2019 from https://blog.minitab.com/blog/adventures-in-statistics-2/how-high-should-r-squared-be-in-regression-analysis.

Philip KotlerandGary Armstrong. (2001). Principles of marketing. 9th ed.New Jersey: Prentice-Hall.

Philip Kotler. (2007). Marketing Management. 12thed. Prentice-Hall.Priyanka Surendran. (2012). Technology Acceptance Model: A Survey of Literature. InternationalJournal of Business and Social Research. 4(2);175-178.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-15

How to Cite

สุนทรห้าว ภ., & วรพิเชฐ ธ. (2021). อิทธิพลของการรับรู้ความเสี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ของพร้อมเพย์ที่ส่งผลต่อกระบวนการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(3), 165–182. สืบค้น จาก https://so19.tci-thaijo.org/index.php/SDUGSAJ/article/view/379